ผลของโปรแกรมสร้างเสริมสมรรถนะแห่งตนและการมีส่วนร่วมของครอบครัวต่อความมั่นใจในการหลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่และความตั้งใจไม่สูบบุหรี่ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาชาย

Authors

  • ศิริญญา ชมขุนทด
  • พรนภา หอมสินธุ์
  • รุ่งรัตน์ ศรีสุริยเวศน์

Keywords:

การสูบบุหรี่, ความสามารถในตนเอง, ครอบครัว, นักเรียนประถมศึกษา

Abstract

          การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลองแบบสองกลุ่มวัดก่อนและหลังการทดลองมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมสร้างเสริมสมรรถนะแห่งตนและการมีส่วนร่วมของครอบครัวต่อความมั่นใจในการหลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ และความตั้งใจไม่สูบบุหรี่ กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาเป็นนักเรียนชายที่กำลังศึกษาอยู่ในชั้นประถมศึกษาปีที่ 5-6 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครราชสีมาเขต 5 แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมกลุ่มละ 20 คน โดยกลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมสร้างเสริมสมรรถนะแห่งตนและการมีส่วนร่วมของครอบครัว นาน 4 สัปดาห์ ซึ่งพัฒนาจากแนวคิดของ Bandura8 และ Friedman9 ส่วนกลุ่มควบคุมได้รับการเรียนการสอนตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานตามปกติ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน Chi - square test, Paired t-test และ Independent t - test ผลการศึกษาพบว่ากลุ่มทดลองมีความมั่นใจในการหลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่และความตั้งใจไม่สูบบุหรี่ภายหลังการทดลองมากกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (t = 4.022, p – value = .001; t = 3.053, p – value = .007 ตามลำดับ) และกลุ่มทดลองมีความมั่นใจในการหลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ และความตั้งใจไม่สูบบุหรี่มากกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (t = 4.233, p – value = < .001; t = 3.341, p – value = .002 ตามลำดับ) ผลการศึกษาเป็นประโยชน์แก่บุคลากรสาธารณสุข ครูและผู้ที่เกี่ยวข้องในการนำกิจกรรมไปประยุกต์ใช้เพื่อเสริมสร้างศักยภาพให้วัยรุ่นชายตอนต้นมีความรู้ มีทักษะ เกิดความมั่นใจและตั้งใจในการหลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ ซึ่งจะนำไปสู่การป้องกันพฤติกรรมการสูบบุหรี่อย่างมีประสิทธิภาพของวัยรุ่นชายไทยต่อไป             This study was a quasi - experimental study with nonequivalent control group pretest posttest design. The purpose of this study was to evaluate the effects of a self-efficacy enhancement and family participation program on smoking refusal self- efficacy and intention to not smoking. The participants were male primary school students who were studying in Pratomsuksa 5 - 6, Nakhonratchasima EducationalService Area Office 5. They were divided into experimental and control groups of 20 people each. The experimental group participated in self-efficacy enhancement and family participation program. The program with a period of 4 weeks was developed based on the concept of Bandura8 and Friedman9. The control group participated in the basic core curriculum. Data were collected by self-administered questionnaires. Statistical analysis was performed using percentage, mean, standard deviation, chi - square test, paired t-test and independent t-test. The findings revealed that the experimental group had the higher refusal self- efficacy and intention to not smoking, compared to those in pre-experiment significantly at the level of .05 (t = 4.022, p – value = .001; t = 3.053, p – value = .007). The experimental group had the higher refusal self- efficacy and intention to not smoking to those in control group significantly at the level of .05 (t = 4.233, p – value = < .001; t = 3.341, p – value = .002 ). The study is useful for health professionals, teachers and those involved to apply the activities for enhancing the knowledge, skill, refusal selfefficacy and intention to not smoking of early male adolescents. These lead to effectively smoking prevention among Thai male adolescents.

Downloads