ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการออกกำลังกายของผู้สูงอายุในเขตเทศบาลเมืองบ้านสวน จังหวัดชลบุรี

Authors

  • ธาริน สุขอนันต์
  • จารุณี ทรัพย์ประเสริฐ
  • สุภาวัลย์ จาริยะศิลป์
  • อาภิสรา วงศ์สละ

Keywords:

พฤติกรรม, การออกกำลังกาย, ผู้สูงอายุ

Abstract

            การวิจัยเชิงพรรณนานี้เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการออกกำลังกายของผู้สูงอายุ ในเขตเทศบาลเมือง บ้านสวน จังหวัดชลบุรี โดยวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยต่างๆ กับพฤติกรรมการออกกำลังกายของผู้สูงอายุ จากกลุ่มตัวอย่าง 400 คน ทำการเก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์ ด้วยแบบสัมภาษณ์ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.84 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยความถี่ค่าร้อยละ และ Multiple Regression พบว่าผู้สูงอายุส่วนใหญ่ มีความรู้เกี่ยวกับการออกกำลังกาย ทัศนคติในการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ การรับรู้ประโยชน์ของการออกกำลังกาย และพฤติกรรมการออกกำลังกายอยู่ในระดับปานกลาง แต่มีแรงสนับสนุนทางสังคมให้ออกกำลังกายอยู่ในระดับมากพฤติกรรมการออกกำลังกายของผู้สูงอายุมีความสัมพันธ์ทางบวกกับปัจจัยต่างๆ ได้แก่ การรับรู้ประโยชน์ของการออกกำลังกาย แรงสนับสนุนทางสังคม และทัศนคติในการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ ยกเว้นปัจจัยส่วนบุคคลด้านอายุ ที่มีความสัมพันธ์ทางลบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 (r = .40, .37, .29 และ -.22) ตามลำดับ โดยทั้ง 4 ปัจจัยนี้สามารถทำนายพฤติกรรมการออกกำลังกายของผู้สูงอายุได้ร้อยละ 25.60            ผลการศึกษาเสนอแนะให้บุคลากรสาธารณสุขได้ตระหนักในการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุให้รับรู้ประโยชน์ของการออกกำลังกายมากขึ้น เพื่อให้เกิดทัศนคติที่ดีในการดูแลสุขภาพของตนอย่างต่อเนื่อง            The research aimed to study factors affecting exercise behaviors of the elderly people in Bansuan Municipality, Chon Buri. This survey interviewed 400 randomly selected subjects. The instrument was a 3-point rating scale of a 64-items questionnaire. The reliability of the overall questionnaire was 0.84. Data analysis was carried out in terms of percentages and multiple regression analysis.            The results wereasfollows: knowledge of exercise, attitude on exercise, awareness on exercise benefit and exercise behavior of the elderly people were at a moderate level, reinforcing factor of exercise was at a good level. The exercise behaviorsweresignificantly correlated with awareness on exercise benefit, reinforcing factor of exercise, attitude on exercise, and age, (r = .40, .37, .29 and-.22 respectively). Four variables (awareness on exercise benefit, reinforcing factors of exercise, attitude on exercise and age) were identified to predict exercise behavior of the elderly people by 25.60 percent. The findings from this study suggested that public health personnel should enhance awareness on exercise benefit and good attitude on exercise for the elderly people.

Downloads