โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของการปฏิบัติตนเพื่อลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคความดันโลหิตสูง ของประชาชนเทศบาลเมืองบ้านสวน อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี
Keywords:
ความดันเลือดสูง, ปัจจัยเสี่ยง, การควบคุมตนเองAbstract
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาโมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของการปฏิบัติตน เพื่อลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคความดันโลหิตสูงของประชาชนในเขตเทศบาลเมืองบ้านสวน อ.เมือง จ.ชลบุรี ซึ่งผู้วิจัยใช้ทฤษฎีพฤติกรรมตามแผนของไอเซน และเก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น กลุ่มตัวอย่างเป็นประชาชนไทยที่อาศัยในเขตเทศบาลเมืองบ้านสวน อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี อายุตั้งแต่ 15 ปีขึ้นไป จำนวน 530 คน ได้มาโดยการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้น วิเคราะห์โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุโดยใช้โปรแกรม LISREL ผลการวิจัยพบว่า โมเดลที่พัฒนาขึ้นมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์อยู่ในเกณฑ์ดี ผลการทดสอบ x2 = 0.71 df = 1, p-value = 0.40, GFI =1.00 AGFI = 0.99 CFI = 1.00 SRMR = 0.0058 และ RMSEA = 0.00 และตัวแปรอิสระทั้งหมดในโมเดลสามารถอธิบายความแปรปรวนของการปฏิบัติตน เพื่อลดความเสี่ยงในการเป็นโรคความดันโลหิตสูงได้ร้อยละ 56 โดยความตั้งใจในการปฏิบัติตนเพื่อลดความเสี่ยงในการเป็นโรคความดันโลหิตสูงมีอิทธิพลต่อตัวแปรการปฏิบัติตนเพื่อลดความเสี่ยงในการเป็นโรคความดันโลหิตสูงสูงสุด รองลงมาได้แก่ การรับรู้ด้านการควบคุมตนเองในการปฏิบัติตน เพื่อลดความเสี่ยงในการเป็นโรคความดันโลหิตสูง มีขนาดอิทธิพลเท่ากับ 0.56 และ 0.44 ตามลำดับ The purpose of this research was to develop a causal relationship model of practice to reduce hypertension risk of people in Bansuan Municipality, Muang District, Chon Buri Province, based on the theory of planned behavior of Ajzen (2006). Data were collected by questionnaire. The samples, derived by means of multi-stage random sampling, consisted of 530 people aged 15 years and above in Bansuan Municipality, Muang District, Chon Buri Province. Causal model analysis involved the use of LISREL. The result revealed that the adjusted model was consistent with empirical data. Modal validation of good fitted model provided Chi-Square test of goodness of fit = 0.71, df = 1, p-value = 0.40, GFI = 1.00 AGFI =0.99 CFI = 1.00 SRMR = 0.0058 and RMSEA = 0.00. All independent variables in the model were accounted for 56 % of the variance of practice to reduce hypertension risk. Intention had the greatest effect on practice to reduce hypertension risk, followed by perceived behavior control (0.56 and 0.05 respectively).Downloads
Issue
Section
Articles