ผลของโปรแกรม VFRUITS-VVEGETABLES เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคผักและผลไม้ในนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ของโรงเรียนแห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร
Keywords:
บริโภคกรรม, การปรับพฤติกรรม, นักเรียนประถมศึกษา, โภชนาการAbstract
การวิจัยกึ่งทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลของโปรแกรม VFruits-Vvegetables เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคผักและผลไม้ในนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ของโรงเรียนแห่งหนึ่งในสำนักงานเขตยานนาวา กรุงเทพมหานคร จำนวน 67 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 32 คน และกลุ่มเปรียบเทียบ 35 คน กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรม VFruits-Vvegetables เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคผักและผลไม้ที่ประยุกต์ทฤษฎีปัญญาสังคมประกอบด้วยกิจกรรมการเรียนรู้ 6 กิจกรรม ระยะเวลาการทดลอง 8 สัปดาห์และใช้วิธีการเรียนรู้ผ่านการเสนอตัวแบบ (Modeling Procedure) การชมวีดิทัศน์ การสาธิต การเล่นเกม การแสดงบทบาทสมมุติ การตวงวัดปริมาณผักและผลไม้ การจัดเตรียมอาหารจากผักและผลไม้ รวบรวมข้อมูลก่อนและหลังการทดลองโดยใช้แบบสอบถามและแบบบันทึกพฤติกรรมการบริโภคผักและผลไม้ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ความถี่ร้อยละค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเพื่ออธิบายคุณลักษณะประชากรและพฤติกรรมการบริโภคผักและผลไม้ของกลุ่มตัวอย่าง และใช้สถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ Independent t-test และ Paired samples t-test เพื่อทดสอบสมมุติฐานการวิจัย ผลการวิจัยพบว่าหลังการทดลองกลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยความรู้เกี่ยวกับผักและผลไม้ เจตคติต่อการบริโภคผักและผลไม้ และพฤติกรรมการบริโภคผักและผลไม้ดีกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.001) และดีกว่ากลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.001) ผลการวิจัยนี้สรุปได้ว่าโปรแกรม VFruits-Vvegetables เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคผักและผลไม้ในนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 มีประสิทธิผลสามารถนำไปใช้ในการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมการบริโภคผักและผลไม้ให้แก่นักเรียนในระดับชั้นประถมศึกษาได้ต่อไป This quasi-experimental research was aimed to assess the effect of VFRUITSVVEGETABLES program in changing fruits and vegetables consumption behavior in the fifth-grade students in one school of Yan-nava District, Bangkok. The sample consisted of 67 students, 32 students in the experimental group and 35 students are in the comparison group. The experimental group received the VFRUITS-VVEGETABLES program for changing fruits and vegetables consumption behavior by way of applying Social Cognitive Theory. The program was composed of 6 learning activities for 8 weeks, and the following learning methods were used: modeling procedure, presenting VCD, demonstrations, educational games, role-playing, measuring fruits and vegetables, and preparation of fruits and vegetables dishes. Data collection was made before and after the experimentation through using a set of questionnaires, and a fruits and vegetables intake recording form. The Data analysis was done by using descriptive statistics with regards to frequency, percentage, mean and standard deviation with the aim of describing the samples’ socio-demographic characteristics, and fruits and vegetables consumption program. In addition, inferential statistics concerning Independent t-test and Paired samples t-test were used to test the research hypotheses. The research results showed that after the experimentation, there was a significantly higher mean score of knowledge about fruits and vegetables, attitudes towards fruits and vegetables consumption, and fruits and vegetables consumption behavior. These results were pronounced among the experimental group, compared to before the experimentation (p<0.001) and the comparison group (p<0.001). In conclusion, the VFRUITS-VVEGETABLES program was effective in changing fruits and vegetables consumption behavior among fifth-grade students. Thus, this type of program can be used to promote primary school students’ fruits and vegetables consumption behavior.Downloads
Issue
Section
Articles