การพัฒนาระบบฐานข้อมูลเพื่อรองรับสถานการณ์ฉุกเฉิน กรณีสารเคมีรั่วไหลด้วยโปรแกรม ALOHA, MARPLOT, Google Earth และ Microsoft Excel

Authors

  • ชรินทร์ เย็นใจ
  • วันเพ็ญ วิโรจนกูฏ

Keywords:

ฐานข้อมูล, กูเกิลเอิร์ธ, การจัดการฐานข้อมูล, การออกแบบฐานข้อมูล, โปรแกรมคอมพิวเตอร์

Abstract

          การศึกษาครั้งนี้เป็นการจัดการระบบฐานข้อมูลเพื่อรองรับสถานการณ์สารเคมีรั่วไหลด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป ALOHA (Areal Locations of Hazardous Atmospheres)และ MARPLOT (Mapping Application for Response Planning and Operational Tasks)โดยจำลองสถานการณ์การรั่วไหลของเบนซีน (Benzene) และสไตรีน (Styrene) จากโรงงานปิโตรเคมีจำนวน 1,728 สถานการณ์แสดงผลบนแผนที่ดาวเทียมจากโปรแกรม Google Earthในรูปของพื้นที่การแพร่กระจายของสารเคมีและความเข้มข้นของสารเคมีในแต่ละจุดนอกจากนี้แล้วระบบฐานข้อมูลยังประกอบด้วยข้อมูลความปลอดภัยด้านเคมีภัณฑ์ (MSDS) ข้อมูลผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับสารเคมีและข้อมูลหน่วยงานที่ต้องรายงานเมื่อเกิดสถานการณ์ฉุกเฉินจากสารเคมีรั่วไหลข้อมูลทั้งหมดจะถูกจัดเตรียมเก็บไว้อย่างเป็นระบบทั้งในแบบไฟล์รูปภาพและไฟล์เอกสารพร้อมที่จะเรียกใช้เพื่อเป็นข้อมูลตอบโต้สถานการณ์ฉุกเฉินจากสารเคมีรั่วไหลผ่านโปรแกรมMicrosoftExcel ได้อย่างรวดเร็วด้วยคำสั่งData Filterโดยเลือกสถานการณ์การรั่วไหลที่ใกล้เคียงกับความเป็นจริงมากที่สุดจากดัชนีช่วยค้นหาที่จัดทำไว้ได้แก่ชื่อสารเคมีที่รั่วไหลปริมาณการรั่วไหลทิศทางลมอุณหภูมิเมฆและความชื้นในขณะที่เกิดการรั่วไหลของสารเคมี          การทดลองใช้ระบบการจัดการฐานข้อมูลนี้ในกลุ่มเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานจำนวน 30 คนโดยกำหนดโจทย์ให้ค้นหาข้อมูลที่จำเป็นทั้งหมดที่เตรียมไว้ในการตอบโต้สถานการณ์ฉุกเฉินจากสารเคมีรั่วไหลพบว่าใช้เวลาเฉลี่ยสำหรับการจำลองสถานการณ์สารเคมีรั่วไหลเพียง 2.44นาที (สูงสุด 3.20 ต่ำสุด 1.10) และมีความพึงพอใจโดยรวม 4.81 คะแนนจากคะแนนเต็ม 5 คะแนน          The study aimed to develop an integrated, information-management systemfor chemical incident-preparedness and response using the Aerial Locations ofHazardous Atmospheres program (ALOHA) and the Mapping Application forResponse Planning and Operational Tasks (MARPLOT). An integrated programwas used to run 1,728 simulations of the leakage of benzene and styrene from apetrochemical plant. The display mode on Google Earth Map for preparednessand response showed the area in which the chemical had spread and had beenconcentrated. Moreover, the database-management system consisted of a MaterialSafety Data Sheet (MSDS), opinions from chemical experts, and data from theagencies. All the above data was collected systematically and was ready for a rapid recall via the Microsoft Excel program using the data filter menu. The program wasapplied to an index, including the chemical name, leakage volume, wind direction,temperature, cloud cover and humidity, which allowed a search of the proper scenarioby using the actual chemical leakage conditions according to the index. Any selectedscenario could therefore be rapidly linked to the provided database.          The management information system was tested for the simulation of achemical leakage- incident by 30 professional safety officers. It was found that theaverage time used was 2.44 minutes (Max. 3.20; Min. 1.10). The average score ofoverall satisfaction deduced from.

Downloads