การวิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อการมีส่วนร่วมของชุมชนเมืองและชุมชนชนบทในการจัดการสิ่งแวดล้อมโดยยึดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

Authors

  • วิสาขา ภู่จินดา
  • วิวัฒน์ แก้วดวงเล็ก

Keywords:

การจัดการสิ่งแวดล้อม, การมีส่วนร่วมของประชาชน, เศรษฐกิจพอเพียง

Abstract

          การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์หลักคือเพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการมีส่วนร่วมในการจัดการ สิ่งแวดล้อมโดยยึดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงซึ่งทำการเก็บข้อมูลของประชาชนที่อาศัยอยู่ในชุมชนเมืองและชุมชนชนบทรวมทั้งสิ้น 10 แห่งในแต่ละชุมชนได้มีการเก็บแบบสอบถามกับกลุ่มตัวอย่างชุมชนละ 20 ตัวอย่างทำการสุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญรวมทั้งสิ้น 200 ตัวอย่างจากนั้นทำการทดสอบสมมติฐานเพื่อหาความสัมพันธ์ของตัวแปรร่วมกับการวิเคราะห์การจำแนกกลุ่ม(Discriminant Analysis) ที่ระดับนัยสำคัญ 0.05          ผลการศึกษาพบว่ากลุ่มตัวอย่างมีความรู้เกี่ยวกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมากกว่าค่าเฉลี่ยมีการรับรู้ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงจากผู้ใหญ่บ้านและโทรทัศน์มากที่สุดแต่กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มักมีส่วนร่วมในการจัดการสิ่งแวดล้อมในระดับน้อยซึ่งจากการทดสอบสมมติฐานพบว่าความรู้เกี่ยวกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงปัญหาทางด้านสิ่งแวดล้อมและการรับรู้ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมีความสัมพันธ์กับการมีส่วนร่วมในการจัดการสิ่งแวดล้อมโดยยึดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและปัจจัยที่มีผลต่อการมีส่วนร่วมในระดับมากได้แก่ปัญหาทางด้านทรัพยากรป่าไม้ปัญหามลพิษทางอากาศและการรับรู้ข้อมูลข่าวสารผ่านแผ่นป้ายประชาสัมพันธ์ของชุมชน          The study aimed to investigate factors affecting participation levels inurban and rural areas about environmental management based on the Philosophy ofSufficiency Economy. Data collection was conducted using a questionnaire with twohundred people living in ten urban and rural areas. Data was then analyzed usingthe t-test, Pearson’s correlation, and Discriminant Analysis at a statistical levelof 0.05.          The result showed that more than half of the people or samples living in urbanand rural areas had knowledge and understanding about the Philosophy ofSufficiency Economy, and that this result was higher than the average value. Peopleliving in urban and rural areas received information about the philosophy fromcommunity leaders and television media respectively. However, most of people,in contrast, had engaged in participation at a lower level. The hypothesis testsshowed that the knowledge in the philosophy, the environmental problems, andthe informative perception of the philosophy were correlated with participationin environmental management at the statistical level of 0.05. Also, most of thefactors affecting the participation level using discriminant analysis weredeforestation, air pollution, and the people’s perception based on informationfrom the community’s media

Downloads