ตัวแบบทุนมนุษย์ของโรงพยาบาลชุมชน

Authors

  • เกศราภรณ์ พลสีลา
  • รัตพงษ์ สอนสุภาพ
  • จิรัชฌา วิเชียรปัญญา

Keywords:

ทรัพยากรมนุษย์, การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์, โรงพยาบาลชุมชน, การบริหารงานบุคคล

Abstract

          การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ที่สำคัญเพื่อสังเคราะห์และเสนอตัวแบบทุนมนุษย์ของโรงพยาบาลชุมชนที่ผ่านการประเมินและรับรองคุณภาพโรงพยาบาลผู้วิจัยใช้แบบสอบถามที่ผ่านการตรวจสอบคุณภาพด้วยวิธีการพิจารณาความตรงเชิงเนื้อหาและหาค่าความเที่ยงซึ่งมีค่าความเที่ยงของแบบสอบถามทั้งฉบับคือ 0.8828 เก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างคือ 1) ผู้บริหารโรงพยาบาล2) ผู้ประสานงานคุณภาพและ 3) ผู้ปฏิบัติงานโรงพยาบาลชุมชนที่ผ่านการประเมินทั้งจังหวัด (จำนวน4 จังหวัด) รวม 24 แห่งจำนวน 630 คนและใช้การสัมภาษณ์เชิงลึกจากนักวิชาการ 2 ท่านผู้บริหารและผู้ดูแลระบบคุณภาพโรงพยาบาลชุมชน 2 ท่านและผู้รับบริการ 4 ท่านรวมจำนวน 8 ท่านสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณใช้ค่าความถี่ร้อยละค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันอันดับ 2 และใช้การวิเคราะห์เนื้อหาสำหรับวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้จากการสัมภาษณ์เชิงลึกผลการศึกษาพบว่าองค์ประกอบส่วนใหญ่มีลักษณะความสัมพันธ์ทางบวกมีขนาดตั้งแต่ 0.40 ถึง 0.79 โดยองค์ประกอบทุนทางสังคมและทุนทางอารมณ์มีความสัมพันธ์กันสูงสุดทั้งนี้โดยที่องค์ประกอบทุนมนุษย์ที่มีค่าน้ำหนักมากที่สุดคือทุนทางสังคมส่วนองค์ประกอบทุนการจัดการที่มีค่าน้ำหนักมากที่สุดคือทุนการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และองค์ประกอบการประเมินผลทุนมนุษย์ที่มีค่าน้ำหนักมากที่สุดคือมุมมองด้านกระบวนการภายในผลการวิเคราะห์องค์ประกอบ เชิงยืนยันอันดับที่สองด้วยโปรแกรมลิสเรลพบว่าโมเดลมีความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์พิจารณาจากค่าไคสแควร์มีค่าเท่ากับ 5.16 ซึ่งมีความน่าจะเป็นเท่ากับ 0.51 โดยมีค่าดัชนีวัดระดับความกลมกลืนเท่ากับ 0.99 และค่าดัชนีวัดระดับความกลมกลืนที่ปรับแก้แล้วมีค่าเท่ากับ0.98 และค่าน้ำหนักของทั้ง 3 องค์ประกอบของตัวแบบทุนมนุษย์ของโรงพยาบาลชุมชนที่ผ่านการประเมินและรับรองคุณภาพสถานพยาบาลเรียงลำดับจากมากไปน้อยคือทุนกระบวนการ (b= 1.22)การประเมินผลทุนมนุษย์ (b=1.06) และทุนมนุษย์ (b=1.04)          The purpose of this research was to synthesize and reveal the human capitalmodel of community hospitals. The survey research was conducted by using aquestionnaire, and by collecting data from 24 accredited rural hospitals in 4provinces. The validity test was indicated by the degree to which research instrumentscould achieve certain aims. The reliability of the questionnaire was 0.8828. Besidethe quantitative method, the in-depth interview was applied to collect qualitativedata from two hospital scholars, a hospital director, a hospital quality systemadministrator and four key informants. The data was analyzed by frequencydistribution, percentage, mean, standard deviation, second order confirmatory factoranalysis and content analysis. The analysis from doing factor loading indicated that:1) the human capital model was social capital; 2) the capital model was a humanresources development capital; and 3) the evaluation model was an internal process perspective. The result from the second order confirmatory factor analysis foundthat the human capital model of community hospitals fit the empirical data (= 5.16,df = 6, p = 0.523, GFI = 0.99, AGFI = 0.98). The factor loading of the human capitalmodel of community hospitals was managerial capital (b= 1.22); human capitalevaluation (b= 1.06); and human capital (b= 1.04), respectively.

Downloads