ผลของโปรแกรมการส่งเสริมโภชนาการต่อการเจริญเติบโตของทารกในครรภ์และน้ำหนักระหว่างตั้งครรภ์ของหญิงตั้งครรภ์ที่มีดัชนีมวลกายน้อยในคลินิกเอกชนแห่งหนึ่งในจังหวัดชลบุรี
Keywords:
ทารกในครรภ์, การเจริญเติบโต, สตรีมีครรภ์, โภชนาการ, ดัชนีมวลกายAbstract
การวิจัยกึ่งทดลองครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการส่งเสริมโภชนาการต่อการเจริญเติบโตของทารกในครรภ์และน้ำหนักระหว่างตั้งครรภ์ของหญิงตั้งครรภ์ที่มีดัชนีมวลกายน้อยกลุ่มตัวอย่างเป็นหญิงตั้งครรภ์ที่มารับบริการฝากครรภ์ที่คลินิกสูติแพทย์เอกชนแห่งหนึ่งในเขตอำเภอเมืองจังหวัดชลบุรีจำนวน 40 คนโดยแบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมกลุ่มละ 20 คนกลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการส่งเสริมโภชนาการ 4 ครั้งส่วนกลุ่มควบคุมได้รับการดูแลตามปกติเครื่องมือวิจัยประกอบด้วยแบบสอบถามข้อมูลทั่วไปสมุดบันทึกสุขภาพแม่และเด็กแบบประเมินพฤติกรรมบริโภคอาหารหญิงตั้งครรภ์เครื่องชั่งน้ำหนักที่วัดส่วนสูงอัลตราซาวน์และโปรแกรมการส่งเสริมโภชนาการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการแจกแจงความถี่ค่าเฉลี่ยร้อยละส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและสถิติทดสอบค่าที ผลการวิจัยพบว่าหลังทดลองทารกในครรภ์กลุ่มทดลองมีการเจริญเติบโตดีกว่าทารกในครรภ์กลุ่มควบคุมโดยทารกในครรภ์กลุ่มทดลองมีน้ำหนักและความยาวเฉลี่ยมากกว่าทารกในครรภ์กลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 กลุ่มทดลองไม่พบทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อยกว่า2,500 กรัมแต่พบในกลุ่มควบคุมร้อยละ 21.05 และหญิงตั้งครรภ์กลุ่มทดลองมีน้ำหนักระหว่างตั้งครรภ์เพิ่มขึ้นมากกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 ผลการวิจัยนี้แสดงให้เห็นว่าโปรแกรมการส่งเสริมโภชนาการมีผลต่อการเจริญเติบโตของทารกในครรภ์และน้ำหนักระหว่างตั้งครรภ์ของหญิงตั้งครรภ์ที่มีดัชนีมวลกายน้อยดังนั้นบุคลากรทางสุขภาพในคลินิกฝากครรภ์ที่มีบริบทคล้ายกับกลุ่มตัวอย่างในงานวิจัยนี้ควรนำโปรแกรมส่งเสริมโภชนาการไปใช้เพื่อส่งเสริมการเจริญเติบโตของทารกในครรภ์ The purpose of this study was to examine to effects of nutritionalpromotion program on fetal growth and pregnancy weight gain among pregnantwomen with low body mass index. The sample of 40 pregnant women with low bodymass index, private clinic Chon-Buri province, was equally recruited into the controland experimental groups. The experimental group received four meetings ofnutritional promotion program, while the control group received regular care.The data was collected by using maternal and child health record, weight and heightscales, and ultrasonic machine. Statistics used for data analysis were percentage,mean, and standard deviation, and t-test. The results revealed that after the experiment, mean scores of fetal growthand infant length at birth in the experimental group had significantly higher thanin the control group (p < .001). There was no low birth weight of the Infants in theexperimental group, while there was 21.05% in the control group. Mean scores ofpregnancy weight gain among pregnant women in the experimental group hadsignificantly higher than in the control group (p <.001). The results indicated thatthe nutritional promotion program increased fetal growth and pregnancy weight gainamong pregnant women with low body mass index. The health care providers in theprivate clinic or similar context should apply this program to increase fetal growth.Downloads
Issue
Section
Articles