ผลของโปรแกรมการออกกำลังกายแบบผสมผสานต่อภาวะสุขภาพ สมรรถภาพทางกาย และความคาดหวังความสามารถตนเองของผู้สูงอายุ
Keywords:
การออกกำลังกาย, สมรรถภาพทางกาย, ความสามารถในตนเอง, ผู้สูงอายุ - - สุขภาพและอนามัยAbstract
การวิจัยนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการออกกำลังกายแบบผสม ผสานต่อภาวะสุขภาพ สมรรถภาพทางกาย และความคาดหวังความสามารถตนเองของผู้สูงอายุ โดยการเปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยของภาวะสุขภาพ สมรรถภาพทางกาย และความคาดหวังความสามารถตนเองของผู้สูงอายุก่อนและหลังการเข้าร่วมโปรแกรมการออกกำลังกายแบบผสมผสาน กลุ่มตัวอย่างได้แก่ผู้สูงอายุที่มีอายุระหว่าง 60-74 ปี อาศัยอยู่ในบ้านสุขสำราญ ตำบลหนองแวง อำเภอโคกสูง จังหวัดสระแก้ว จำนวน 45 คน ซึ่งเข้าร่วมโปรแกรมการออกกำลังกายแบบผสมผสาน เป็นระยะเวลา 12 สัปดาห์ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสัมภาษณ์ข้อมูลส่วนบุคคล แบบสัมภาษณ์การรับ รู้ความสามารถตนเองในการออกกำลัง กาย แบบสัมภาษณ์ความคาดหวัง ในผลดีของการออกกำลังกาย แบบบันทึกภาวะสุขภาพและแบบบันทึกสมรรถภาพทางกาย วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที (Paired t-test) ผลการศึกษา พบว่าด้านภาวะสุขภาพ ผู้สูงอายุที่เข้าร่วมโปรแกรมการออกกำลังกายแบบผสมผสานมีค่าเฉลี่ยเส้นรอบเอวลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05 (t= 1.96, p=.05) ในขณะที่ความดันโลหิต ระดับน้ำตาลในเลือดและดัชนีมวลกายพบว่าไม่แตกต่างกัน ด้านสมรรถภาพทางกายผู้สูงอายุที่เข้าร่วมโปรแกรมการออกกำลังกายแบบผสมผสานมีค่าเฉลี่ย ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อแขน (t=5.18, p=.01) ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อขา (t=6.30, p=.01) ความอ่อนตัวของร่างกายส่วนบน (t=3.80, p=.01) และความอ่อนตัวของร่างกายส่วนล่าง (t=4.52, p=.01) สูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติที่ระดับ .05 ในขณะที่ความอดทนของร่างกาย และความคล่องตัวของร่างกายพบว่า ไม่แตกต่างกัน ด้านความคาดหวังความสามารถตนเองในการออกกำลังกาย ผู้สูงอายุที่เข้าร่วมโปรแกรมการออกกำลังกายมีค่าเฉลี่ยการรับรู้ความสามารถตนเองในการออกกำลังกายสูงขึ้น อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (t=6.09, p=.00) ในขณะที่ความคาดหวังในผลดีของการออกกำลังกายแบบผสมผสานพบว่าไม่แตกต่างกันThe purpose of this quasi-experimental research was to investigate the effectsof integrated exercises on the health conditions, physical fitness, and self-efficacyexpectations of a group of elderly people by a means of a comparison on the averagemean scores of their health conditions, physical fitness, and self-efficacy expectations.The sample consisted of 45 elderly people whose ages were between 60-74 years of age,and who were living in Ban Suksamran, Tambol Nongwanng, Amphoe Khok Sung,SaKeao Province. The people had participated in an integrated exercise program for12 weeks. The tools used for data collection were the following: an interview formatinquiring about personal data, the self-efficacy expectations about the integratedexercises, the expectations on the usefulness of the exercises, a health conditions fieldnote, and a physical fitness field note. The collected data were statistically analyzedby using frequency, percentage, mean, standard deviation, and the Paired t–test.The results of this study indicated the following:1) Concerning the aspect of health conditions, the elderly people who participatedin the integrated exercise program had significant shorter waistlines at the .05 level(t=1.96, p=.05); however, their blood pressure, blood sugar level, and body massindexes were not significant.2) Concerning the aspect of physical fitness, the elderly people who participatedin the integrated exercise program had significant higher average scores of armstrength (t=5.18, p=.01) and leg muscles strength (t=6.30, p=.01), and had a flexibilityof the upper parts of their body (t=3.80, p=.01) and lower down parts of their bodies(t=4.52, p=.01). However, their body endurance and the balance of their bodies whilemoving was not significant.3) Concerning the aspect of the self-efficacy expectations on the integratedexercises, the elderly people who participated in the program had significant higheraverage scores at the .05 level (t=6.09, p=.00)Downloads
Issue
Section
Articles