โรคเบาหวานกับการสูญเสียการได้ยินในผู้สูงวัยไทย

Authors

  • นิตินัย รุ่งจินดารัตน์
  • นลินี พานสายตา

Keywords:

เบาหวาน, ผู้สูงอายุ, การได้ยิน, ความบกพร่องทางการได้ยิน, หูหนวก

Abstract

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการเป็นโรคเบาหวานกับการสูญเสียการได้ยินของผู้สูงวัยในประเทศไทย ข้อมูลที่ใช้ในการศึกษาเป็นข้อมูลจากการศึกษาติดตามระยะยาวโดยการใช้กลุ่มตัวอย่างซ้ำ ที่เป็นการนำร่องสำรวจผู้สูงวัยไทย โดยเป็นข้อมูลฐาน (Base-line data) จากการสำรวจรอบแรกของโครงการวิจัยการสำรวจและศึกษาสุขภาพการสูงอายุ และการเกษียณในประเทศไทยโดยการใช้ตัวอย่างซ้ำ จำนวน 1,439 คน (อายุตั้งแต่ 45 ปีขึ้นไป) ที่อาศัยอยู่ในจังหวัดกรุงเทพมหานคร, ขอนแก่น, นนทบุรี, ปทุมธานี, และสมุทรปราการในปี พ.ศ. 2552 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ประกอบด้วย สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ การแจกแจงความถี่ และร้อยละ สถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ ไคสแควร์ และการคำนวณสัดส่วนที่เป็นไปได้ (Odds Ratio)ผลการศึกษาพบว่าในภาพรวมการเป็นโรคเบาหวานกับการสูญเสียการได้ยิน มีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และความเป็นไปได้สำหรับ ผู้ที่เป็นโรคเบาหวานจะมีการสูญเสียการได้ยินเป็น 1.85 เท่าของผู้ที่ไม่เป็นโรคเบาหวาน หากพิจารณาจากเพศการเป็นโรคเบาหวานในกลุ่มผู้ชายมีความสัมพันธ์กับการสูญเสียการได้ยิน แต่ในกลุ่มผู้หญิงการเป็นโรคเบาหวานกับการสูญเสียการได้ยิน ไม่มีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และความเป็นไปได้ที่ผู้ชายที่เป็นโรคเบาหวานจะมีการสูญเสียการได้ยินสูงกว่าผู้ที่ไม่เป็น เช่นเดียวกับที่ผู้หญิงที่เป็นโรคเบาหวานจะมีความเป็นไปได้ที่มีการสูญเสียการได้ยินสูงกว่าผู้ที่ไม่เป็น สำหรับในกลุ่มผู้ที่มีอายุระหว่าง 45- 59 ปี และกลุ่มผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไปทั้งสองกลุ่ม การเป็นโรคเบาหวานไม่มีความสัมพันธ์กับการสูญเสียการได้ยินอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ0.05 โดยความเป็นไปได้ที่ผู้ที่มีอายุระหว่าง 45 - 59 ปีที่เป็นโรคเบาหวานจะมีการสูญเสียการได้ยินเป็น 2.27 เท่าของผู้ที่ไม่เป็น ส่วนผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไปมีความเป็นไปได้ที่เป็นโรคเบาหวานจะมีการสูญเสียการได้ยินเป็น 1.48 เท่าของผู้ที่ไม่เป็นโรคเบาหวานThe purpose of the study is to analyze the relationship between diabetesand hearing loss of the older Thai using the baseline data from the longitudinalpanel survey of Health, Aging, and Retirement in Thailand (HART) in 2009.The pilot survey collected data from the 1,439 subjects (aged 45 years old andabove) who resided in Bangkok and vicinities (Nonthaburi, Pathumthani, andSamuthprakarn) and Khon Kaen. Analytical tools of descriptive statistics,Chi-square, and odds ratio were employed.The results showed that, in general, diabetes and hearing loss tended to berelated (at the 0.05 significant level), and the possibility of having hearing loss forthe sample group who had diabetes was 1.85 times of the ones who did not havediabetes (odds ratio = 1.85). Among samples who were men, diabetes tended to berelated with hearing loss, but this was not the case among women subjects (at the0.05 significant level). The possibility to having hearing loss for men who had diabeteswas higher than those who did not (odds ratio = 2.53), while the odds ratio of havinghearing loss among women subjects with diabetes is 1.59. Diabetes was not significantlyrelated to hearing loss for age groups 45 - 59 and 60 and above. The odds ratio amongthe subjects aged between 45 – 59 years old was 2.27, while the odd-ratio amongthe subjects aged 60 years old and above was 1.48.

Downloads