การประเมินต้นทุน-ประสิทธิผล โครงการเคลือบหลุมร่องฟันให้กับนักเรียนชั้นประถมศึกษา

Authors

  • บุญนภัส มีรัตน์
  • เกียรติอนันต์ ล้วนแก้ว

Keywords:

ต้นทุนและประสิทธิผล, ฟันผุ - - การป้องกัน, ฟันผุในเด็ก

Abstract

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินความคุ้มค่าของโครงการเคลือบหลุมร่องฟัน ด้วยวิธีการวิเคราะห์ต้นทุน-ประสิทธิผล และศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างศาสนากับการเกิดโรคฟันผุในเด็ก เพื่อพิจารณาว่าปัจจัยดังกล่าวส่งผลกระทบต่อนโยบายในการจัดทำโครงการฯ อย่างไร กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยนี้ คือ นักเรียนจากพื้นที่รับผิดชอบของโรงพยาบาลลำลูกกาแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม โดยตามการพิจารณาความลึกของหลุมร่องฟันโดยทันตแพทย์ ได้แก่กลุ่มเข้าร่วมโครงการฯ จำนวน 312 คน และกลุ่มที่ไม่ได้เข้าร่วมโครงการ จำนวน 174 คน จาก 22 โรงเรียน ผลการวิเคราะห์พบว่า ค่าดัชนีโรคฟันผุของทั้ง 2 กลุ่มมีค่าใกล้เคียงกัน และกราฟค่าต้นทุน-ประสิทธิผลส่วนเพิ่ม (Incremental Cost Effectiveness Ratio) ได้แสดงให้เห็นว่า หากประเมินจากค่าใช้จ่ายของโครงการเป็นหลักโครงการนี้ไม่มีความคุ้มค่าในการลงทุน สาเหตุเกิดจากวิธีการคัดเลือกเด็กเข้าร่วมโครงการฯ ยังไม่สะท้อนถึงกลุ่มที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคฟันผุอย่างแท้จริง ควรนำปัจจัยด้านศาสนาเข้ามาใช้เพื่อการพิจารณาด้วยอีกทางหนึ่ง อย่างไรก็ตาม หากนำเอาประโยชน์ที่นักเรียนและผู้ปกครองได้จากการประหยัดเวลาและค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษาฟันในระยะยาวเข้ามาคำนวณด้วย ก็อาจได้ผลความคุ้มค่าที่เพิ่มขึ้น นอกจากนั้นยังควรทำการศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการเกิดโรคฟันผุเพิ่มเติม เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพให้กับโครงการทั้งทางด้านการพิจารณาเด็กเข้าร่วมโครงการฯ และการประยุกต์จัดทำกิจกรรม ซึ่งเป็นประเด็นที่ควรทำวิจัยต่อไปThis paper assesses incremental cost effectiveness ratio (ICER) of a dental sealant project conducted at 22 primary schools near Lam Lookga hospital, Pathum Thani Province. Total of 486 primary school students at year 3 are examined in this exercise. Of these 486 students, 312 students participated in the project and 174students did not participate in the project. It has been found that the average values of Decayed/Missing/Filled/Teeth (DMFT) of participants and non-participates are almost identical. Consequentially, the ICER analysis indicated that the project failsthe test for cost effectiveness. Such failure can be attributed to several factors. These include delayed and infrequent provision of sealants. This project was not worthwhile investment due for sampling in research does not reflect the risk of dental caries.However, if non-monetary and long-term benefits in term of cost saving were to be included in the analysis, the results might be different. Moreover, the religion of population and the cause of dental caries should be included in the analysis toincrease the efficiency of the project.

Downloads