ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพของข้าราชการ สังกัดกรมราชทัณฑ์ ในเขตพื้นที่จังหวัดนครราชสีมา

Authors

  • สุกัญญา บุญวรสถิต
  • พรนภา หอมสินธุ์
  • รุ่งรัตน์ ศรีสุริยเวศน์

Keywords:

พฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพ, ข้าราชการสังกัดกรมราชทัณฑ์

Abstract

การวิจัยเชิงหาความสัมพันธ์ครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพ และปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพของข้าราชการสังกัดกรมราชทัณฑ์ โดยใช้กรอบแนวคิดสร้างเสริมสุขภาพของเพนเดอร์ กลุ่มตัวอย่างคือ ข้าราชการในสังกัดกรมราชทัณฑ์ ในเขตพื้นที่จังหวัดนครราชสีมา จำนวน 255 คน สุ่มตัวอย่างด้วยวิธีการสุ่มอย่างง่ายแบบไม่แทนที่ และเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามประกอบตอบด้วยตนเองสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลประกอบด้วย ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และใช้สถิติวิเคราะห์การถดถอยเชิงเส้นแบบพหุคูณ ผลการศึกษาพบว่ากลุ่มตัวอย่างร้อยละ 58.4 มีพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพโดยรวมทั้ง 6 ด้านได้แก่ ด้านความรับผิดชอบต่อสุขภาพ ด้านกิจกรรมทางด้านร่างกายด้านโภชนาการด้านการมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคลด้านการพัฒนาทางจิตวิญญาณและด้านการจัดการกับความเครียดอยู่ในระดับสูง ปัจจัยที่สามารถร่วมทำนายพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพ ได้แก่ การรับรู้สมรรถนะของตนเองในการปฏิบัติพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพ (β=.459) แรงสนับสนุนทางสังคม (β = .233) เพศหญิง (β = .112 ) การรับรู้อุปสรรคของการปฏิบัติพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพ (β = -.138) และอายุ (β = -.127) โดยร่วมทำนายได้ร้อยละ 45.5 การศึกษาครั้งนี้เป็นประโยชน์ต่อพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชนและผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องสามารถนำผลการศึกษาไปเป็นแนวทางในการพัฒนากลวิธี และนโยบายด้วยการเพิ่มการรับรู้สมรรถนะของตนเอง การลดการรับรู้อุปสรรค และการส่งเสริมให้ครอบครัวมีส่วนร่วมสนับสนุนช่วยเหลือเพื่อส่งเสริมให้ข้าราชการสังกัดกรมราชทัณฑ์มีพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพเพิ่มมากขึ้นต่อไปThe objectives of this correlational research were to describe health promoting behaviors and to examine factors influencing health promoting behaviors of prison officers at the Department of Corrections. Pender’ s health promotion model was used as a conceptual framework. Participants of the study were 255 prison officers of Department of Corrections in Nakhon - Ratchasima province. A sample was selected by simple random sampling without replacement. Data were collected with self-administered questionnaires. The data were analyzed bymean, percentage, standard deviation, and stepwise multiple regression. The results were found that 58.4% of participants had overall health promotion behaviors at high level including health responsibility, physical activity, nutrition, interpersonal relationship, spiritual growth and stress management. Factors predicted health promotion behaviors were perceived self - efficacy (β = .459), social support (β = .233), female (β =.112), perceived barriers to action (β = -.138) and age (β = -.127). These factors could predict 45.5%.The results of the study will be useful for community nurse practitioner and people concerned to develop strategy and policy for enhancing perceived self-efficacy, decreasing perceived barriers to action and promoting family support. This will enhance health promoting behaviors among prison officers at the Department of Corrections.

Downloads