ผลของการฝึกแบบแรงต้านที่มีต่อความเมื่อยล้า ของคนที่ยืนทำงานเป็นระยะเวลานาน

Authors

  • วิสูตร ไชยคงเมา
  • พรทิพย์ เย็นใจ
  • สุกัญญา เจริญวัฒนะ

Keywords:

ความเมื่อยล้า, ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อขา, คนงาน, คนยืนทำงาน

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการฝึกแบบแรงต้านที่มีต่อความเมื่อยล้ากล้ามเนื้อขาของคนงานที่ยืนทำงานเป็นระยะเวลานาน แผนกเทคนิคและวิเคราะห์ผลิตภัณฑ์โรงงานผลิตหมึกพิมพ์และเม็ดพลาสติกแห่งหนึ่งใน จังหวัดฉะเชิงเทรา (Quasi-Experimental Research) โดยวัดผลก่อนและหลังการทดลอง (One group pretest – posttest design) กลุ่มตัวอย่างเป็นคนงานที่สมัครใจเข้าร่วมการวิจัยจำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ประกอบไปด้วย แบบสอบถามความเมื่อยล้า โปรแกรมการฝึกออกกำลังกายแบบแรงต้านโดยใช้เวลาในการฝึกเป็นระยะเวลา 6 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 3 วัน วันละ 30 นาที และเครื่องทดสอบความแข็งแรงของกล้ามเนื้อขา จากนั้นนำผลที่ได้มาวิเคราะห์หาจำนวนร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยโดยใช้สถิติ Pair sample t-test ผลการวิจัยพบว่า คนงานเป็นเพศชาย 15 คนคิดเป็นร้อยละ 50 และเพศหญิงจำนวน 15 คนเท่ากัน มีอายุอยู่ในช่วง 26-30 ปี มีอายุงาน 1-6 ปี ส่วนใหญ่ร้อยละ 63.3 และมีชั่วโมงการทำงานมากกว่า 11 ชั่วโมง ระดับความแข็งแรงของกล้ามเนื้อขาก่อนทำการฝึก หลังฝึกสัปดาห์ที่ 2 สัปดาห์ที่ 4 และสัปดาห์ที่ 6 มีค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 55.07(27.64), 62.17 (28.04), 105.03(36.78) และ 118(40.10) กิโลกรัมตามลำดับ ซึ่งระดับความแข็งแรงของกล้ามเนื้อขาของคนงานระหว่างก่อนฝึกและหลังฝึกสัปดาห์ที่ 6 มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05 และระดับความเมื่อยล้าก่อนการฝึกและหลังฝึกสัปดาห์ที่ 6 มีค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 2.63(0.49) และ 1.73(0.44) ตามลำดับ ซึ่งระดับความเมื่อยล้าก่อนการฝึกและหลังฝึกสัปดาห์ที่ 6 แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05                 สรุปได้ว่าผลของโปรแกรมการฝึกแบบแรงต้านเป็นระยะเวลา 6 สัปดาห์มีผลทำให้ระดับความเมื่อยล้ากล้ามเนื้อขาของคนงานที่ยืนทำงานเป็นระยะเวลานานลดลงได้ The purpose of this research was to study the effects of resistance training on fatigue for the prolong standing workers at the technical and product analysis department in a printing ink and plastic colorant manufacturing factory in Chachoengsao Province. This quasi-experimental research was a one group pretest – postest design. The representative sample consisted 30 subjects, who volunteered to participate in the study. The equipment used consisted of; fatigue questionnaire, resistance training program (period of training was 6 weeks, 30 minutes a day,3 days per week) and leg dynamometer. The results were analyzed for percentages, means and standard deviations, and comparison by using pair sample t-test. Research result indicated that, the subjects consisted of 50% male and 50% female workers, at the age of 26-30 years old, and they had been working for 1-6 years at the company. 63.3% worked more than 11 hours per day. The strength of the leg muscles before training, after training for 2 weeks, 4 weeks, and 6 weeks had the mean and the standard deviation of 55.07 ± 27.64, 62.17 ± 28.04, 105.03 ± 36.78 and 118 ± 40.10 kg, respectively. The strength of the leg muscles of the workers between before and after training at 6 weeks was different statistically. The fatigue before and after training at 6 weeks had the mean and the standard deviation of 2.63 (0.49) and 1.73 (0.44), respectively. The level of fatigue before training and after training at 6 weeks was different at .05 statistical level. In summary, the resistant training in six weeks had the effect of reducingfatigue of the muscle amongthe prolong standing workers. 

Downloads