การระบุและสังเคราะห์ปัญหาสุขภาพชุมชนโดยใช้กระบวนการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม

Authors

  • กิตติพงศ์ พลเสน
  • ทัศนีย์ ศิลาวรรณ
  • อรนุช ภาชื่น
  • ณิชชาภัทร ขันสาคร

Keywords:

สุขภาพ, อนามัยชุมชน, การเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม

Abstract

การวิจัยเชิงประยุกต์นี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อระบุปัญหาและสังเคราะห์ความสัมพันธ์ของปัญหาสุขภาพในชุมชน โดยใช้กระบวนการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม สุ่มตัวอย่างด้วยวิธีการหลายขั้นตอน จำนวนตัวอย่าง 408 คน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์ สนทนากลุ่ม และการประชุมระดมสมอง วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป นำเสนอด้วยสถิติเชิงพรรณา ผลการศึกษา พบว่า ในระดับบุคคลประชากรมีสุขภาพดี แต่มีแนวโน้มที่ปัญหาด้านพฤติกรรมเสี่ยงและโรคประจำตัวมากขึ้น ในระดับครัวเรือนพบว่า มีปัญหาด้านสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมในบริเวณบ้าน มีสัตว์ที่เป็นพาหะนำโรค มีหนี้สินครัวเรือนและขาดที่ดินทำกิน ในระดับชุมชน พบว่า ตำบลกุดจิกเป็นชุมชนกึ่งเมือง มีการจัดระบบสาธารณูปโภคและความปลอดภัยค่อนข้างดี แต่เริ่มมีปัญหาอาชญากรรมและแหล่งอบายมุขมากขึ้น สรุปปัญหาที่สำคัญมี 3 กลุ่ม คือ ปัญหาสุขภาพ ปัญหาสิ่งแวดล้อม และปัญหาด้านสังคม ระบุปัญหาย่อยได้ 11 ปัญหาซึ่งทุกปัญหามีความสัมพันธ์กันในเชิงระบบที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพประชากร ข้อเสนอแนะ คือ ชุมชนควรพัฒนาโครงการแก้ปัญหาและพัฒนาชุมชนของตนเองโดยอาศัยผลจากการวิจัย องค์กรในระดับท้องถิ่นควรนำผลการวิจัยไปใช้ในการจัดทำแผนงานของหน่วยงานโดยการบูรณาการการทำงานกับทุกภาคส่วน เพื่อให้การแก้ปัญหาแบบองค์รวมที่คำนึงถึงความสัมพันธ์ของปัญหาด้านสุขภาพ สิ่งแวดล้อมและด้านสังคมThe objectives of this applied research were to indentify and synthesize therelationship of community health problems through participatory learning process.The study enrolled 408 subjects by muti-stage random sampling method. Data werecollected using interview questionnaires, focus group discussion, and brain-stroming.Data were analyzed by using computer programs and presented in terms of descriptivestatistics. The results showed that the health situation at the individual level wasgenerally healthy but the health risk behavior and chronic diseases had an increasingtrend. At household level, environmental sanitation problems still occurred such asdisease transsmited animals, household debt, and a lack of land for agriculture. At thecommunity level, Kudjik Sub-district was a semi-urban area with good infrastructureand security system. However, an increasing crime rate and venues were reported.Three major groups of problem were identified which included health, environmental,and social problems. There were 11 sub-groups of problem that affected communityhealth. We suggested that the community should employ the study results to solve itsown health problems. Local administrative organizations may utilize the study resultsto make appropriate plans by integration with all relevant sectors to bring about a holisticapproach for problem solving based on the relationship of health, environmental, andsocial aspects.

Downloads