ความต้องการในการจัดบริการการดูแลผู้สูงอายุแบบไปกลับ
Keywords:
ผู้สูงอายุ - - การดูแล, บริการทางการแพทย์, บริการการพยาบาลของโรงพยาบาลAbstract
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา (Descriptive Research) เพื่อศึกษาความต้องการพื้นฐานในการจัดบริการการดูแลผู้สูงอายุแบบไปกลับ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาคือผู้ที่มารับบริการ ณ แผนกผู้ป่วยนอกโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยบูรพาจำนวน 384 คน โดยการสุ่มอย่างง่ายจากรายชื่อผู้เข้ารับบริการที่แผนกผู้ป่วยนอก การเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามและวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนาผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เห็นว่าสถานบริการแบบไปกลับควรมีห้องพักผ่อนหรือดูทีวีส่วนกลาง มีห้องทำกิจกรรมทางศาสนา มีห้องหรือพื้นที่ส่วนกลางสำหรับทำกิจกรรมร่วมกันมีบริเวณที่เป็นสนามหญ้าหรือสวนหย่อมเพื่อใช้ในการพักผ่อน มีพื้นที่สำหรับออกกำลังกายทั้งในร่มและกลางแจ้ง ร้อยละ 92.2, 88.8, 79.9, 75, 74.5 และ 73.4 ตามลำดับ สำหรับความต้องการด้านการบริการพบว่ากลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่คิดว่าสถานบริการดูแลผู้สูงอายุแบบไปกลับควรมีกิจกรรมการส่งเสริมสุขภาพ หรือกิจกรรมการให้ความรู้ด้านสุขภาพแก่ผู้สูงอายุ มีบริการรถรับส่งกรณีอุบัติเหตุฉุกเฉิน มีกิจกรรมตรวจสุขภาพฟันให้ผู้สูงอายุ ปีละ 2 ครั้ง มีการจัดเตรียมอาหารกลางวัน และอาหารว่างให้ผู้สูงอายุ มีกิจกรรมตรวจสุขภาพเบื้องต้นให้ผู้สูงอายุเดือนละ 1 ครั้ง มีกิจกรรมนันทนาการให้แก่ผู้สูงอายุ และมีบริการรถรับส่งที่บ้านร้อยละ 93.5, 93.0, 91.9, 91.7, 89.6, 84.1 และ 81.3ตามลำดับ นอกจากนี้ร้อยละ 76.6 กลุ่มตัวอย่างมีความต้องการให้มีสถานบริการดูแลผู้สูงอายุแบบไปกลับในชุมชน ร้อยละ 74.2 มีความสนใจไปใช้บริการสถานบริการดูแลผู้สูงอายุแบบไปกลับและคิดว่าถ้ามีสถานบริการดูแลผู้สูงอายุแบบไปกลับในชุมชนมีประโยชน์มากต่อกลุ่มตัวอย่างถึงร้อยละ 93.8 ดังนั้นการพัฒนารูปแบบบริการสำหรับผู้สูงอายุแบบไปกลับนั้นควรพิจารณาถึงความต้องการของประชาชนในชุมชนผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสีย ซึ่งจะส่งผลให้เกิดประโยชน์สูงสุดกับการพัฒนารูปแบบการดูแลที่เหมาะสมกับผู้สูงอายุต่อไปThe descriptive research aims to explore the basic needs of day care services.A total of 384 out- patients at the Burapha university hospital were selected toparticipate in this study. Simple random sampling was used to select the subjectsfrom the out-patient department visiting lists. Data were collected by the researchers’team using the questionnaires at Burapha University Hospital. Descriptive statisticswas used for data analysis. The results revealed that most participants reportedphysical structure of the day care should include a living room, a religious activityroom, an area for doing activities together, an outdoor relaxing area, and an indoorand outdoor exercise areas (92.2 % 88.8%, 79.9%, 75%, 74.5%, and 73.4% respectively).For basic needs of services, most participants reported that the day care servicesshould provide health promotion activities, an ambulance for emergency service, oralhealth service twice a year, lunch and supper meals, basic health assessment oncea month, relaxing activities, and transportation service from home to the day care(93.5%, 93.0 %, 91.9%, 91.7%, 89.6%, 84.1%, and 81.3 % respectively). Furthermore,76.6 % of the participants reported that the day care was needed in their communities,74.2 % was interested to use it, and 93.8 % informed that it was valuable for them.Therefore, the needs of the stakeholders should be taken into consideration inestablishing the elderly day care, which would result in the highest benefit fordevelopment of appropriate day care model for the elderly people.Downloads
Issue
Section
Articles