การสร้างเสริมสุขภาพผู้สูงอายุด้วยการแพทย์แผนไทย

Authors

  • สุนันทา โอศิริ
  • พรรณภัทร อินทฤทธิ์
  • วรัมพา สุวรรณรัตน์
  • สถาพร บัวธรา
  • ฐานิษฐ์ ศรีประเสริฐ
  • มยุรี พิทักษ์ศิลป์
  • นันทนาวดี บุญขวัญ
  • นริศรา ดิลกลาภ

Keywords:

การส่งเสริมสุขภาพ, ผู้สูงอายุ - - สุขภาพและอนามัย, การแพทย์แผนไทย

Abstract

การแพทย์แผนไทยนับเป็นภูมิปัญญาในการดูแลสุขภาพแบบองค์รวม ตามหลักธรรมานามัยที่ประกอบด้วย กายานามัย จิตตานามัย และชีวิตานามัย งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาภูมิปัญญาไทยที่เหมาะสมสำหรับดูแลสุขภาพผู้สูงอายุ เพื่อพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรม และประเมินผล โดยใช้กระบวนการจัดการความรู้ (KM) ในการจัดทำคู่มือ สื่อ และพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ ผู้เข้าร่วมโครงการ 48 คน ประกอบด้วยกลุ่มผู้สูงอายุ 38 คน และกลุ่มอาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.) ที่อยู่ในเขตเทศบาลเมืองแสนสุข อำเภอเมืองชลบุรี จังหวัดชลบุรี10 คน การประเมินผลพบว่ากิจกรรมที่ผู้เข้ารับการอบรมส่วนใหญ่พึงพอใจในระดับมากที่สุด เป็นกิจกรรมที่ผู้เข้ารับการอบรมสามารถมีส่วนร่วม ได้แก่ การทำอาหารเพื่อสุขภาพ กายบริหารท่าฤาษีดัดตน การนวดตนเอง การทำลูกประคบสด การสวดมนต์ การเดินจงกรม และบทพิจารณาความตายหลังการอบรมผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้ความเข้าใจ เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.001)การประเมินผลโดยใช้แบบสอบถามที่มีความเที่ยงวัดค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาเท่ากับ .836 พบว่าหลังการอบรมคุณภาพชีวิตและการเห็นคุณค่าตนเองเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p = 0.011),(p = 0.009) การติดตามผลในระยะเวลา 2 เดือนหลังการอบรม พบว่าผู้เข้าร่วมโครงการ สามารถนำความรู้ที่ได้รับไปใช้ในชีวิตประจำวัน นำไปเผยแพร่และช่วยเหลือผู้สูงอายุอื่นได้อย่างบูรณาการจึงสรุปได้ว่าคู่มือและหลักสูตรการฝึกอบรมนี้ สามารถสร้างเสริมสุขภาพผู้สูงอายุให้มีคุณภาพชีวิตดีขึ้น การเห็นคุณค่าตนเองเพิ่มมากขึ้น สามารถนำไปเผยแพร่เพื่อช่วยเหลือผู้สูงอายุอื่น และสามารถพัฒนาเป็นอาสาสมัครดูแลผู้สูงอายุด้วยกันต่อไปThe objectives of this action research were to study the Thai traditional wisdomand develop the manual, media and training program for promoting elderly health.Knowledge management (KM) were derived from literature review, share, anddevelop Dhammanamai knowledge for the elderly. These composed of Kayanamai(healthy body), Jitanamai (healthy mind), and Chevitanamai (healthy life). The 48persons, 38 in elderly group and 10 village health volunteers of Sansuk Municipality,participated in the training program. The most satisfied activities were the activitiesthat they could involve such as making food for health, Ruesee-dudton exercise, selfmassage therapy, making Thai herbal massage compress ball, pray, walk back andforth meditation, and the consideration of death. By comparing the scores (beforeand after the course), their understanding were significantly increased (p<0.001).The Cronbach’s alpha for the questionnaires was 0.836. Their quality of life and theirself-esteem were significantly improved (p=0.011), (p=0.009). After two months, thefollow-up interview revealed that the program was very useful and could be appliedin daily life for themselves and their families. They shared knowledge, adviced andsupported many older peoples. It can be concluded that the manual and trainingprogram could be used for promoting quality of life and self-esteem in the elderly.The trainees were encouraged and coud develop to be volunteers for the elderly.

Downloads