ประสิทธิผลของโปรแกรมการสร้างเสริมสุขภาพเพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตบนพื้นฐานความต้องการของผู้สูงอายุ

Authors

  • กรฐณธัช ปัญญาใส
  • จุฑามาศ กิติศรี
  • พิชชานาถ เงินดี

Keywords:

ประสิทธิผล, โปรแกรมการสร้างเสริมสุขภาพ, กิจกรรมการสร้างเสริมสุขภาพ, คุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ

Abstract

          การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาแบบกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลของโปรแกรมการสร้างเสริมสุขภาพการพัฒนาคุณภาพชีวิตบนพื้นฐานความต้องการของผู้สูงอายุ ตำบลนางแล อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือผู้สูงอายุ จำนวน 50 คน เป็นกลุ่มทดลอง โดยได้รับโปรแกรมการสร้างเสริมสุขภาพที่สร้างขึ้นและผู้สูงอายุ จำนวน 50 คนสำหรับเข้าร่วมกิจกรรม เป็นกลุ่มควบคุมที่ได้รับโปรแกรมตามปกติ เครื่องมือการวิจัย คือ โปรแกรมการสร้างเสริมสุขภาพ และแบบประเมินคุณภาพชีวิตขององค์กรอนามัย (WHO) การวิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าร้อยละ คะแนนเฉลี่ย ความเบี่ยงเบนมาตรฐานและทดสอบค่าที (dependent, independent samples t-test) ผลการศึกษา พบว่า ภายหลัง การได้รับโปรแกรมการสร้างเสริมสุขภาพผู้สูงอายุกลุ่มทดลองมีคุณภาพชีวิตดีกว่าก่อนได้รับโปรแกรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ 0.01 และภายหลังได้รับโปรแกรมสร้างเสริมสุขภาพผู้สูงอายุกลุ่มทดลองมีคุณภาพชีวิตดีกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01           The purpose of this quasi – experimental research was to study the effectiveness of health promotion program for develop of quality of life basic need among the elderly in Tambon Nanglae Meuang District Chiang Rai Province. The samples were divided into two groups. The experimental group consisted of 50 participate group was received health promotion program. The control group consisted of 50 non received regular health promotion program. The instrument was health promotion program and questionnaire Quality of life (WHO). Percentage, mean, standard deviation, dependent samples t-test and independent samples t-test were applied for data analysis. The results of this study were as follows: After receiving the health promotion, the elderly in experimental group had significantly better quality of life than before receiving the health promotion program at .01 level. After receiving the health promotion, the elderly in experimental group had significantly better quality of life than the elderly in control group at .01 level.

Downloads