ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ปัญหาอาชญากรรมในชุมชนกับการใช้สารเสพติดของผู้ติดยาเสพติด ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประเทศไทย
Keywords:
การรับรู้ปัญหาอาชญากรรม, การใช้สารเสพติด, ผู้ติดยาเสพติด, Drug addictsAbstract
ปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อมของที่อยู่อาศัย เป็นปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการใช้ยาเสพติด การวิจัยแบบ Cross-sectional analytic study นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยระดับบุคคล ปัจจัยระดับปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคล และการรับรู้ปัญหาอาชญากรรมในชุมชนกับการใช้สารเสพติดกลุ่มตัวอย่างคือ ผู้เข้าบำบัดยาเสพติด จำนวน 336 คน ที่เข้ารับการบำบัด ณ ศูนย์บำบัดยาเสพติดแบบบังคับบำบัด ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประเทศไทย เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์สถิติที่ใช้ ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ Multinomial logistic regression ผลการวิจัย พบว่า เป็นเพศชาย (ร้อยละ 87.2) มีอายุเฉลี่ย 27.7 ปี จบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาขึ้นไป (ร้อยละ 51.2) ว่างงาน (ร้อยละ 22.0) และมีประวัติอาชญากรรมเกี่ยวข้องกับยาเสพติด (ร้อยละ 68.8) มีคนในครอบครัวใช้ยาเสพติด (ร้อยละ 41.1) และเพื่อนใช้ยาเสพติด (ร้อยละ 69.3) ส่วนใหญ่ใช้ยาบ้าอย่างเดียว (44.9%) รองลงมาคือ ใช้ยาเสพติดชนิดอื่น ๆร่วมกับยาบ้า (28.3%) และใช้ยาเสพติดชนิดอื่น ๆ โดยไม่ใช้ยาบ้า (26.8%) และจากการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ปัญหาอาชญากรรมกับการใช้สารเสพติด เมื่อควบคุมตัวแปรกวนพบว่า การรับรู้ปัญหาอาชญากรรมในระดับปานกลางและระดับสูงมีความสัมพันธ์กับการใช้ยาบ้าอย่างเดียวอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (AOR= 2.37, 95%CI: 1.18,4.75; AOR= 2.18, 95%CI: 1.09,4.35 ตามลำดับ) และมีความสัมพันธ์กับการใช้ยาเสพติดชนิดอื่นร่วมกับยาบ้าอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติเช่นกัน (AOR= 2.59, 95%CI: 1.22,5.52; AOR= 2.43, 95%CI: 1.14,5.19 ตามลำดับ) สรุปผลการศึกษา จะเห็นได้ว่าการรับรู้ปัญหาอาชญากรรมมีความสัมพันธ์กับการใช้สารเสพติดของบุคคลในชุมชน นั่นหมายถึงว่าถ้าชุมชนใดที่มีการรับรู้ปัญหาการเกิดอาชญากรรมในชุมชนสูง ก็จะส่งผลให้โอกาสการใช้สารเสพติดมากขึ้นไปด้วย ดังนั้นในการออกแบบมาตรการหรือแนวทางในการแก้ไขปัญหาจึงควรนำปัจจัยสิ่งแวดล้อมของที่อยู่อาศัยเข้ามาร่วมพิจารณาด้วย อาทิเช่นมาตรการในการลดการเกิดปัญหาอาชญากรรม เป็นต้น Neighborhood environments play an important role for determining substance use. This cross-section analytic study was to examine how individual factors, interpersonal factors and perceived neighborhood crime were related to substance use among drug addicts. The subjects were 336 drug offenders, who were treated in compulsory drug detention center in Northeast Thailand. The face-to-face structured interviews were used for data collection. The percentage, mean, standard deviations, and multinomial logistic regression were applied for statistics analyses. The results revealed that majority of respondents were male (87.2%) and age average was 27.7 years. About half (51.2%) of them had completed secondary school or above, 22% were in unemployed, 68.8% had drug-related crime history, and their family (41.1%) and friends (69.3%) used drugs. In additional, the most frequently (44.9%) used methamphetamine pills only, 28.3% used other illicit drug with methamphetamine pills, and 26.8% used other illicit drug without methamphetamine pills. The estimation of association between perceived neighborhood crime and substance use after adjusted all covariates, found that the moderate and high levels of perceived neighborhood crime were positively associated with both methamphetamine pills use (AOR= 2.37, 95%CI: 1.18, 4.75; AOR= 2.18, 95%CI: 1.09, 4.35, respectively) and other illicit drug use with methamphetamine pills (AOR= 2.59, 95%CI: 1.22, 5.52; AOR= 2.43, 95%CI: 1.14, 5.19, respectively). This study suggests that substance use among drug addicts influenced by perceived neighborhood crime. In the other word, people living in high perceived neighborhood crime occurred in their neighborhoods were more likely to use substance. Therefore, designing prevention and intervention strategies should consider the impact of neighborhood context on substance use behaviors.Downloads
Issue
Section
Articles