ผลของนวัตกรรมกระเป๋ายาเตือนความจำที่มีต่อการรับประทานยาต่อเนื่องและคุณภาพของยา

Authors

  • ศุภาพิชญ์ โฟน โบร์แมนน์
  • วินัย สยอวรรณ
  • สิริชัย จันทร์นิ่ม
  • ศรารัตน์ รุ่งเรืองคณารักษ์
  • เปรมชัย สุขสำราญ
  • ปิยะพร ศรีสุข
  • ปิยะธิดา โพธิ์ศรี

Keywords:

ยา, เตือนความจำ, การรับประทานยาต่อเนื่อง, ความพึงพอใจ

Abstract

          ยาที่ดีที่สุดก็ไม่มีประโยชน์ หากผู้ป่วยไม่รับประทานมัน มีการใช้วิธีการที่หลากหลายเพื่อช่วยให้ผู้ป่วยรับประทานยาอย่างต่อเนื่อง แต่อัตราที่ผู้ป่วยรับประทานยาอย่างไม่ต่อเนื่องยังคงสูงถึงร้อยละ 24 ในกลุ่มผู้ป่วยทางกาย และร้อยละ 42 ในผู้ป่วยทางจิต ยิ่งไปกว่านั้นผู้ป่วยอาจจะรู้สึกไม่มีความมั่นใจเมื่อต้องพกยา ไปด้วยทุกที่ กล่องใส่ยาในท้องตลาดส่วนใหญ่ไม่มีเสียงเตือน ในขณะที่กล่องแบบที่มีเสียงเตือนก็มีขนาดใหญ่ ไม่สะดวกในการพกพาและอาจจะถูกลืมทิ้งไว้ที่บ้านได้ ดังนั้นกระเป๋ายาเตือนความจำ หรือ Medication Reminder (MR) ได้ถูกคิดค้นขึ้น MR เป็นกล่องใส่ยาที่มีเสียงเตือนผู้ป่วยเมื่อถึงเวลายาและมีไฟอยู่ตามช่อง ซึ่งจะสว่างเตือนว่าเวลานี้จะต้องหยิบยาช่องไหน กล่องใส่ยานี้ถูกบรรจุในกระเป๋าสตางค์ เนื่องจากคนส่วนใหญ่มักลืมพกยาแต่ไม่ลืมพกเงิน เมื่อออกนอกบ้าน งานวิจัยนี้เป็นการพัฒนานวัตกรรมที่ช่วยให้ผู้ป่วยรับประทานยาตรงเวลา กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ อาสาสมัคร 24 คน ที่ต้องทำงานนอกบ้านทุกวัน เม็ดยาแบบเคลือบ ไม่เคลือบและแคปซูล ถูกบรรจุในภาชนะ 3 แบบ ได้แก่ MR, ถุงพลาสติกที่มีซิปล็อค และกล่องใส่ยาพลาสติก อาสาสมัครถูกแบ่งเป็น 3 กลุ่มๆ ละ 8 คน โดยแต่ละกลุ่มพกภาชนะ 1 แบบที่มียาทั้ง 3 ชนิดบรรจุอยู่ หลังจากนั้น 7 วัน ผู้วิจัยนำเม็ดยาเข้าไปในห้องทดลองเพื่อทดสอบคุณภาพทางกายภาพ ได้แก่ ลักษณะภายนอก กลิ่น สี ความแข็ง และน้ำหนัก เครื่องมือที่ใช้คือ แบบสอบถามการรับประทานยาต่อเนื่องและแบบสอบถามความพึงพอใจ          ผลการทดลองพบว่า คะแนนการรับประทานยาต่อเนื่องสูงขึ้นในผู้ที่พก MR มากกว่าผู้ที่พกถุงพลาสติกที่มีซิปล็อค และกล่องใส่ยาพลาสติก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ p<.001, ค่าเฉลี่ย (SD) = 11.16(0.75), 7.83(0.98), 8.83(1.32) ตามลำดับ ส่วนการทดสอบคุณภาพของบรรจุภัณฑ์ พบว่า MR และกล่องใส่ยาพลาสติก สามารถปกป้องเม็ดยาได้มากกว่าถุงพลาสติกที่มีซิปล็อค อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ p<.001, ค่าเฉลี่ย (SD) = 4(0.00), 4(0.00), 2.5(0.54) ตามลำดับ อาสาสมัครส่วนใหญ่ที่พก MR มีคะแนนความพึงพอใจกับนวัตกรรมในระดับดีมาก (4.54 ใน 5 คะแนน)           The best medicine will not work if the patient does not take them. There are several methods developed to help patients to be adherent to medicine. However, non-adherent rate still high: 24% in physically ill and 42% in mentally ill patients. Moreover, patients might feel less confident when carrying medicine around. Normal medicine box has no alarm; whereas the one with alarm is not handy and might be left at home. Therefore, Medication Reminder (MR) was invented. MR is a medicine pocket that has an alarm clock to remind the patient when it is the time to take medicine. It also has a small light indicating the medicine the patient has to take. This pocket is attached within a purse or wallet because most people forget medicine but do not forget to take their money. This research was conducted to develop an innovation assisting patients to take their medicine on time. Samples were 24 volunteers who went out to work every day. Uncoated tablets, coated tablets and capsules were filled in three types of containers: MR, plastic bag with zip lock, and normal plastic box. Volunteers were divided into three groups; eight persons in each group. Each group carried one type of containers filled with three types of medicine everywhere during day time. After seven days, medicines were tested for physical quality (appearance, odor, color, hardness, and weight) in laboratory. Medication adherence and satisfaction questionnaires were completed by participants. The results revealed that, MR showed significant improvement in participants’ adherence than plastic bag with zip lock, and normal plastic box at p<.001 (average (SD) = 11.16(0.75), 7.83(0.98), 8.83(1.32), respectively). Based on the quality te,st MR and normal plastic box significantly better protected medicine than plasticbag with zip lock at p<.001 (average (SD) = 4(0.00), 4(0.00), 2.5(0.54), respectively). Most participants who carried MR were satisfied with the innovation in very good level (4.54 out of 5). MR has a potential to improve adherent rates of participants and therefore to be an innovation that help reducing the cost of treatment due to non-adherence.

Downloads