ภาวะสุขภาพและความพร้อมของชุมชนต่อการจัดการอาชีวอนามัยของแรงงานสูงอายุ อำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช

Authors

  • ชัญทิชา ฉ้วนกลิ่น
  • จำนงค์ ธนะภพ

Keywords:

แรงงานสูงอายุ, ภาวะสุขภาพ, ความพร้อมของชุมชน, การจัดการอาชีวอนามัย

Abstract

          การวิจัยประเมินผลครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินสภาวะสุขภาพของแรงงานผู้สูงอายุ 4 ด้าน ได้แก่ ด้านร่างกาย จิตใจ สังคม และจิตวิญญาณ และประเมินความพร้อมของชุมชนในการจัดการด้านอาชีวอนามัยของแรงงานสูงอายุ โดยใช้รูปแบบความพร้อมของชุมชน (Community Readiness Model : CRM) ใน 6 มิติ ได้แก่ ด้านความพยายาม ด้านการรับรู้ของความพยายาม ด้านผู้นำ ด้านทัศนคติ ด้านความรู้ และด้านทรัพยากร กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วย บุคลากรภาครัฐ นายจ้าง และแรงงานผู้สูงอายุ จำนวน 32, 6 และ 440 คน ตามลำดับ รวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา          ผลการศึกษาพบว่า ภาวะสุขภาพของแรงงานผู้สูงอายุอยู่ในระดับดี ทั้งด้านร่างกาย จิตใจ และจิตวิญญาณ ร้อยละ 99.1, 96.6 และ 97.1 ตามลำดับ สำหรับภาวะทางสังคมพบว่า แรงงานผู้สูงอายุ ร้อยละ 93.2 มีความสัมพันธ์ในครอบครัวระดับดี และ ร้อยละ 68.6 ต้องการความช่วยเหลือจากสังคมด้านความพร้อมของชุมชนต่อการจัดการด้านอาชีวอนามัยในแรงงานสูงอายุ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 2.30 จัดอยู่ในระดับ 2 ปฏิเสธ/ต่อต้าน โดยสมาชิกในชุมชนบางส่วนรับรู้และตระหนักถึงปัญหาที่จะเกิดขึ้นในชุมชนเพียงเล็กน้อย          ดังนั้นเพื่อให้ชุมชนมีความพร้อมในการพัฒนาด้านอาชีวอนามัยสำหรับแรงงานสูงอายุ หน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องควรกำหนดนโยบายด้านอาชีวอนามัยที่ชัดเจนและมีการถ่ายทอดแผนการปฏิบัติงานสู่ชุมชน           This evaluative research aimed to assess health status of aging labors in 4 aspects which were physical, mental, social, and spiritual health and to evaluate community readiness for occupational health management of aging labors using Community Readiness Model: CRM in 6 dimensions namely community efforts, perceived the community efforts, leadership, attitudes toward the readiness, knowledge about the readiness, and resources related to the community readiness. The study samples were 32 government officers, 6 employers, and 440 aging labors. Data was collected using a structured interviewing questionnaire and was analyzed by descriptive statistics.          Results of the study shown that the health status of aging labors were at a good level of physical (99.1%), mental (96.6%), social (93.2%), and spiritual (97.1%). Although the aging labor samples had a good relationship with their family members, 68.6% of them indicated the need for supports. Regarding the community readiness, it was found that the average score of community readiness for occupational health management was 2.30. This score was categorized in the 2nd level or denial/resistance level that only some part of the community members recognized and concerned about little problem in relation to the aging labors that might occurred in the community.          Therefore, in order to make the community be ready to improve the occupational health of the aging labors, the related community government agencies should formulate the community occupational health policies clearly and transfers them in to action.

Downloads