การทบทวนสถานการณ์การจัดบริการภายใต้โครงการงบจ่ายตามตัวชี้วัดเกณฑ์คุณภาพและผลงานบริการ ในหน่วยบริการปฐมภูมิ

Authors

  • ณัฐธิดา มาลาทอง
  • รุ่งนภา คำผาง
  • จอมขวัญ โยธาสมุทร
  • ศรีเพ็ญ ตันติเวสส

Keywords:

โครงการงบจ่ายตามตัวชี้วัดเกณฑ์คุณภาพและผลงานบริการ, คุณภาพบริการ, บริการปฐมภูมิ, หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า, การให้ค่าตอบแทนตามผลงาน, Quality and Outcome Framework, QOF

Abstract

          โครงการงบจ่ายตามตัวชี้วัดเกณฑ์คุณภาพและผลงานบริการ (Quality and Outcome Framework, QOF) ในหน่วยบริการปฐมภูมิ เริ่มดำเนินการโดยสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ในปีงบประมาณ 2557 มีจุดมุ่งหมายที่จะใช้กลไกด้านการเงินกระตุ้นหรือจูงใจให้หน่วยบริการพัฒนาตนเองจนสามารถให้บริการปฐมภูมิที่มีคุณภาพและได้ผลลัพธ์ทางสุขภาพตามตัวชี้วัดที่กำหนด การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานการณ์การดำเนินโครงการ QOF ปัญหาอุปสรรค และปัจจัยที่ส่งผลต่อการดำเนินโครงการทั้งในแง่ของการบริหารจัดการและการพัฒนาตัวชี้วัด โดยใช้วิธีการศึกษาเชิงคุณภาพ เก็บข้อมูลด้วยการทบทวนเอกสาร การสัมภาษณ์เชิงลึก และการสนทนากลุ่ม ซึ่งกลุ่มตัวอย่างประกอบด้วยผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทั้งระดับผู้กำหนดนโยบายและระดับผู้ปฏิบัติงานครอบคลุมหน่วยงานในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค ผลการ ศึกษาพบว่าการดำเนินโครงการ QOF ที่ผ่านมายังมีข้อจำกัดบางประการ ได้แก่ ความสอดคล้องของนโยบาย ระหว่างกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) และ สปสช. การพัฒนาตัวชี้วัดคุณภาพ และระบบรายงานผลงานและฐานข้อมูลที่น่าเชื่อถือ การศึกษานี้มีข้อเสนอแนะให้ สธ. และ สปสช. ร่วมกันบริหารโครงการในระดับนโยบาย และผลักดันให้ไปสู่การปฏิบัติในทิศทางเดียวกัน โดยมีการพัฒนาตัวชี้วัดคุณภาพโดยมีหลักฐานทางวิชาการรองรับ ใช้กระบวนการที่โปร่งใส และมีส่วนร่วมจากผู้ที่เกี่ยวข้องทุกฝ่าย อีกทั้งควรร่วมกันพัฒนาระบบสารสนเทศ เพื่อให้มีการบันทึกข้อมูลที่น่าเชื่อถือ และสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ บทเรียนที่ได้จากโครงการ QOF นี้จะเป็นประโยชน์สำหรับผู้กำหนดนโยบายและผู้ปฏิบัติงานในการปรับปรุงการดำเนินโครงการในอนาคต           In the fiscal year 2014, the National Health Security Office (NHSO) initiated the Quality and Outcomes Framework (QOF) for the Thai primary care. The purpose was to provide financial incentives to health facilities for improving the quality of primary care services by using quality indicators. Currently, no monitoring and evaluation of the program and quality indicators were conducted in systematic manner. This study aims to review current situation of the QOF program implementation, obstacles and factors affecting the implementation of the program in terms of management and the development of indicators. This qualitative study used different methods including literature review, in-depth interviews and focus group discussions. The stakeholders involved in this study were policy makers, healthcare professionals cover central and regional organizations. The study found that the QOF program implementation had some limitations including policy alignment between the Ministry of Public Health (MOPH) and the NHSO, the development of quality indicators, and the reporting systems and reliable databases. The MOPH and the NHSO should jointly manage the project at the policy level and implement the policy in the same direction, indicators should be developed from evidence based, transparent process and involvement of all relevant stakeholders and improving the information technology system of the MOPH so that reliable data can be obtained and used. Finally, the learned lessons on the current QOF will be useful for policymakers and health practitioners in improving the implementation of this initiative.

Downloads