การประเมินผลและปัจจัยที่สัมพันธ์กับการดูแลที่พักอาศัยสำหรับผู้สูงอายุ อำเภอท่าศาลา จังหวัด นครศรีธรรมราช

Authors

  • นรรฐพร ซัง
  • จำนงค์ ธนะภพ
  • จิรา คงปราณ

Keywords:

ผู้สูงอายุ, การดูแลที่พักอาศัย, การประเมินผล

Abstract

          การศึกษาเชิงสำรวจแบบภาคตัดขวางนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินสภาพการดูแลที่พักอาศัยสำหรับผู้สูงอายุ และระดับความรู้ ทัศนคติ การสนับสนุนของสังคมในการดูแลที่พักอาศัย รวมทั้งวิเคราะห์ปัจจัยที่มี ผลต่อมาตรฐานการจัดที่พักอาศัยสำหรับผู้สูงอายุ ในพื้นที่ตำบลท่าศาลา อำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช กล่มุ ตัวอย่างเป็นผู้สูงอายุ 218 คน ผู้ดูแลผู้สูงอายุ 153 คน เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบ สัมภาษณ์และแบบสำรวจวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและไคสแควร์          ผลการศึกษาพบว่า ร้อยละ 50.1ของที่พักอาศัยสำหรับผู้สูงอายุผ่านเกณฑ์การประเมินระดับพื้นฐาน (ร้อยละ 60-69 ของคะแนนประเมิน) ประเด็นสำคัญที่ควรปรับปรุง ได้แก่ ราวจับที่ปลอดภัยการจัดการมูลฝอยและน้ำทิ้งในครัวเรือน การดูแลห้องน้ำและห้องนอนให้ถูกสุขลักษณะ สำหรับความรู้ด้านการดูแลที่พัก อาศัยโดยภาพรวม ร้อยละ 60.9 อยู่ในระดับน้อย มีเจตคติต่อการดูแลที่พักอาศัยอยู่ในระดับดีและปานกลาง ร้อยละ 54.4 และ 45.6 ตามลำดับ การสนับสนุนทางสังคมอยู่ในระดับปานกลางและมาก ร้อยละ 39.4 และ 32.9 ตามลำดับ พฤติกรรมในการดูแลที่พักอาศัยอยู่ในระดับดีและปานกลาง ร้อยละ 54.4 และ 23.7 ตามลำดับ ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อผลการประเมินที่พักอาศัยตามเกณฑ์การประเมินอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value < 0.05) ได้แก่ ศาสนา เจตคติ พฤติกรรม และการสนับสนุนทางสังคมต่อการดูแลที่พักอาศัย          ดังนั้นหน่วยงานสุขภาพของรัฐและเครือข่ายชุมชนควรสนับสนุนและสื่อสารเพื่อให้ผู้ดูแลและผู้สูงอายุมีความรู้และเจตคติที่ดีเพื่อให้สามารถจัดการที่พักอาศัยสำหรับผู้สูงอายุให้ได้มาตรฐาน           This cross-sectional survey study aimed to evaluate the situation, knowledge, attitude, and social support for residential care of the elderly, and explored factors affecting elderly housing standard in Thasala Sub-District, Thasala District, Nakhon Si Thammarat Province. The study subjects included 218 elders and 153 elderly caregivers. Data were collected using structured interview questionnaire and checklist. Descriptive and Chi-square statistics were used for data analysis.          The results shown that only 50.1% of the households passed the basic standard for elderly housing (60-69% of total score). The issues that should be improved were safety rails, household solid waste and wastewater management, hygienic-bathroom and bedroom for the elderly. The residential care knowledge was at a low level (60.9%). Residential care attitude was at good and moderate levels (54.4% and 45.6%, respectively), whilst social support was at moderate and high levels (39.4 and 32.9%, respectively). Housing care behaviors were at good and moderate levels (54.4 and 23.7%, respectively). Factors affected basic housing standard were religion, attitude, behaviors and social support of residential care (p < 0.05).          It is recommended that local health authorities and the community network should support and communicate to the family caregivers and the elders to improve knowledge and attitude in order to provide the elderly resident according to the standard.

Downloads