การบาดเจ็บจากการสัมผัสแมงกะพรุนพิษในเขตชายหาดบางแสน จังหวัดชลบุรี : อาการทางคลินิกและมาตรการป้องกัน

Authors

  • สุริยา โปร่งน้ำใจ

Keywords:

การบาดเจ็บ, แมงกะพรุนพิษ, ชายหาดบางแสน, ชายฝั่งทะเลภาคตะวันออก, Injury, Toxic jellyfish

Abstract

          จากอุบัติการณ์นักท่องเที่ยวบริเวณชายหาดบางแสน จังหวัดชลบุรี จำนวนมาก สัมผัสพิษของแมงกะพรุน มีผื่นแดงตามตัว แขนและขา จากรอยโรคตรวจสอบ พบว่า เป็นแมงกระพรุนหนังหรือแมงกระพรุนส้มโอ (Edible jellyfish) จัดอยู่ในชั้น Scyphozoa มีเข็มที่มีพิษ แต่ไม่ร้ายแรง ทำให้เกิดอาการระคายเคือง จากข้อมูลผู้ป่วยที่สัมผัสแมงกะพรุนพิษที่มารักษา ณ โรงพยาบาล มหาวิทยาลัยบูรพา ตั้งแต่ปี พ.ศ.2558 ถึง 2560 ส่วนใหญ่เป็นผู้ป่วยช่วงอายุ <14 ปี รองลงมาคือ 15-30 ปี เพศชายมากกว่าเพศหญิง พบมากในช่วงเดือน กรกฎาคม-ตุลาคม และมากที่สุดในเดือนตุลาคม การศึกษาอาการทางคลินิก มาตรการในการป้องกันและการสื่อสารประชาสัมพันธ์ จึงเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยให้ความรู้และสร้างความตระหนักแก่นักท่องเที่ยว ผู้เกี่ยวข้องและประชาชนบริเวณชายฝั่งทะเล เกี่ยวกับการดูแลรักษาผู้ป่วยที่สัมผัสพิษแมงกะพรุนและใช้เป็นแนวทางเฝ้าระวังและมาตรการป้องกันในการปฏิบัติที่ดีต่อไป           The incidence of many tourists on Bangsaen beach, Chon Buri province exposed to the poison of jellyfish. They have rashes on their bodies, arms and legs. From the lesions, it is caused by the skin, or edible jellyfish in the Scyphozoa class with toxic needles but it is not serious, or cause irritation. Based on the information from the patients who were exposed to poisonous jellyfish at Burapha University Hospital from 2015 to 2017, most of the patients were male aged <14, followed by 15-30 years old. The cases were found during the month of July - October and mostly in October. Clinical manifestations measures for prevention and communication are important to help educate and raise concern for tourists, and local people about caring patients exposed to jellyfish poisoning and used as a guideline for surveillance and prevention measures.

Downloads