แนวทางการรักษาโรครองช้ำ

Authors

  • ปราโมทย์ ธนาศุภกรกุล

Keywords:

รองช้ำ, ปวดส้นเท้า, ปวดเท้า, ที่พยุงอุ้งเท้า, plantar fasciitis, heel pain, foot pain

Abstract

          ภาวะโรครองช้ำ ยังไม่ทราบสาเหตุแน่ชัด งานวิจัยหลายชิ้นอธิบายว่าเกิดจากเอ็นร้อยหวายและเอ็นใต้ฝ่าเท้าที่ตึงตัวมากกว่าปกติและน้ำหนักตัวที่เพิ่มมากขึ้น ทำให้มีอาการเจ็บที่ส้นเท้าได้ อาการนำ คือเจ็บส้นเท้าหลังตื่นนอนตอนเช้าหรือตอนไม่ได้ขยับตัวเป็นเวลานานเมื่อขยับก้าวแรก ๆ จะปวดมาก จากนั้นจะทุเลาลง มักจะเจ็บที่ตำแหน่งส้นเท้าด้านใน พบได้ร้อยละ 70-75 ปัจจุบันการไม่ผ่าตัดจะให้ผลดีมากกว่าร้อยละ 80 อาการจะดีขึ้นที่ 6 เดือน ด้วยวิธีการรักษาที่หลากหลายจึงเกิดคำถามว่าวิธีใดที่ได้ผลลัพธ์ดีเหมาะสมและคุ้มค่ากับผู้ป่วย บทความนี้ได้ศึกษาเอกสารวิชาการเกี่ยวกับการรักษาโรครองช้ำด้วยวิธีต่าง ๆ และหาข้อสรุปเพื่อประโยชน์ต่อการรักษาผู้ป่วยต่อไป ผลการศึกษาพบว่าผู้ป่วยส่วนใหญ่มักตอบสนองและให้ผลดีต่อการรักษาแบบไม่ผ่าตัด โดยผู้ป่วยร้อยละ 80 ตอบสนองต่อยาแก้ปวดชนิดที่ไม่ใช้สเตียรอยด์ได้ดี ส่วนการฉีดสเตียรอยด์เข้าไปตำแหน่งที่ปวดให้ผลดีในช่วงสั้น ๆ และต้องระวังภาวะแทรกซ้อนจากยา ได้แก่ เอ็นใต้ฝ่าเท้าฉีกขาดชั้นไขมันที่ใต้ฝ่าเท้าฝ่อ ซึ่งจะส่งผลระยะยาวทำให้อาการเจ็บปวดเป็นมากขึ้นได้ การใช้ชั้นเกล็ดเลือดของผู้ป่วยมาฉีดเพื่อลดปวดให้ผลดีที่ระยะ 3 เดือน การใช้คลื่นความถี่สูง พบว่าให้ผลที่ดีร้อยละ 50- 94 เมื่อติดตามอาการไป 24 เดือน การใช้อุปกรณ์พยุงเท้า พบว่า มีประโยชน์ในช่วง 7-12 สัปดาห์ โดยช่วยลดปวดและเกิดประสิทธิภาพในการทำงานแต่เมื่อติดตามอาการระยะยาวกลับพบว่า ข้อมูลไม่แตกต่างกันกับกลุ่มควบคุม การทำ taping ในผู้ป่วย 92 คน เป็นเวลา 7 วันอาการปวดดีขึ้นแต่ไม่ต่างจากกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญ (p = 0.08)                 สรุป การรักษาภาวะรองช้ำในปัจจุบัน พบว่า การรักษาแบบไม่ผ่าตัดให้ผลการรักษาที่ดีมากกว่าร้อยละ 80 ส่วนการรักษาอย่างไรนั้นมีวิธีการรักษาที่ต่างกันในหลาย ๆวิธี แต่หัวใจสำคัญคือ การยืดเอ็นร้อยหวาย เอ็นใต้ฝ่าเท้าให้ดี ใช้รองเท้าที่มีอุ้งเท้ารองรับเท้าที่ดี เลี่ยงการใช้รองเท้าส้นสูง และไม่ออกกำลังกายเกินกำลัง สิ่งเหล่านี้จะช่วยให้บรรเทาอาการภาวะรองช้ำดีขึ้นได้และค่อย ๆ หายไปในที่สุด           Plantar fasciitis does not know the exact cause. Many studies suggested that gastro soleus complex, Achilles and gastro soleus muscle, and more rigid plantar fascia and the weight gain might play some part in heel pain. The leading symptom is the heel pain after waking up in the morning or not moving for a long period of time. It will be very painful when moving the first step after that the pain will be alleviated. Most patients feel pain at the medial aspect of heel at approximately 70-75%. At present, non-surgical procedures are more effective to cure the symptoms at approximately 80% and these symptoms will gradually improve at 6 months. With a variety of treatments, the question is which treatment will yield a better result and also being worthwhile. This article reviewed the extant literature on the treatment of plantar fasciitis in different ways. The current results demonstrated that most patients respond well to the non-surgical treatment, that is, the non-steroidal anti-inflammatory drugs are effective in 80% of the patients, while the steroid injection at a specific pain area could provide immediate pain relief but side effects should be carefully considered including tear ligaments or atrophy of fat layer under the feet, which will cause chronic pain. The use of Platelet- Rich Plasma (PRP) to reduce pain was effective at 3 months. High frequency of Extracorporeal Shock Wave Therapy (ESWT) could achieve good results in 50 - 94% at 24 months follow-up period. Foot support instruments had a benefit in the midterm (7-12 weeks), with pain relief and functional efficacy, however, the long-term data were not significantly different from a control group. The taping method for seven day in 92 patients showed improvements in pain but it did not achieve a significant difference from a control group (p=0.08)          In conclusion, the current treatments for plantar fasciitis indicated that non-surgical treatment resulted in an effective therapeutic outcome for more than 80%. Although there are many types of treatments available, the key of successful plantar fasciitis treatments are stretching the Achilles tendon and plantar fascia, using shoes with foot-arch support, avoiding the high-heeled shoes wearing, and avoiding over-exercising.

Downloads