การเปรียบเทียบความมั่นคงในการทรงท่าและความสามารถในการเดินขณะทำงานอย่างอื่นร่วมด้วยในผู้ป่วยเบาหวานที่มีและไม่มีภาวะปลายประสาทเสื่อม

Authors

  • กิติมา รงค์สวัสดิ์
  • นัสรีนทร์ เจ๊ะนิ
  • ภัทราพร พรมศรี
  • ซารีนา เจะดาโอะ
  • จุฑามาส พั้วศรี

Keywords:

การแกว่งของลำตัว, ภาวะปลายประสาทเสื่อม, เบาหวาน, การทำงานสองอย่างร่วมกัน, การเดิน

Abstract

        ภาวะปลายประสาทเสื่อมเป็นภาวะแทรกซ้อนที่พบได้บ่อยในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 การศึกษาก่อนหน้าพบว่าผู้สูงอายุที่เป็นเบาหวานชนิดที่ 2 ที่มีภาวะปลายประสาทเสื่อมมีความไม่มั่นคงในการทรงท่า เสี่ยงต่อการล้มมากกว่าผู้ที่มีสุขภาพดี นอกจากนี้ผู้สูงอายุที่เป็นเบาหวานชนิดที่ 2 ยังมีการรับรู้และความเข้าใจลดลง ซึ่งส่งผลต่อการทรงท่าและการเดิน อย่างไรก็ตามยังไม่มีการศึกษาในผู้ป่วยเบาหวานที่มีภาวะปลายประสาทเสื่อมในวัยก่อนสูงอายุ การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบการทรงท่าและการเดินระหว่างผู้ป่วยเบาหวานที่มีและไม่มีปลายประสาทเสื่อมในวัยก่อนสูงอายุ ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 จำนวน 15 คน ประเมินการแกว่งของลำตัวขณะยืนบนเงื่อนไขต่างๆ และการเดินโดย TUG และ TUG ร่วมกับทำงานอย่างที่ร่วมด้วย ผลการศึกษาพบว่าผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่มีภาวะปลายประสาทเสื่อมวัยก่อนสูงอายุใช้เวลาเดินทั้ง 2 รูปแบบมากกว่าและมีพื้นที่ในการแกว่งของลำตัวมากกว่ากลุ่มที่ไม่มีปลายประสาทเสื่อม (p < 0.05) ยกเว้นหลับตาบนพื้นแข็ง การศึกษานี้พบว่าผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่มีภาวะปลายประสาทเสื่อมวัยก่อน สูงอายุ มีความไม่มั่นคงในการทรงท่าและความสามารถในการเดินลดลงเมื่อเทียบกับผู้ที่ไม่มีปลายประสาทเสื่อม           Diabetic peripheral neuropathy (DPN) is the most common complications in patients with type 2 diabetes mellitus (T2DM). Previous studies found that older T2DM patients with DPN had greater postural instability and increased risk of fall than healthy elders. Moreover, older T2DM patients showed a decline in cognitive function that affect postural control and gait. However, the effects of DPN on postural control and gait ability in pre-elderly patients with T2DM remain unknown. The aim of this study was to compare the postural control and walking ability between pre-elderly patients with and without DPN. Fifteen T2DM patients participated. Postural sway was assessed by sway meter during standing on different conditions. Gait ability was assessed by timed up and go test (TUG) and TUG with dual-task.           Results showed that pre-elderly T2DM subjects with DPN took significantly longer time to complete the TUG and TUG with dual-task in comparison with subjects without DPN (p < 0.05). The postural sway was associated with a larger sway area in all conditions amongst patients with DPN compared with those without DPN, but not in the eyes closed on firm surface condition. Findings from this study reveal that pre-elderly patients with T2DM with DPN had postural instability and poor gait ability compared to those of without DPN.

Downloads