ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความรอบรู้ด้านสุขภาพเพื่อป้องกันการตั้งครรภ์ในนักเรียนวัยรุ่นหญิงจังหวัดศรีสะเกษ
Keywords:
ความรอบรู้, สุขภาพ, การป้องกัน, การตั้งครรภ์, นักเรียนวัยรุ่นหญิงAbstract
การตั้งครรภ์ในวัยรุ่นเป็นปัญหาทางสังคมและสาธารณสุขที่สำคัญในนักเรียนวัยรุ่นหญิงการเสริมสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพจึงเป็นสิ่งจำเป็น การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความรอบรู้ด้านสุขภาพเพื่อป้องกันการตั้งครรภ์และปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความรอบรู้ด้านสุขภาพเพื่อป้องกันการตั้งครรภ์ในนักเรียนวัยรุ่นหญิง กลุ่มตัวอย่างคือนักเรียนหญิงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4-6 ในจังหวัดศรีสะเกษ จำนวน 320 คน ได้จากการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน รวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามประกอบด้วย ทัศนคติเกี่ยวกับการป้องกันการตั้งครรภ์ การรับรู้สมรรถนะของตนเองในการป้องกันการตั้งครรภ์ ความสะดวกใจในการสื่อสารเรื่องเพศกับพ่อแม่ การรับรู้เรื่องเพศและการป้องกันการตั้งครรภ์ของเพื่อน และแบบวัดความรอบรู้ด้านสุขภาพเพื่อการป้องกันการตั้งครรภ์วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนา และการวิเคราะห์สมการถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน ผลการวิจัยพบว่านักเรียนวัยรุ่นหญิงมีความรอบรู้ด้านสุขภาพเพื่อการป้องกันการตั้งครรภ์ โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง คิดเป็นร้อยละ 71.3 เมื่อวิเคราะห์ปัจจัยทำนาย พบว่า ความสะดวกใจในการสื่อสารเรื่องเพศกับพ่อแม่ (β = 0.34, p < .001) ทัศนคติเกี่ยวกับการป้องกันการตั้งครรภ์ (β = -0.23, p < .001) และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน (β = 0.14, p < .01) ร่วมกันทำนายความแปรปรวนความรอบรู้ด้านสุขภาพเพื่อการป้องกันการตั้งครรภ์ได้ร้อยละ 17.90 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .01 (R2adj = .179, p < .01) ผลการศึกษานี้เสนอแนะว่า การส่งเสริมวัยรุ่นหญิงที่อยู่ในวัยเรียนให้มีความรอบรู้ด้านสุขภาพเพื่อการป้องกันการตั้งครรภ์ ควรเน้นการปรับเปลี่ยนทัศนคติต่อ การคุมกำเนิดควบคู่กับการสร้างเสริมทักษะการสื่อสารระหว่างพ่อแม่และวัยรุ่นหญิงเกี่ยวกับการป้องกันการตั้งครรภ์โดยเฉพาะในกลุ่มนักเรียนที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนตํ่า Teenage pregnancy has become an important social and public health problem in female adolescent students, therefore, enhancing health literacy-related pregnancy prevention is very crucial. This study aimed to study health literacy-related pregnancy prevention and its influencing factors among female adolescent students. The multi-stage sampling technique was conducted to select 320 female students at upper secondary schools in Si Sa Ket province. Data were collected by questionnaires comprised attitude toward pregnancy prevention, perceived self-efficacy for pregnancy prevention, communication with parents about sex, peers’ perception of sexual behavior and pregnancy prevention, and health literacy-related pregnancy prevention. Data were analyzed by descriptive statistics and stepwise multiple regression. The results revealed that female adolescent students had a fair level of health literacy-related pregnancy prevention (71.3%). By controlling personal and social factors, communication with parents about sex (β = 0.34, p < .001), attitude toward pregnancy prevention (β = -0.23, p < .001) and an academic achievement (β = 0.14, p < .01) were together significantly accounted for 17.90% of variance in health literacy related pregnancy prevention (R2 = .179, p < .01). Results suggest that promoting of health literacy-related pregnancy prevention among female adolescent students should focus on changing attitudes toward pregnancy prevention and communication skill training on pregnancy prevention between adolescents and their parents especially in adolescent students who have a low level of grade point average (GPA).Downloads
Issue
Section
Articles