เปรียบเทียบปริมาณการรับสัมผัสสารเบนซีนของผู้ประกอบอาชีพในสถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิง จังหวัด ขอนแก่น
Keywords:
เบนซีน, น้ำมันเชื้อเพลิง, การสำรวจสุขภาพ, กรดมิวโคนิค, น้ำมันเครื่องAbstract
การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงวิเคราะห์แบบภาคตัดขวาง (Cross – sectional analytical study) มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบปริมาณการรับสัมผัสสารเบนซีนของผู้ประกอบอาชีพในสถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิงในจังหวัดขอนแก่น การรับสัมผัสสารเบนซีนได้จากการตรวจวัดปริมาณกรดมิวโคนิก (tran-tran Muconic Acid; t,t-MA) ในปัสสาวะก่อน และหลังปฏิบัติงานด้วยเทคนิค High Performance Liquid Chromatography (HPLC) จำนวนกลุ่มตัวอย่าง 139 คน คือ พนักงานเติมน้ำมัน 77 คน พนักงานเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่อง 33 คน แม่ค้า 29 คน ผลการศึกษาพบว่าหลังปฏิบัติงานแม่ค้ามีค่าเฉลี่ย t,t-MA สูงสุดคือ 609.76 ± 644.68 μg/g Cr. ค่าเฉลี่ยของผลต่างการรับสัมผัสในระหว่างปฏิบัติงาน (หลัง-ก่อน) พบว่าพนักงานเติมน้ำมันมีค่า t,t-MA สูงสุด 439.04 ± 972.95 μg/g Cr. ความเข้มข้นของสารเบนซีนในบรรยากาศการทำงานมีค่าเฉลี่ย 0.0047 ± 0.0031 ppm. เปรียบเทียบปริมาณ t,t-MA ก่อน และหลังปฏิบัติงานพบว่าแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.05) เปรียบเทียบ t,t-MA กับค่าแนะนำ ของ American Conference of Governmental Industrial Hygienists (ACGIH) พบว่ากลุ่มผู้ประกอบอาชีพมีปริมาณ t,t-MA สูงเกินกว่าค่าแนะนำร้อยละ 29.50 ดังนั้นจึงควรทำการเฝ้าระวังการรับสัมผัสสารเบนซีนอย่างต่อเนื่อง และศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการรับสัมผัส This study was a cross-sectional analytic study aimed to investigate benzene exposure among three occupations at gasoline service stations. The amount of benzene exposure of the working group in the gasoline service stations was obtained from the detection of tran, tran-Muconic Acid (t,t-MA) with the high performance liquid chromatography (HPLC) technique. There were 139 people working in fuel service stations included into the study as refueling worker (n=77), car care workers oil changed (n=33) and merchant/ seller in mini mart (n=29). The results of the study showed that after shiftwork, the merchants had the highest mean t,t-MA 609.76 ± 644.68 μg/g Cr. Considering the different of t,t-MA concentration after shiftwork compared to before shiftwork, the engine car care worker had the highest mean t,t-MA (439.04 ± 972.95 μg/g Cr), The average concentration of benzene in the working environment was 0.0047 ± 0.0031 ppm. Comparison results of benzene exposure before and after work shift, found that benzene exposure was statistically different (p < 0.001). Comparison results to recommendation of ACGIH, the results showed that the median value was not more than the recommendation. Considering the number of people who have the t,t-MA value higher than the recommended value after shiftwork, there were 41 people, accounting for 29.50%. Therefore, health and environmental monitoring for exposure to benzene should be conducted. Factors affecting benzene exposure among the gasoline station workers should be studied.Downloads
Issue
Section
Articles