ประสบการณ์ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในการดำเนินงานโครงการ “3 ล้าน 3 ปีเลิกบุหรี่ทั่วไทย เทิดไท้องค์ราชัน”

Authors

  • วรรณพร บุญเปล่ง
  • ศุภาพิชญ์ โฟน โบร์แมนน์
  • สุนันทา ทองพัฒน์
  • สุดคนึง ฤทธิ์ฤาชัย
  • กนิษฐา ถนัดกิจ
  • วิไลพร ขำวงษ์

Abstract

งานวิจัยเชิงคุณภาพนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสบการณ์ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ในการชวนคนเลิกบุหรี่ในโครงการ “3 ล้าน 3 ปีเลิกบุหรี่ทั่วไทย เทิดไท้องค์ราชัน” กลุ่มตัวอย่างคือ อสม. 19 คน ได้จากเลือกแบบเฉพาะเจาะจงจากจังหวัดที่มีผลการดำเนินการมากที่สุด 5 อันดับแรกและจังหวัดที่มีผลการดำเนินการน้อยที่สุด 5 อันดับแรกจาก Website Quit for King เก็บข้อมูลโดยใช้แนวการสนทนากลุ่มย่อยและการสัมภาษณ์เชิงลึก วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหาเชิงคุณภาพ ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างเข้าร่วมตั้งแต่เริ่มโครงการในการสำรวจชวน และช่วยให้คนเลิกสูบบุหรี่ สามารถช่วยให้คนเลิกสูบบุหรี่ได้ 4-81 คน รูปแบบที่ใช้ได้แก่ ใช้บุคคลต้นแบบ สมุนไพร นวดกดจุด สร้างแรงจูงใจ ให้ความรู้ รณรงค์ การขับเคลื่อนโดยชุมชน จุดเด่นของโครงการคือ การประสานความร่วมมือในหลายภาคส่วน ดำเนินการพร้อมกันทั่วประเทศ อุปสรรคที่พบคือ พื้นที่ดำเนินการรณรงค์มีการปลูกยาสูบมีร้านค้าขายบุหรี่จำนวนมาก อสม.เสียค่าใช้จ่ายของตนเองเกี่ยวกับการเดินทางและจัดซื้อสิ่งที่ช่วยในการเลิกบุหรี่ การชักชวนผู้สูบบุหรี่ที่ดื่มสุราร่วมด้วยทำได้ยาก สิ่งที่ควรปรับปรุงคือ อสม. ควรได้รับการพัฒนาศักยภาพเกี่ยวกับเทคนิคที่ช่วยให้คนเลิกบุหรี่โดยเฉพาะในกลุ่มคนที่ดื่มสุราร่วมด้วย ควรมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เกี่ยวกับเทคนิคต่างๆ ที่จะทำให้สามารถเลิกสูบบุหรี่ได้ รวมทั้งการจัดสรรทรัพยากรที่เพียงพอให้แก่ อสม.ในการทำงานด้านบุหรี่          The objective of this qualitative research was to study the experiences of village health volunteers in the Three Million Three Years Anti-smoking Project (Quit for King Project). Participants were 19 health volunteers who were selected by using purposive sampling. Samples were from provinces that had the number of people quitting smoking in Quit for King Website in the five high- and five low- ranking provinces. Data were collected by using focus group and in-depth interview and were analyzed using content analysis. The results showed that these volunteers had participated in the project since the first year. Their responsibility included surveying the smokers, recruiting them into the project and helping them to stop smoking. Depending on the respective volunteers 4 up to 81 people stopped smoking. The techniques to induce ceasing smoking included use of modeling, herbal application, foot massage, motivation, education, campaign and community involvement. The project successfully included multisector collaboration and nationwide implementation. Their obstacles during the project were proximity of tobacco planting areas, availability of smoking supplies and products, lack of adequate resources for the volunteers and difficulties in recruiting drinkers into the project. We learned that village health volunteers are quite capable to help people stopping smoking. However, to work more effectively, they have to improve their skills. All relevant organizations should adjust their resources to meet the needs for smoking cessation activities.

Downloads

Published

2022-11-01