การเปรียบเทียบองค์ประกอบและอัตราการเกิดขยะติดเชื้อของโรงพยาบาลขนาดกลางและโรงพยาบาลขนาดใหญ่ กรณีศึกษาจังหวัดนครพนม

Comparison of Composition and Generation Rate of Infectious Waste in Medium Size Hospital and Large Size Hospital: A Case Study on Nakhonphanom Province

Authors

  • ณัฐณิชา อินทร์ติยะ
  • สุนันทา เลาวัณย์ศิริ

Keywords:

การจัดการขยะติดเชื้อ, โรงพยาบาลขนาดกลาง, โรงพยาบาลขนาดใหญ่

Abstract

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาองค์ประกอบและอัตราการเกิดขยะติดเชื้อของโรงพยาบาลขนาดกลางและขนาดใหญ่ กรณีศึกษาจังหวัดนครพนม โดยแบ่งพื้นที่ศึกษาเป็น 2 แห่ง ได้แก่ โรงพยาบาลเรณูนครเป็นตัวแทนของโรงพยาบาลขนาดกลาง และโรงพยาบาลนครพนมเป็นตัวแทนของโรงพยาบาลขนาดใหญ่ โดยทำการเก็บตัวอย่างขยะติดเชื้อ 7 วันต่อเนื่องต่อ 1 เดือนเป็นเวลา 3 เดือน  ผลการศึกษาองค์ประกอบขยะติดเชื้อเฉลี่ย 3 เดือน ของทั้ง 2 โรงพยาบาล พบว่าองค์ประกอบขยะติดเชื้อประเภทไม่มีคมมากกว่าขยะติดเชื้อประเภทมีคม โดยโรงพยาบาลเรณูนครมีขยะติดเชื้อประเภทมีคมเฉลี่ยร้อยละ 1.71 และประเภทไม่มีคมเฉลี่ยร้อยละ 98.29 ในขณะที่โรงพยาบาลนครพนมมีขยะติดเชื้อประเภทมีคมเฉลี่ยร้อยละ 2.05 และประเภทไม่มีคมเฉลี่ยร้อยละ 97.95 เมื่อเปรียบเทียบองค์ประกอบขยะติดเชื้อของทั้ง 2 โรงพยาบาลเฉลี่ย 3 เดือน พบว่า มีองค์ประกอบขยะติดเชื้อประเภทมีคมและประเภทไม่มีคมไม่แตกต่างกัน อัตราการเกิดขยะติดเชื้อเฉลี่ย 3 เดือนของโรงพยาบาลเรณูนคร เท่ากับ 492.46 กรัม/เตียง/วัน ในขณะที่อัตราการเกิดขยะติดเชื้อเฉลี่ย 3 เดือน ของโรงพยาบาลนครพนม เท่ากับ 1,109.35 กรัม/เตียง/วัน  แนวทางการจัดการขยะติดเชื้อของโรงพยาบาลทั้ง 2 แห่ง คือ ควรแยกขยะติดเชื้อออกจากขยะชนิดอื่น ณ แหล่งกำเนิด สำหรับขยะติดเชื้อที่เป็นสารคัดหลั่ง ให้เททิ้งในอ่างที่ทำไว้สำหรับเทสารคัดหลั่งเพื่อให้ลงไปสู่ระบบบำบัดต่อไป และใช้หลัก 3 ในการจัดการขยะติดเชื้อ  The objective of this research was to study a comparison of composition and generation rate of infectious waste in medium size hospital and large size hospital. The area under study was Nakhon Phanom province which was divided into 2 locations, Renu Nakhon Hospital (first - level hospital) and Nakhon Phanom Hospital (standard - level hospital). The infectious waste samples were continuously collected for 7 days per month over a 3-month period.  The study results on the infectious waste composition of 2 hospitals (3-month period average) was mostly non-sharp weapon infectious waste than sharp weapon infectious waste. Renu Nakhon Hospital had an average of 1.71 % sharp and 98.29 % non-sharp infectious waste. Whereas Nakhon Phanom Hospital had an average of 2.05 % sharp and 97.95 % non-sharp infectious waste. The study results on the comparative results of infectious waste composition of 2 hospitals showed that Renu Nakhon Hospital had sharp weapon infectious waste and non-sharp weapon infectious waste not different from Nakhon Phanom Hospital (3-month period average). The incidence of infectious waste generation showed that Renu Nakhon Hospital generated 492.46 grams/bed/day (3-month period average). Meanwhile Nakhon Phanom Hospital generated 1,109.35 grams/bed/day (3-month period average).  Infectious waste management guidelines 2 hospitals were separating infectious waste from other wastes. For infectious waste that was secreted pour it in the sink made for the secretion to go into the treatment system and used 3R for infectious waste management.

References

ปิยภัทร สายนรา. การจัดการขยะมูลฝอยแบบมีส่วนร่วมของประชาชน : กรณีศึกษาชุมชนวัดพระธาตุหนองบัว 1 เทศบาลนครอุบลราชธานี จังหวัดอุบลราชธานี (ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต). สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี; 2552.

กรมควบคุมมลพิษ. คู่มือการกรอกข้อมูลการจัดการขยะมูลฝอย ปี พ.ศ.2562. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : http://www.pcd.go.th/Info_serv/File/17-12-61-004.pdf (วันที่ค้นข้อมูล 5 มีนาคม 2562)

สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. ปริมาณขยะมูลฝอยชุมชน 2562. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : http:/onep.go.th/env_data/2019/ปริมาณขยะมูลฝอยชุมชน/ (วันที่ค้นข้อมูล 5 มีนาคม 2562)

ศูนย์อนามัยที่ 2 พิษณุโลก. มูลฝอยติดเชื้อกับผลกระทบต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อม. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : http://hpc2.anamai.moph.go.th/envdata/files/1.pdf (วันที่ค้นข้อมูล 6 มีนาคม 2562)

กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. การแบ่งประเภทและระดับของโรงพยาบาลตามขนาดโรงพยาบาล 2552. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : https://phdb.moph.go.th (วันที่ค้นข้อมูล 9 มีนาคม 2562)

ปิยวรรณ จันทรเสนา. การจัดการมูลฝอยติดเชื้อของบุคลากรโรงพยาบาลอุดรธานี (วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต). สำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม; 2551.

โรงพยาบาลเรณูนคร. ข้อมูลโรงพยาบาลเรณูนคร 2555. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : http://www.renuhospital.go.th/modeles.php?name=Renuhospital&file=basic (วันที่ ค้นข้อมูล 8 มีนาคม 2562)

โรงพยาบาลนครพนม. ข้อมูลโรงพยาบาลนครพนม 2557. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : http://110.78.163.74/nkp/nkph/index.php/home (วันที่ค้นข้อมูล 8 มีนาคม 2562)

ธีรวัฒน์ คำโฉม. การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการมูลฝอยติดเชื้อของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ตำบล จังหวัดเพชรบูรณ์ (วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต). สำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม; 2556.

อนันต์ชัย เขื่อนธรรม. วิธีการทางสถิติและวิเคราะห์ข้อมูล. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์; 2549.

สุวัฒน์ อินทนาม. การจัดการมูลฝอยติดเชื้อของสถานีอนามัยขนาดใหญ่ ในเขตอำเภอเมือง จังหวัด หนองบัวลำภู. (วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต). สำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม; 2552.

ดามพวรรณ จงเลิศวณิชกุล. กำจัดขยะติดเชื้อของโรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ. วารสาร โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ, 2561; 3(1): 19-20.

สาโรจน์ ดวงสา. การจัดการมูลฝอยติดเชื้อของศูนย์สุขภาพชุมชนในเขตอำเภอเมือง จังหวัดหนองบัวลำภู (สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต). สำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2551.

อุ่นเรือน ศิรินาค. การจัดการมูลฝอยติดเชื้อในโรงพยาบาลเทพรัตน์นครราชสีมา. วารสารวิจัยและพัฒนา ด้านสุขภาพ สำนักงานสาธารณสุข จังหวัดนครราชสีมา, 2561 ; 4(2): 45-46.

Downloads

Published

2022-11-01