ผลของโปรแกรมการพัฒนาสมรรถนะแห่งตนร่วมกับการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมต่อการควบคุมพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากเด็กปฐมวัยของผู้ปกครองในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กตำบลหนองกุลา อำเภอบางระกำ จังหวัดพิษณุโลก
The Effect of Self-efficacy Development and Participatory Learning Program for Children Control of Oral Health Behaviors among Parents at Nongkula Child Development Center, Bangrakam District, Phitsanulok Province
Keywords:
ผู้ปกครอง, โรคฟันผุ, การควบคุมพฤติกรรม, การดูแลสุขภาพช่องปาก, เด็กปฐมวัยAbstract
การศึกษาครั้งนี้ เป็นการวิจัยแบบกึ่งทดลอง (Quasi - Experimental Research) เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการพัฒนาสมรรถนะแห่งตนร่วมกับการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมต่อการควบคุมพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากเด็กปฐมวัยของผู้ปกครองในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ตำบลหนองกุลา อำเภอบางระกำ จังหวัดพิษณุโลก กลุ่มตัวอย่างจำนวน 80 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มเปรียบเทียบ กลุ่มละ 40 คน โดยใช้วิธีเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบการสุ่มอย่างแบบเจาะจง (Purposive Sampling) ใช้ระยะเวลาในการดำเนินตามโปรแกรมทั้งหมด 12 สัปดาห์ โดยกลุ่มทดลองจะได้รับโปรแกรมการพัฒนาสมรรถนะแห่งตนร่วมกับการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมต่อการควบคุมพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากเด็กปฐมวัยเก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ คือ สถิติเชิงพรรณนา (Descriptive Statistics) ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอนุมาน (Inferential Statistics) ได้แก่ Independence t-test และ Paired t-testผลการวิจัย พบว่า ค่าเฉลี่ยผลต่างคะแนนการรับรู้สมรรถนะแห่งตนในการควบคุมการดูแลสุขภาพช่องปากเด็กปฐมวัยและค่าเฉลี่ยผลต่างคะแนนการควบคุมพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากเด็กปฐมวัยในกลุ่มทดลองที่ได้รับโปรแกรมการพัฒนาสมรรถนะแห่งตนร่วมกับการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมมีค่าเฉลี่ยคะแนนสูงกว่าก่อนได้รับโปรแกรม และสูงกว่ากลุ่มเปรียบเทียบ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ (p-value <0.05) This quasi – experimental research aimed to evaluate the effect of self-efficacy development and participatory learning for Children control oral health at Nongkula development center, Bangrakam District, Phitsanulok Province. The Purposive Sampling of 80 parents were divided into an experimental group and a control group, each group composed of 40 parents. The effect of self-efficacy development and participatory learning for Children control oral health had been implemented in the experimental group for 12 weeks. Data were collected by questionnaires. Statistic utilized for data analysis were analyzed by Descriptive Statistics using percentage, mean and Inferential Statistics using Independence t-test and Paired t-test. The results showed that the mean score of self efficacy and Children control oral health behavior in the experimental group was higher than before receiving the program and higher than that in the control group (p-value < 0.05)References
Watyota K. (2018). Effectiveness of an oral health promotion program on oral health behavior among 12 year-old students in Kosamphi Nakhon district, Kamphaeng province. Master of Public Health Thesis, Naresuan University. (in Thai)
เครือวัลย์ นิตย์คาหาญ (2555). ผลของโปรแกรมการส่งเสริมผู้ปกครองและผู้ดูแลเด็กในการดูแลสุขภาพ ช่องปากเด็กก่อนวัยเรียนในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านแก่นคูณ. วิทยานิพนธ์สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยขอนแก่น, ขอนแก่น.
จักรพันธ์ เพ็ชรภูมิ. (2560). พฤติกรรมสุขภาพแนวคิดทฤษฎี และการประยุกต์ใช้ (พิมพ์ครั้งที่ 1) พิษณุโลก: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยนเรศวร
นัทธมน เวียงคำ. (2555).ผลของการประยุกต์ใช้ทฤษฎีความสามารถตนเองรวมกับแรงสนับสนุนทางสังคมในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อป้องกันโรคฟันผุของนักเรียนประถมศึกษา ตำบลบัวน้อย อำเภอกันทรารมย์ จังหวัดศรีสะเกษ. วิทยานิพนธ์สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
พัชญ์สิตา พงศธรภูริวัฒน์ (2555). ผลของโปรแกรมทันตสุขศึกษาที่มีต่อ พฤติกรรมการป้องกันโรคฟันผุของผู้ปกครองเด็กก่อนวัยเรียนในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ตำบลบ้านยาง. วิทยานิพนธ์สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา, นครราชสีมา.
ไพบูลย์ กูลพิมาย. (2557). โปรแกรมส่งเสริมทันตสุขภาพโดยบุคคลต้นแบบต่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการป้องกันโรคฟันผุของนักเรียนชั้นประถมศึกษาตอนปลาย อำเภอพระทองคำ จังหวัดนครราชสีมา. วิทยานิพนธ์สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
สมโภชน์ เอี่ยมสุภาษิต. (2553). ทฤษฎีและเทคนิคการปรับพฤติกรรม (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
สำนักทันตสาธารณสุข กรมอนามัย. (2555) การสร้างเสริมสุขภาพช่องปาก ประตู…สู่สุขภาพที่ดีในทุกช่วงวัยของชีวิต (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพฯ: สำนักงาน กิจการโรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก
สำนักทันตสาธารณสุข กรมอนามัย. (2561). รายงานผลการสำรวจสภาวะสุขภาพช่องปากระดับประเทศครั้งที่ 8 ประเทศไทย พ.ศ. 2555 สำนักทันตสาธารณสุข กรมอนามัย (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพฯ: สำนักงานกิจการโรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก
สำนักทันตสาธารณสุข กรมอนามัย. (2559). หลักสูตรการอบรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านเชี่ยวชาญสาขาการส่งเสริมสุขภาพด้านทันตสุขภาพปีพุทธศักราช 2556 (เพิ่มเติม) (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพฯ: สำนักงานกิจการโรงพิมพ์ องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก