การพัฒนาหลักเกณฑ์ ในการพิจารณาระดับความยากลำบากในการดำเนินงานด้านสาธารณสุข ของพื้นที่จังหวัดตาก
Development of Criteria for Determining Levels of Difficulty in Health Service Provision in Tak Province
Keywords:
ระดับความยากลำบาก, การดำเนินงานด้านสาธารณสุข, จังหวัดตาก, Levels of difficulty, provision of health service, Tak provinceAbstract
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาหลักเกณฑ์การกำหนด และเกณฑ์การแบ่งระดับ ความยากลำบากในการดำเนินงานด้านสาธารณสุข และศึกษาระดับความยากลำบากในการดำเนินงาน ด้านสาธารณสุขของหน่วยบริการสาธารณสุขในพื้นที่จังหวัดตาก เพื่อใช้อ้างอิงประกอบการจ่าย ให้รางวัลพิเศษ ในการปฏิบัติงานของบุคลากรสาธารณสุข จังหวัดตาก โดยมีขั้นตอนการวิจัย 5 ขั้นตอน ได้แก่ 1) การทบทวนหลักเกณฑ์กำหนดพื้นที่กันดารของประเทศและต่างประเทศ โดยการศึกษาเชิงเอกสาร 2) การพัฒนาหลักเกณฑ์การกำหนดระดับความยากลำบากในการดำเนินงานด้านสาธารณสุข โดยการประชุมแบบมีส่วนร่วม 3) การพัฒนาเกณฑ์ระดับความยากลำบาก ในการดำเนินงานด้านสาธารณสุข 4) การตรวจสอบเกณฑ์ระดับความยากลำบากในการดำเนินงาน ด้านสาธารณสุขและ 5) การศึกษาระดับความยากลำบากในการดำเนินงานด้านสาธารณสุขของหน่วยบริการ ในพื้นที่จังหวัดตาก ผลการศึกษาพบว่า หลักเกณฑ์กำหนดระดับความยากลำบากในการดำเนินงาน ด้านสาธารณสุขของพื้นที่จังหวัดตากที่พัฒนาขึ้นประกอบด้วย ความยากลำบากในการเดินทาง ความขาดแคลนของกำลังคนด้านสุขภาพ จำนวนสถานบริการของรัฐและเอกชนในพื้นที่รับผิดชอบ จำนวนผู้สูงอายุ ความขาดแคลนระบบสาธารณูปโภค และภาระงาน ระดับความยากลำบาก ในการดำเนินงานด้านสาธารณสุข มี 5 ระดับ คือ น้อยที่สุด น้อย ปานกลาง มาก และมากที่สุด ความเห็นของผู้บริหารต่อเกณฑ์ระดับความยากลำบากในการดำเนินงานด้านสาธารณสุขในพื้นที่ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) โรงพยาบาล และสำนักงานสาธารณสุขอำเภอ (สสอ.) มีความสอดคล้องกับข้อมูลจากการสำรวจ ร้อยละ 99.1, 44.4 และ 77.8 ตามลำดับ ผลการสำรวจตามหลักเกณฑ์และระดับที่กำหนดในการดำเนินงานด้านสาธารณสุข สำหรับระดับความยากลำบากในการดำเนินงานด้านสาธารณสุขของพื้นที่ รพ.สต. 115 แห่ง อยู่ในระดับน้อยที่สุดร้อยละ 33.9 ระดับน้อยร้อยละ 25.2 ระดับปานกลางร้อยละ 24.3 ระดับมากร้อยละ 12.2 และระดับมากที่สุด ร้อยละ 4.4 ส่วนพื้นที่โรงพยาบาล 9 แห่ง อยู่ในระดับน้อยที่สุด น้อย ปานกลาง และมาก ระดับละ 2 แห่ง และระดับมากที่สุด 1 แห่ง สำหรับพื้นที่ สสอ. มีระดับน้อยที่สุด ปานกลาง มาก และมากที่สุด ระดับละ 2 แห่ง และระดับน้อย 1 แห่ง หลักเกณฑ์ในการกำหนดระดับความยากลำบากที่พัฒนาขึ้นนี้น่าจะใช้ประโยชน์ได้ ในการพิจารณาระดับความยากลำบากในการดำเนินงานสาธารณสุขในพื้นที่จังหวัดตากและควรได้รับการประเมิน และนำปัญหา/ข้อเสนอแนะ มาพัฒนาหลักเกณฑ์ดังกล่าวต่อไป This study aimed to develop criteria for classifying health service centers by level of difficulty in provision of health services in Tak province, fiscal year 2020 and would be used for career reward and promotion. The methods had 5 steps including 1) reviewing the existing national and international guidelines, 2) making participation indicators, 3) developing the criteria, 4) evaluation the criteria and 5) applying the guidelines for classifying the health service centers in Tak province. The criteria for guideline development were difficulty in travel, shortage of health personnel, number of public and private health care centers in the area, number of the elderly, limitation of public utilities, and workload. There were 5 levels of difficulty in health service provision, from the lowest to the highest. The agreement of executive administrators’ perspective with the survey results using these guidelines in Tak province showed 99.1% for health promoting hospitals, 44.4% for hospitals, and 77.8% for district health offices. Of the 115 health promoting hospitals, 33.9% were in the lowest level, 25.2% were low, 24.3% were medium, 12.2% were high, and 4.4% were in the highest level. Of the 9 hospitals, one was in the highest level and 2 for each of the remaining levels. Of the 9 district health offices, one was found in the lowest level and 2 for each of the remaining levels. These classification criteria using levels of difficulty in provision of health services may be useful in areas with a wide variety of difficulties and should be evaluated for further improvement.References
พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี (ฉบับที่2) พ.ศ. 2562. ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 136, ตอนที่ 56 ก (ลงวันที่ 30 เมษายน 2562).
ขวัญประชา ไชยสกุลไทย, ณิชากร ศิริกนกวิไล, พงษ์พิสุทธิ์ จงอุดมสุข, สมศักดิ์ ชุณหรัศมี, พินิจ ฟ้าอํานวยผล.ความกันดารของพื้นที่หลักเกณฑ์การพิจารณา. วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข 2554;5(3):355-62.
Townsend P, Phillimore P, Beattie A. Health and deprivation: inequality and the North. Bristol: Croom Helm, 1987.
Carstairs V, Morris R. Deprivation and health in Scotland. Aberdeen upon Tyne: Aberdeen University Press, 1991.
Jarman B. Identification of underprivileged areas. Br Med J (Clin Res Ed) 1983; 286 (6379): 1705–09.
Jarman B. Underprivileged areas: validation and distribution of scores. Br Med J (Clin Res Ed).1984; 289(6458): 1587–92.
Niggebrugge A, Haynes R, Jones A, Lovett A, Harvey I. The index of multiple deprivation 2000 access domain: a useful indicator for public health?. Soc Sci Med.2005; 60(12): 2743-53.
หลักเกณฑ์การพิจารณากำหนดสำนักงานในพื้นที่พิเศษ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2561. กระทรวงการคลัง ที่ กค 0408.5/0113. (ลงวันที่ 31 กรกฎาคม 2560).
กระทรวงสาธารณสุข ที่ สธ 0201.0742.4/ว 1061 ลงวันที่ 29 ธันวาคม 2559 เรื่องหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการจ่ายเงินค่าตอบแทน แนบท้ายข้อบังคับกระทรวงสาธารณสุขว่าด้วยการจ่ายเงินค่าตอบแทนเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานให้กับหน่วยบริการในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข พ.ศ.2544 (ฉบับที่ 11) พ.ศ.2559 และ (ฉบับที่ 12) พ.ศ.2559.
ทองพูน กล้าไพรี. คุณภาพชีวิตการทำงานของบุคลลากรสาธารณสุขในศูนย์สุขภาพชุมชนพื้นที่ทุรกันดาร จังหวัดชัยภูมิ (รายงานการศึกษาอิสระปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต). ภาควิชาบริหารงานสาธารณสุข, คณะสาธารณสุขศาสตร์: ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2551.
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดตาก. คู่มือรายละเอียดตัวชี้วัดและ Template ในการกำกับติดตามประเมินผลการดำเนินงานสาธารณสุขรอบที่ 1 ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2563. ตาก: สำนักงานสาธารณสุข จังหวัดตาก; 2563.
กระทรวงมหาดไทย. ข้อมูลการบริหารจัดการพื้นที่พักพิงชั่วคราวฯ ในภารกิจของกรมการปกครอง และข้อมูลทั่วไปของผู้หนีภัยการสู้รบในพื้นที่พื้นที่พักพิงชั่วคราวฯ 9 แห่งประจำเดือน มิถุนายน 2561. (ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก: https://multi.dopa.go.th/bdpad/news/cate7/view38. (วันที่ค้นข้อมูล 10 พฤษภาคม 2563).
ประสพชัย พสุนนท์.ความเที่ยงตรงของแบบสอบถามสำหรับงานวิจัยทางสังคมศาสตร์. วารสารสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ 2558 ; 18 :375-96.
บุญชม ศรีสะอาด. วิธีการทางสถิติสำหรับการวิจัย เล่ม 1. พิมพ์ครั้งที่ 5 กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น ; 2556.
นันทินารี คงยืน. ระบบบริการสุขภาพปฐมภูมิกับมาตรฐานการพัฒนา. วารสารกฎหมายสุขภาพและสาธารณสุข, 2560; 3(3): 374-87.