ปัจจัยทำนายพฤติกรรมการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกของประชาชนในอำเภอเกาะช้าง จังหวัดตราด
Factors Predicying Preventive and Control Behaviors on Dengue Hemorragic Fever among People in Koh Chang District, Trat Province
Keywords:
ปัจจัยทำนาย, การรับรู้โรคไข้เลือดออกตามแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพ, พฤติกรรมการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก, Predictive factor, Perceptions of Dengue Hemorrhagic fever according to the Health Belief Model, Preventive and control behaviors on Dengue Hemorrhagic feverAbstract
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับการรับรู้เกี่ยวกับโรคไข้เลือดออกตามทฤษฎีแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพ (Health belief model) ระดับพฤติกรรมการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก และปัจจัยทำนายพฤติกรรมการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกของประชาชน อำเภอเกาะช้าง จังหวัดตราด กลุ่มตัวอย่างเป็นตัวแทนครัวเรือน ซี่งคำนวณหาขนาดกลุ่มตัวอย่างด้วยสูตรของ Taro Yamane ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 341 คน เครื่องมือที่ใช้สำหรับเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถามประกอบด้วย แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป แบบสอบถามการรับรู้เกี่ยวกับโรคไข้เลือดออกตามทฤษฎีแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพของประชาชนในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกและแบบสอบถามพฤติกรรมการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก มีค่าความเที่ยง (Reliability) เท่ากับ 0.88 เท่ากัน เก็บรวบรวมข้อมูลระหว่างเดือนตุลาคมถึงเดือนธันวาคม พ.ศ. 2563 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน (Stepwise multiple regression analysis) ผลการศึกษาพบว่า ประชาชนกลุ่มตัวอย่าง มีค่าคะแนนเฉลี่ยของคะแนนการรับรู้โอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรค โดยรวมอยู่ในระดับสูง (ค่าเฉลี่ย = 3.28) ค่าคะแนนเฉลี่ยของคะแนนการรับรู้ความรุนแรงของโรค โดยรวมอยู่ในระดับสูง (ค่าเฉลี่ย = 3.24) ค่าคะแนนเฉลี่ยของคะแนนการรับรู้ประโยชน์ของการป้องกันและควบคุมโรค โดยรวมอยู่ในระดับสูง (ค่าเฉลี่ย = 3.25) และค่าคะแนนเฉลี่ยของคะแนนการรับรู้อุปสรรคของการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก โดยรวมอยู่ในระดับสูง (ค่าเฉลี่ย = 3.28) ในส่วนของค่าคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก อยู่ในระดับปานกลาง (ค่าเฉลี่ย = 2.72) ปัจจัยที่สามารถทำนายพฤติกรรมการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกของประชาชนในอำเภอเกาะช้าง จังหวัดตราด ได้แก่ การรับรู้เกี่ยวกับโรคไข้เลือดออกตามทฤษฎีแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพ ระดับการศึกษา การประกอบอาชีพ และระยะเวลาที่อาศัยในพื้นที่ ซึ่งสามารถร่วมกันทำนายพฤติกรรมการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกของประชาชนในอำเภอเกาะช้าง จังหวัดตราดได้ร้อยละ 20.7 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 The objectives of this study aimed to assess the level of perception on Dengue Hemorrhagic Fever (DHF) according to the Health Belief Model (HBM) and level of preventive and control behaviors on the DHF. Factors predicting the behaviors were also assessed. The subjects were 341 representative households of Koh Chang District, Trat Province. The instruments were questionnaires that comprised of general information; perceptions on DHF according to the HBM on DHF and preventive and control behaviors on DHF with the reliability of 0.88 equally, data were collected from October to December 2020. For statistical analysis: mean, percentage, standard deviation and stepwise multiple regression were employed. Results of the study revealed that the samples had mean scores on perceived susceptibility and perceived severity of the DHF, perceived benefit and perceived barriers to perform the DHF protection and control behaviors at the high level (average = 3.28, 3.24, 3.25 and 3.28 respectively). While the DHF preventive and control behaviors, the subjects had mean scores only at the moderate level (average = 2.72). Factors predicting the preventive and control behaviors on DHF among the subjects of Koh Chang District, Trat Province were of perceptions of DHF according to the Health Belief Model, educational level, career and time living about 20.7% at the .05 level of statistically different.References
ศิริเพ็ญ กัลป์ยาณรุจ, มุกดา หวังวีรวงศ์, วารุณี วัชระสวี. การวินิจฉัยและรักษาโรคไข้เลือดออกเดงกี ฉบับเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษามหาราชินี. พิมพ์ครั้งที่ 2. นนทบุรี: สำนักโรคติดต่อนำโดยแมลง กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข; 2556.
สำนักระบาดวิทยา กระทรวงสาธารณสุข. สถิติผู้ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกในประเทศไทย. [อินเทอร์เน็ต]. [สืบค้นเมื่อ 15 มกราคม 2563]. แหล่งข้อมูล: https://ddc.moph.go.th/th/site/ newsview/view/696
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดตราด. สถานการณ์โรคไข้เลือดออก. [อินเทอร์เน็ต]. [สืบค้น เมื่อ 15 มกราคม 2563]. แหล่งข้อมูล: http://www.trathealth.com/index.php?name= newsdhf&file=readnews&id=154
อาภาพร เผ่าวัฒนา, สุรินธร กลัมพากร, สุนีย์ ละกำปั่น, ทัศนีย์ รวิวรกุล. การสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคในชุมชน: การประยุกต์แนวคิดและทฤษฎีสู่การปฏิบัติ Health promotion and disease prevention in and theories to practice. กรุงเทพฯ: ภาควิชาการพยาบาลสาธารณสุข มหาวิทยาลัยมหิดล; 2561. community: an application of concepts
บุญธรรม กิจปรีดาบริสุทธิ์. ระเบียบวิธีการวิจัยทางสังคมศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 10. กรุงเทพฯ: จามจุรีโปรดักส์; 2551.
เอมอัชฌา วัฒนบุรานนท์. หลักการทางสุขศึกษา. กรุงเทพฯ: โอ.เอส. พริ้นติ้ง เฮ้าส์; 2556.
สมชาย โลกคำลือ. การรับรู้และพฤติกรรมการป้องกันโรคไข้เลือดออกของประชาชนในเขตเทศบาลตำบลวังชิ้น อำเภอวังชิ้น จังหวัดแพร่ (ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเชียงใหม่; 2549.
สมยศ อุตตะบุญ. ปัจจัยส่วนบุคคล ครัวเรือนและความเชื่อด้านสุขภาพที่สัมพันธ์กับการกำจัดลูกน้ำยุงลายในการป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออกของประชาชน จังหวัดขอนแก่น (ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยบูรพา; 2555.
สมชาย อยู่ดี. การรับรู้และพฤติกรรมป้องกันโรคไข้เลือดออกของประชาชนในตำบลเชียงแรง อำเภอภูซาง จังหวัดพะเยา (ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยพะเยา; 2555.
นฤพล ปัญญา. การดำเนินงานป้องกันควบคุมการระบาดของโรคไข้เลือดออกโดยอาสาสมัครสาธารณสุขและวิธีปฏิบัติตนเพื่อป้องกันโรคไข้เลือดออกของประชาชน ตำบลบงตัน อำเภอดอยเต่า จังหวัดเชียงใหม่ (ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเชียงใหม่; 2557.
ปัญญพัฒน์ ไชยเมล์, เสาวนีย์ สังข์แก้ว. ปัจจัยที่มีผลต่อการมีส่วนร่วมในการควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออกของประชาชน ตำบลแหลมโตนด อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง. มหาวิทยาลัยทักษิณ; 2557.
อำไพ ลาน้อย. การรับรู้และบทบาทของสมาชิกองค์การบริหารส่วนตำบลในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ (ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเชียงใหม่; 2548.
สมตระกูล ราศิริ. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการมีส่วนร่วมในการควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออกของอาสา สมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน อำเภอวังทอง จังหวัดพิษณุโลก. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช; 2556.
วัชระ เสงี่ยมศักดิ์. พฤติกรรมการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกของประชาชน ตำบลโคกย่าง อำเภอประโคนชัย จังหวัดสุรินทร์ (ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์; 2556.