การศึกษาศักยภาพผู้ดูแลผู้สูงอายุ หลังผ่านอบรมหลักสูตร ผู้ดูแลผู้สูงอายุ 420 ชั่วโมง ของศูนย์ส่งเสริมฟื้นฟูสุขภาพผู้สูงอายุ สภากาชาดไทย

A Study of Elderly Caregiver’s Potential after 420 Hours of Caregiver Training for Elderly Health Care Center of the Thai Red Cross Society

Authors

  • อภิวรรณ กำจร

Keywords:

ศักยภาพ, ผู้ดูแลผู้สูงอายุ, หลักสูตรอบรมผู้ดูแลผู้สูงอายุ, Potential, Elderly caregiver, Elderly caregiver training course

Abstract

การวิจัยนี้เป็นวิจัยเชิงพรรณนา (Descriptive research) ครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาศักยภาพผู้ดูแลผู้สูงอายุ หลังผ่านอบรมหลักสูตรผู้ดูแลผู้สูงอายุ 420 ชั่วโมง ของศูนย์ส่งเสริมฟื้นฟูสุขภาพผู้สูงอายุ สภากาชาดไทย กลุ่มตัวอย่างคือผู้ที่ผ่านการอบรมหลักสูตรผู้ดูแลผู้สูงอายุ 420 ชั่วโมง ของศูนย์ส่งเสริมฟื้นฟูสุขภาพผู้สูงอายุ สภากาชาดไทย ระหว่างวันที่ 1 พฤษภาคม 2560 - 31 มกราคม 2563 จำนวน 85 คน มีผู้เต็มใจเข้าร่วมการวิจัยครั้งนี้ จำนวน 50 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบทดสอบความรู้และแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยการแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน  ผลการวิจัยพบว่า ผู้ผ่านการอบรมส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 90 อายุ 40-49 ปี ร้อยละ 38 สถานภาพโสด ร้อยละ 48 การศึกษาระดับปริญญาตรี ร้อยละ 42 รายได้ 10,001-15,000 บาท ร้อยละ 42 มีประสบการณ์ในการดูแลผู้สูงอายุมากกว่า 1 ปี ร้อยละ 50 ดูแลผู้สูงอายุในครอบครัว ร้อยละ 46 มีความรู้เรื่องการดูแลผู้สูงอายุอยู่ในระดับสูง ร้อยละ 54 มีศักยภาพโดยรวมอยู่ในระดับสูง (ค่าเฉลี่ย = 4.39, S.D. = 0.39) โดยมีศักยภาพด้านทักษะการปฏิบัติในการดูแลผู้สูงอายุมากที่สุดอยู่ในระดับสูง (ค่าเฉลี่ย = 4.47, S.D. = 0.52) รองลงมาคือด้านลักษณะที่ดีในการดูแลผู้สูงอายุ อยู่ในระดับสูง (ค่าเฉลี่ย = 4.45, S.D. = 0.44) ด้านแรงจูงใจในการดูแลผู้สูงอายุ อยู่ในระดับสูง (ค่าเฉลี่ย = 4.40, S.D. = 0.45) และด้านอัตมโนทัศน์ในการดูแลผู้สูงอายุอยู่ในระดับสูง (ค่าเฉลี่ย = 4.24, S.D.= 0.48) ตามลำดับ  This descriptive research was aimed to study the potential of elderly caregivers. After passing the 420 hours caregiver training course for Elderly Health Care Center the Thai Red Cross Society, the sample group was those who completed the 420-hours caregiver training course for the Elderly Health Care Center the Thai Red Cross Society during May 1, 2017 to January 31,2020 total consisted of 85 people, 50 were willing to participate in this research. Data was collected using knowledge quizzes and questionnaires. The data were analysed by distributing frequency, percentage, mean and standard deviation. were distributed. The results of the research showed that most of them the trainees were women, 90% were age 40-49 years old, 38%, single status 48%, bachelor’s degree education 42%, income 10,001-15,000 baht, 42% had more than 1 year of experience in caring for the elderly, 50% caring for the elderly in the family, 46% have knowledge of elderly care at a high level, 54% have a high overall potential (average = 4.39, SD = 0.39) with the highest potential for practical skills in caring for the elderly was at a high level (average = 4.47, S.D. = 0.52), The good quality in caring for the elderly was high level (average = 4.45, S.D. = 0.44). The motivation in managing elderly care was at a high level (average = 4.40, S.D. = 0.45) and the self-concept of elderly care was at a high level (average = 4.24, S.D. = 0.48), respectively.

References

MICE Intelligence Center. ประชากรสูงวัยและแนวโน้มในอนาคต.[อินเตอร์เน็ต]. แหล่งข้อมูล :https://intelligence.businesseventsthailand.com/th/insight/agingtrends-01-th. (วันที่ค้นข้อมูล: 9 ตุลาคม 2563)

ศิริวรรณ อรุณทิพย์ไพฑูรย์. สังคมสูงวัย...ความท้าทายประเทศไทย. [อินเตอร์เน็ต]. แหล่งข้อมูล www.dop.go.th/th/know/3/276. (วันที่ค้นข้อมูล: 9 ตุลาคม 2563)

สันติ แซ่ลี้. สาระน่ารู้สุขภาพจิต : ครอบครัวไทยใส่ใจผู้สูงอายุ. [อินเตอร์เน็ต]. แหล่งข้อมูล www.prdmh.com /สาระสุขภาพจิต/สาระน่ารู้สุขภาพจิต/413-ครอบครัวไทย-ใส่ใจผู้สูงอายุ.html. (วันที่ค้นข้อมูล : 5 กุมภาพันธ์ 2563)

ธฤษณุ แสงจันทร์. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความรู้ของผู้ดูแลผู้สูงอายุไทย. วิทยานิพนธ์ศิลปะ ศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิชาประชากรศาสตร์. วิทยาลัยประชากรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2556.

ปภาสินี แซ่ติ๋ว, ชไมพร จินต์คณาพันธ์, ศราวุธ เรืองสวัสดิ์, ธนิดา ทีปะปาล. การศึกษาศักยภาพของผู้ดูแลผู้สูงอายุ หลังจากอบรมหลักสูตรผู้ดูแลผู้สูงอายุ 70 ชั่วโมง ของวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุราษฎร์ธานี. วารสารพยาบาลทหารบก, 2562; 20 (1):300-309.

ศศิธร สุขจิตต์, จงรัก ดวงทอง, พงษ์ศักดิ์ อ้นมอย, วรวุฒิ ธุวะคำ. ศักยภาพของผู้ดูแลผู้สูงอายุ ตำบลป่าเซ่า อำเภอเมือง จังหวัดอุตรดิตถ์. วารสารวิชาการสาธารณสุข, 2562; 28 (ฉบับเพิ่มเติม2): S23-S30.

อภิชาติ รอดสม, จุรีรัตน์ กิจสมพร, จุฬารัตน์ ห้าวหาญ. การศึกษาคุณลักษณะของผู้ดูแลตามความต้องการของผู้สูงอายุ. วารสารพยาบาลและการศึกษา, 2558; 8 (2):122-131

NovaBizz. ความหมายของแรงจูงใจและการจูงใจ. [อินเตอร์เน็ต]. แหล่งข้อมูล: https://www.novabizz.com/NovaAce/Motives.htm (วันที่ค้นข้อมูล:12 พฤศจิกายน2564).

อารีรัตน์ พะวินรัมย์. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับอัตมโนทัศน์ของนักศึกษาพยาบาล. วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวช. คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา: 2556.

NSRU BLOG. การฝึกอบรม. [อินเตอร์เน็ต]. แหล่งข้อมูล: https://blog.nsru.ac.th/60111806020/7038. (วันที่ค้นข้อมูล: 14 พฤศจิกายน 2564)

Downloads

Published

2022-09-26