เปรียบเทียบสุขลักษณะของร้านอาหารที่มีผู้สัมผัสอาหารผ่านการอบรมหลักสูตรการสุขาภิบาลอาหารของกรุงเทพมหานครด้วยวิธีการอบรมในห้องอบรม (Class room) และวิธีการเรียนรู้ด้วยตนเอง (Self-study) ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร
Comparison of Restaurants’ Hygiene Practice between Restaurants with Classroom-study and Self-study on Food Handlers’ Training Curriculum Courses in Bangkok Area
Keywords:
หลักสูตรการสุขาภิบาลอาหาร, การอบรมในห้องอบรม, การเรียนรู้ด้วยตนเอง , สุขลักษณะอาหาร, กรุงเทพมหานคร, Food Sanitation Curriculum, Class room-study, Self-study, Food Hygiene, BangkokAbstract
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบสุขลักษณะของร้านอาหารที่มีผู้สัมผัสอาหารผ่านการอบรมหลักสูตรการสุขาภิบาลอาหารของกรุงเทพมหานครด้วยวิธีการอบรมในห้องอบรม (Class room) และวิธีการเรียนรู้ด้วยตนเอง (Self-study) ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร โดยใช้รูปแบบการวิจัยเชิงสำรวจ กลุ่มตัวอย่างแบ่งเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มที่ 1 ร้านอาหารที่มีผู้สัมผัสอาหารผ่านการอบรมหลักสูตรการสุขาภิบาลอาหารของกรุงเทพมหานครด้วยวิธีการอบรมในห้องอบรม (จำนวน 27 แห่ง) และกลุ่มที่ 2 ร้านอาหารที่มีผู้สัมผัสอาหารผ่านการอบรมหลักสูตรการสุขาภิบาลอาหารของกรุงเทพมหานครด้วยวิธีการเรียนรู้ด้วยตนเอง (จำนวน 32 แห่ง) โดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง ทำการเก็บข้อมูลโดยใช้แบบสำรวจสุขลักษณะสถานที่จำหน่ายอาหารของกองสุขาภิบาลอาหาร สำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร ผลการศึกษาพบว่ามีร้านอาหาร จำนวน 1 แห่งที่ผ่านเกณฑ์มาตรฐานของกรุงเทพมหานคร และเมื่อเปรียบเทียบสุขลักษณะของร้านอาหารทั้งสองกลุ่ม พบว่า ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value > 0.05) โดยข้อกำหนดสุขลักษณะที่ร้านอาหารทั้งสองกลุ่มปฏิบัติไม่ถูกต้องมากที่สุด คือ การมีหลักฐานผ่านการอบรมสุขาภิบาลอาหาร การจัดให้มีความเข้มของแสงสว่างที่เพียงพอ และการจัดเก็บอาหารสดในอุณหภูมิที่เหมาะสม This study aimed to compare restaurants’ hygiene practices between restaurants having food handlers who had passed training curriculum on food sanitation with Class room-study and on Self-study in Bangkok area by using a survey research study. Samples were divided into two groups; group 1 is restaurants with food handlers who had passed training curriculum on food sanitation with Class room-study and group 2 is restaurants with food handlers passing the training curriculum on food sanitation with self-study. Purposive random sampling method was used in the study. Data were collected using a checklist for hygiene in restaurant by the Food Sanitation Division, Health Department, Bangkok Metropolitan Administration. Results showed that there is only one restaurant passing the standard of the Bangkok Metropolitan Administration. The finding reveals that hygienic practice of restaurants between two groups was of no significant statistical difference. The most missing hygienic requirements were having evidence of passing food sanitation curriculum, providing adequate lighting intensity, and storing fresh food in proper temperature.References
จินดาวัลย์ วิบูลย์อุทัย, ธิดารัตน์ สมดี, สุรินี กู่ชัยภูมิ, พจีมญธุ์ ปทุมวัน และพลอยไพลิน พรรุ่ง. การพัฒนาอาหารปลอดภัยโดยกระบวนการอบรมสุขาภิบาลอาหารในผู้จำหน่ายนมรถเข็นจังหวัดมหาสารคาม. เอกสารประกอบการประชุมวิชาการระดับชาติ “นเรศวรวิจัย” ครั้งที่ 12 เรื่อง : วิจัยและนวัตกรรมกับการพัฒนาประเทศ: 21-22 กรกฎาคม 2559; ณ มหาวิทยาลัยนเรศวร. พิษณุโลก : กองบริหารการวิจัย; 2559. หน้า 614-26.
ปัญจ์ปพัชรภร บุญพร้อม, อินจิรา นิยมธูร, สิทธิพันธุ์ ไชยนันทน์ และบุญส่ง ไข่เกษ. การประเมินมาตรฐานสถานที่จำหน่ายอาหารกรณีศึกษาโรงอาหารวิทยาลัยเทคโนโลยีสุขภาพและบริการ กรุงเทพฯ. วารสารวิจัยรำไพพรรณี, 2560; 11(2), 177-87.
อาภาพร รุจิระเศรษฐ, พรสุดา ผานุการณ์, สายใจ อุ่นจิตร และพีระยา สมชัยยานนท์. ผลสัมฤทธิ์ทางการอบรมหลักสูตรการสุขาภิบาลอาหารของกรุงเทพมหานคร ด้วยวิธีการเรียนรู้ด้วยตนเอง (Self-study) และวิธีการอบรมในห้องอบรม (Class room) ของผู้สัมผัสอาหารในสถานที่จำหน่ายอาหาร พื้นที่กรุงเทพมหานคร. วารสารวิจัยและพัฒนาวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์, 2562; 14(3), 204-11.
กฎกระทรวงสุขลักษณะของสถานที่จำหน่ายอาหาร พ.ศ. 2561 ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 135 ม ตอนที่ 42ก. (ลงวันที่ 20 มิถุนายน 2561)
วิชัย ชูจิต. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการปฏิบัติตามมาตรฐานด้านสุขาภิบาลอาหารของผู้สัมผัสอาหารในร้านอาหารจังหวัดพังงา (ครุศาสตรมหาบัณฑิต). สาขาการส่งเสริมสุขภาพ, บัณฑิตศึกษา : ภูเก็ต : มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต; 2551