ประสิทธิผลโปรแกรมแรงจูงใจเพื่อป้องกันโรคต่อการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชของเกษตรกร อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี

The Effectiveness of Protection Motivation Program on Pesticide usage behavior among Farmers at Warinchumrab District, Ubon Ratchathani Province

Authors

  • ประครอง คำบุ
  • ธารินี คำสงค์
  • อารี จึงเจริญนรสุข
  • จินดา คำแก้ว

Keywords:

ประสิทธิผล, โปรแกรมแรงจูงใจเพื่อป้องกันโรค, การใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช, เกษตรกร, Effectiveness, Protection Motivation Program, Pesticide Usage Behavior, Farmers

Abstract

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi – Experimental) Two Groups Pretest - Posttest Design เพื่อศึกษาประสิทธิผลของโปรแกรมแรงจูงใจเพื่อป้องกันโรคต่อการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชของเกษตรกร กลุ่มตัวอย่างเป็นเกษตรกรผู้ปลูกผัก 65 คน ใช้ Simple Random Sampling  ในการแบ่งกลุ่มตัวอย่าง ได้กลุ่มทดลอง 34 คน และกลุ่มเปรียบเทียบ 31 คน เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบทดสอบและแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วย SPSS Version 23 สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย, ร้อยละ, ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยภายในกลุ่มด้วย Wilcoxon Matched pairs Signed Ranks Test และใช้ Mann-Whitney U Test เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยระหว่างกลุ่ม ผลการศึกษาพบว่า ความรู้เกี่ยวกับสารเคมีกำจัดศัตรูพืชทางการเกษตรหลังการทดลองของกลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยสูงกว่าก่อนการทดลอง และสูงกว่ากลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05)  การประเมินอันตรายต่อสุขภาพหลังการทดลองของกลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยสูงกว่าก่อนการทดลอง และสูงกว่ากลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05)  พฤติกรรมการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชทางการเกษตรหลังการทดลองของกลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) และสูงกว่ากลุ่มเปรียบเทียบ แต่ไม่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p>0.05)  The Quasi-Experimental Two Groups Pretest - Posttest design was to study the effectiveness of Protection Motivation Program on pesticide usage behavior among Farmers. The samples were 65 persons. Selected and Matching who met the criteria. The data were collected by questionnaire. Data were analyzed by SPSS Version 23 using descriptive statistics, Wilcoxon Matched pairs Signed Ranks Test and Mann-Whitney U Test. The study indicated that Knowledge of agricultural pesticides, The Threat Appraisal and The Coping appraisal after experiment was higher than before experiment and higher than the control group. (P <0.05). The Pesticide usage behavior of the experimental group was higher than before experiment (p <0.05).) And higher than the comparison group were not significant (p> 0.05).

References

แสงโฉม ศิริพานิช. สถานการณ์และผลต่อสุขภาพจากการสารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืช ปี พ.ศ. 2556 รายงานการเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาประจำสัปดาห์, 2556; 44: 689-92.

กรมวิชาการเกษตร สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. ปริมาณและมูลค่าการนำเข้าสารกำจัดศัตรูพืช; 2559. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก http://www.oae.go.th/ewt_news.php?nid=146 (วันที่สืบค้น : 17 กุมภาพันธ์ 2560)

สำนักโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อมกรมควบคุมโรค. รายงานสถานการณ์โรคและภัย สุขภาพจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม; 2557. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก http://envocc.ddc.moph.go.th/contents/ view/351. (วันที่สืบค้น : 14 มกราคม 2560)

เครือข่ายเตือนภัยสารเคมีกำจัดศัตรูพืช (Thai-PAN). ผลการตรวจสอบสารพิษตกค้างรอบที่ 2; 2559. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก https://thaipublica.org/2016/10/thai-pan-6-10-2559. (วันที่สืบค้น : 17 กุมภาพันธ์ 2560)

นัฐวุฒิ ไผ่ผาด, สมจิตต์ สุพรรณทัสน์ และธีรพัฒน์ สุทธิประภา. ผลจากการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชของเกษตรกรผู้ปลูกข้าวต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อม อำเภอร่องคำ จังหวัดกาฬสินธุ์. แก่นเกษตร, 2557; 42(3): 301-10.

สุธาสินี อึ้งสูงเนิน. ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมจากการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย ฉบับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 2558; 9(1), 50-63.

สำนักงานเกษตรจังหวัดอุบลราชธานี. การวิเคราะห์ข้อมูลเรื่องข้าว (Rice Analysis) เพื่อการทบทวนประเด็นยุทธศาสตร์; 2555. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก http://osthailand.nic.go.th/files/ policy_sector. (วันที่สืบค้น :17 กุมภาพันธ์ 2560)

สำนักงานควบคุมป้องกันโรคที่ 10. สรุปผลการสำรวจสารเคมีกำจัดศัตรูพืชที่ใช้ในการเกษตรในร้านค้าชุมชน จังหวัดอุบลราชธานี (กระดาษอัดสำเนา); 2559.

สำนักงานเกษตรอำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี. ข้อมูลการใช้ประโยชน์ที่ดินและข้อมูลการผลิตพืช; 2556. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก http://warinchamrap.ubon-ratchathani.doae.go.th/book/teedin.pdf. (วันที่สืบค้น : 17 กุมภาพันธ์ 2560)

จิราภรณ์ หลาบคำ, ชลธิชา ผ่องจิตต์ และทิพาวรรณ เพทราเวช. พฤติกรรมการจัดการซากบรรจุภัณฑ์ เคมีทางการเกษตรของเกษตรกรบ้านเกษตรพัฒนาเหนือ และบ้านเกษตรสามัคคี ตำบลคำขวาง จังหวัดอุบลราชธานี. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี, 2559; 16(2) 11-21.

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลคำขวาง. ผลการตรวจเลือดผู้เข้าร่วมโครงการเกษตรกรปลอดภัย ห่างไกลจากสารเคมี ตำบลคำขวาง อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี (กระดาษอัดสำเนา);. 2559.

จุฬาพร คำรัตน์ และสัมมนา มูลสาร. การประยุกต์ใช้แบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการป้องกันอันตรายจากการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชของเกษตรกรที่ปลูกผัก. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี, 2552; 11(1) 111-30.

อุดร ชมาฤกษ์. พฤติกรรมการใช้สารเคมีป้องกันและกำจัดศัตรูพริก: กรณีศึกษาเกษตรกรอำเภอเขมราฐ จังหวัดอุบลราชธานี (ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต). สาขาวิชาสังคมศาสตร์เพื่อการพัฒนา : อุบลราชธานี : มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี; 2551.

สายธาร ไชยสัจ. ความรู้ ทัศนคติและพฤติกรรมการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชของเกษตรกรในเขตตำบลหนองไข่นก อำเภอม่วงสามสิบ จังหวัดอุบลราชธานี (รายงานผลการวิจัย). มหาสารคาม. มหาวิทยาลัยสารคาม; 2557.

Rogers, R.W. Protection Motivation Theory of Fear appeals and attitude change. Journal of Psychology 1986; 93-94.

อรุณ จิรวัฒน์กุล. สถิติทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : วิทยพัฒน์; 2553.

Polit D.F. and Hungler BP. Nursing Research: Principles and Methods. 6th ed). Philadelphia : J.B. Lippincott ; 1999.

ณัฐวุฒิ กกกระโทก และพุฒิพงศ์ สัตยวงศ์ทิพย์. ผลของโปรแกรมสื่อสารความเสี่ยงด้านสุขภาพต่อแรงจูงใจเพื่อป้องกันอันตรายจากการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชของเกษตรกรผู้ปลูกข้าว อำเภอหนองหงส์ จังหวัดบุรีรัมย์. วารสารชุมชนวิจัย, 2562; 13(1): 239-50.

จิตติมา ทับชม. ผลของโปรแกรมการประยุกต์ทฤษฎีแรงจูงใจเพื่อป้องกันโรคต่อพฤติกรรมการป้องกันอันตรายจากการใช้สารเคมีกำจัดวัชพืช ของเกษตรกรไร่อ้อย (วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต). สาขาวิชาเอกการพยาบาลสาธารณสุขสังคมศาสตร์, คณะสาธารณสุขศาสตร์) : กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยมหิดล; 2557.

เบญจมาศ ทองมาก. ประสิทธิผลของโปรแกรมแรงจูงใจร่วมกับแรงสนับสนุนทางสังคมต่อการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชของเกษตรกร อำเภอบ้านด่าน จังหวัดบุรีรัมย์. วารสารวิทยาลัยนครราชสีมา, 2555; 6(2): 21-7.

เด็ดเดี่ยว วรรณชาลี. ผลของโปรแกรมแรงจูงใจเพื่อป้องกันโรคร่วมกับแรงสนับสนุนทางสังคมต่อการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชของเกษตรกร อำเภอสตึก จังหวัดบุรีรัมย์ (สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต) สาขาวิชาการจัดการระบบสุขภาพมหาวิทยาลัยมหาสารคาม; 2553.

อภัสริน มะโน, วันเพ็ญ แก้วปาน, อาภาพร เผ่าวัฒนา และปาหนัน พิชยภิญโญ. ประสิทธิผลของโปรแกรมการประยุกต์ทฤษฎีแรงจูงใจในการป้องกันโรคร่วมกับ แรงสนับสนุนทางสังคมในการป้องกันความดันโลหิตสูงในชายวัยกลางคน เขตกรุงเทพมหานคร. วารสารวิทยาลัยการพยาบาลบรมราชชนนีกรุงเทพ, 2555; 28(1): n.p.

นัฐวุฒิ ไผ่ผาด. กระบวนการมีส่วนร่วมในการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของเกษตรกรที่ใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชเพื่อลดผลกระทบต่อสุขภาพ อำเภอร่องคำ จังหวัดกาฬสินธุ์. วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ, 2557; 7(1): 282-300.

Downloads

Published

2022-11-01