ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อภาวะหมดไฟในการทำงานของผู้ปฏิบัติงาน ในโรงพยาบาลชุมชนในสถานการณ์การแพร่ระบาดของ Covid-19

Factors Related to Burnout of Worker in Community Hospital on Pandemic COVID-19

Authors

  • ทิพรัตน์ บำรุงพนิชถาวร
  • วัลลภ ใจดี
  • เอมอัชฌา วัฒนบุรานนท์
  • นิภา มหารัชพงศ์

Keywords:

ภาวะหมดไฟในการทำงาน, แบบประเมินภาวะหมดไฟในการทำงาน, BURNOUT, BURNOUT SELF-TEST

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการเกิดภาวะหมดไฟในการทำงานของผู้ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลชุมชนในจังหวัดหนึ่งขนาด 30 เตียง  จำนวน 298 คน ดำเนินการเก็บข้อมูลในช่วงเดือนธันวาคม 2563-มกราคม 2564 โดยใช้แบบประเมินภาวะหมดไฟในการทำงาน (Maslach Burnout Inventory: MBI) ฉบับภาษาไทย มีความเชื่อมั่นด้านความอ่อนล้าเท่ากับ 0.915 ด้านความเย็นชาเท่ากับ 0.793 และด้านความมีประสิทธิภาพในการทำงานเท่ากับ 0.926 วิเคราะห์ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะหมดไฟในการทำงานด้วยสถิติ Multiple Linear Regression ตัวอย่างจำนวน 241 (81.9%) คนที่ตอบข้อมูลครบถ้วน ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงร้อยละ 78 อายุเฉลี่ยของกลุ่มตัวอย่าง 38.4 (10.6) ปี กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีภาวะหมดไฟในการทำงานด้านความอ่อนล้าในระดับต่ำร้อยละ 65.1 มีภาวะหมดไฟในการทำงานด้านความเย็นชาในระดับต่ำร้อยละ 42.5 มีภาวะหมดไฟในการทำงานด้านความมีประสิทธิภาพในการทำงานระดับสูง คิดเป็นร้อยละ 47.7 ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะหมดไฟในการทำงานด้านความอ่อนล้า คือ ภาระงานที่มากเกิน (Badj -1.907;95%CI -3.050 ,-0.765)  ความขัดแย้งระหว่างคนกับงาน (Badj -5.355;95%CI -7.316 ถึง -3.394)  และสถานภาพสมรส/หม้าย/หย่า/แยก (Badj -1.823;95%CI -3.122 ถึง -0.524) ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะหมดไฟในการทำงานด้านความเย็นชา คือ ภาระงานที่มากเกิน (Badj -2.148;95%CI -3.380,-0.917) ความขัดแย้งระหว่างคนกับงาน (Badj -4.345;95%CI-6.459,-2.232) และสถานภาพสมรส/หม้าย/หย่า/แยก (Badj -2.710;95%CI-4.110,-1.310) ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะหมดไฟในการทำงานด้านความมีประสิทธิภาพในการทำงาน คือ การได้รับผลตอบแทนที่ไม่สมดุลกับงาน (Badj 2.134;95%CI 0.112,4.157)  The objective of this study was to find out factor The sample consisted of 298 worker who work in community hospital of one province size 30 beds. The date was collected between December 2021 and January 2021. Used Maslach Burnout Inventory(BMI) in Thai version. Exhaustion had valuable of Reliability 0.915 Cynicism had valuable of Reliability 0.793 and Professional Efficacy had valuable of Reliability 0.926. Analyzed relation between factors and burnout with Multiple Linear Regression statistics. The sample 241(81.9%) workers in community hospital representatives completed. Most of them were female, with 78%. The mean age of the sample 38.4 years (S.D.=10.6). Majority of the sample representatives had low level of exhaustion (65.1%. Majority of the sample representatives had low level of cynicism (42.5%) and Majority of the sample representatives had high level of professional efficacy (47.7%). Factors had relationship with exhaustion of burnout is workload (Badj -1.907;95%CI -3.050,-0.765) conflict between human and work (Badj -5.355;95%CI -7.316 ถึง -3.394) and married/widow/divorce/separate status (Badj -1.823;95%CI -3.122 ถึง -0.524) Factors had relationship with cynicism of burnout is workload (Badj -2.148;95%CI -3.380,-0.917) conflict between human and work (Badj -4.345;95%CI-6.459,-2.232) and married/widow/divorce/separate status (Badj -2.710;95%CI-4.110,-1.310). Factors had relationship with professional efficacy of burnout is receiving payoff not balance with work (Badj 2.134;95%CI 0.112,4.157).

References

กระทรวงสาธารณสุข. (2560). วิสัยทัศน์และพันธกิจ. เข้าถึงได้จาก https://www.moph.go.th/assets/images /vision.jpg

ชัยยุทธ กลีบบัว. (2552). การพัฒนาโมเดลเชิงสาเหตุของความเหนื่อยหน่ายในการทำงาน: การประยุกต์โมเดลความต้องการทรัพยากรของงาน. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาจิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การ, คณะจิตวิทยา, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ธนพร พงศ์บุญชู. (2559). อิทธิพลกำกับของภาวะผู้นำที่มีต่อความสัมพันธ์ระหว่างความเครียดในการทำงาน ภาวะหมดไฟในการทำงานและพฤติกรรมการทำงานที่เบี่ยงเบน. การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

นครินทร์ ชุนงาม. (2563). สุขภาพจิตและภาวะหมดไฟในการทำงานของแพทย์ในโรงพยาบาลทั่วไปและโรงพยาบาลชุมชนจังหวันครราชสีมา. วารสารสุขภาพจิตแห่งประเทศไทย, 28(4), 348-359.

ปทุมรัตน์ สกุลพิมงรัตน์. (2556). ภาวะหมดไฟในการทำงานของพนักงานระดับปฏิบัติการ บริษัท วีรับเบอร์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด. การค้นคว้าอิสระศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการจัดการภาครัฐและเอกชน, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยศิลปากร.

วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล. (2563). BURNOUT IN THE CITY งานวิจัยชี้ชาวกรุงวัยทำงานเกินครึ่งเสี่ยงหมดไฟ. เข้าถึงได้จาก https://www.dmh.go.th/news-dmh/view.asp?id=30176

ศรัณย์ ศรีคำและคณะ. (2557). ภาวะเหนื่อยล้าในการทำงานและปัจจัยที่เกี่ยวข้องของแพทย์ประจำบ้านโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์. วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย, 59(2), 139-150

Elizabath, S. (2020). Burnout symptoms and treatment. Retrieved from https://www.verywellmind.com/stress-and-burnout-symptoms-and-causes-3144516

World Health Organization. (2019). Burn-out an occupational phenomenon: International classification of diseases. Retrieved from https://www.who.int/news/item/28-05-2019-burn-out-an-occupational-phenomenon-international-classification-of-diseases

Downloads

Published

2022-11-01