การจัดทำแผนผังแสดงระดับเสียงในกระบวนการซักฟอกย้อมเครื่องนุ่งห่มเพื่อกำหนดมาตรการอนุรักษ์การได้ยินของโรงงานแห่งหนึ่งในจังหวัดสมุทรสาคร

The Noise Contour Map in Bleaching and Dyeing Process to determine the standard of Hearing Conservation Program of a Factory in Samut Sakhon Province

Authors

  • ปัญจ์ปพัชรภร บุญพร้อม
  • สิทธิพันธุ์ ไชยนันทน์
  • ญานิศา พึ่งเกตุ
  • อุมารัตน์ ศิริจรูญวงศ์

Keywords:

แผนผังแสดงระดับเสียง, การตรวจวัดระดับเสียง, มาตรการอนุรักษ์การได้ยิน, Noise contour map, sound measurement, Hearing Conservation Program

Abstract

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อจัดทำแผนผังแสดงระดับเสียงและกำหนดพื้นที่สวมใส่อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลในกระบวนการซักฟอกย้อมชิ้นเครื่องนุ่งห่ม โดยทำการตรวจวัดระดับเสียงทั้งหมด 11 พื้นที่ โดยทำการตรวจวัดเสียงทั้งหมด 121 จุด โดยใช้โดยใช้เครื่องวัดระดับเสียง Sound level meter รุ่น NL-42EX (Class 2) ที่ได้มาตรฐาน ตัวเครื่องมาตรฐาน IEC 61672 Type 2, ANSI S1.4, JISC1509-1 และนำผลการตรวจวัดระดับเสียง มาจัดทำแผนที่เส้นเสียง (Noise Contour Map) และกำหนดพื้นที่ในการสวมใส่อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล ผลการศึกษพบว่าจุดที่มีผลการตรวจวัดเกิน 85 dB ได้แก่ แผนกซักชิ้นงานจำนวน 13 จุด คิดเป็นร้อยละ 59.01 และทางเดินหน้าแผนกซัก 4 จุด คิดเป็นร้อยละ 22.22 ซึ่งแผนกซักชิ้นงานมีระดับเสียงเฉลี่ย 85.50 เดซิเบล (เอ) ดังนั้นในบริเวณแผนกซักชิ้นงานต้องมีการกำหนดมาตรการเพื่อป้องกันและลดผลกระทบด้านเสียงของพนักงานขณะปฏิบัติงาน โดยโรงงานอุตสาหกรรมได้จัดเตรียมอุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล คือ ปลั๊กอุดหูแบบโฟม (Foam  Earplug) เป็นอุปกรณ์ที่สามารถลดการสัมผัสเสียงดังได้ เมื่อคำนวณค่า NRR ที่ปรับลดแล้วได้ 12 ซิเบล (เอ) ดังนั้นระดับเสียงที่สัมผัสในหูเมื่อสวมใส่อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัย ในสเกลเอของพนักงานเมื่อใส่ปลั๊กอุดหูมีค่า 71 ซิเบล (เอ) ซึ่งเป็นระดับเสียงที่ปลอดภัย นอกจากนี้ควรดำเนินการจัดทำมาตรการอนุรักษ์การได้ยินในสถานประกอบกิจการ เพื่อลดความเสี่ยงด้านสมรรถภาพการได้ยินของพนักงาน  This study aims to noise lines mapping and area formulation of wearing personal protective equipment of the bleaching dyeing process. By sound level measurements were conducted in all 11 areas. By measuring all 121 sound points. By using sound meter model NL-42 EX (Class 2) standardized. Standard body IEC 61672 Type 2, ANSI S1.4, JISC 1509-1. And bring the sound level measurement results to make a Noise Contour Map and define area to wear personal protective equipment. This results of the study found that when the points where the measurement result exceeds 85 dB (A) are the area for washing there are 13 noise beyond the standard accounted for 36.36 percent and the walkway in front of the washing 4 noise accounted for 22.22, the washing has an average noise level of 85.50 dB. Therefore, the area of process should determine measures to protection and reduce the noise effect of employees while working and to prevent hearing impairment initially should determine measures to wearing personal protective, which equipment can reduce noise exposure by using Foam Earplug, derated NRR is 12 dB(A), Sound level of the employee when wearing earplugs is 71 dB(A). which is a safe sound level. In addition, hearing conservation measures with the reduce the risk of hearing impairment of the employees.

References

อัถสิทธ์ รัตนารักษ์. สถานการณ์การสูญเสียการได้ยินจากการสัมผัสเสียงดังในการประกอบอาชีพของประเทศไทยและต่างประเทศ. วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์มหาวิทยาลัยขอนแก่น 2560;10(1):1-10.

สิทธิพันธ์ ไชยนันทน์. การตรวจวัดระดับเสียงในแผนกซักชิ้นงานโรงงานซักฟอกย้อมยีนส์จังหวัดสมุทรสาคร. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี 2563;9(2):316-327.

รัตนาภรณ์ เพ็ชรประพันธ์. การประเมินระดับเสียงและสมรรถภาพการได้ยินของพนักงานโรงงานโม่หินแห่งหนึ่งในจังหวัดนครศรีธรรมราช, วารสารความปลอดภัยและสุขภาพ 2558;8(27):13-23.

กองโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดลอม. รายงานสถานการณโรคและภัยสุขภาพจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อมปี 2561 [อินเตอร์เน็ต]. 2562 [เข้าถึงเมื่อ 23 มิ.ย. 2565]. เข้าถึงได้จาก : http://envocc.ddc.moph.go.th/uploads/situation2/2561/2561_01_envocc_situation.pdf

กฎกระทรวง. กำหนดมาตรฐานในการบริหารจัดการ และดำเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับความร้อน แสงสว่าง และเสียง พ.ศ. 2559. ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 133 ตอนที่ 91 ก(ลงวันที่ 17 ตุลาคม 2559).

ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน. มาตรฐานระดับเสียงที่ยอมให้ลูกจ้างได้รับเฉลี่ยตลอดระยะเวลาการทำงานในแต่ละวัน พ.ศ. 2561. ราชกิจจานุเบกษาเล่ม 135 ตอนพิเศษ 19 ง (ลงวันที่ 26 มกราคม 2561).

ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการตรวจวัด และการวิเคราะห์สภาวะการทำงานเกี่ยวกับระดับความร้อนแสงสว่างหรือเสียงรวมทั้งระยะเวลาและประเภทกิจการที่ต้องดำเนินการ. ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 135 ตอนพิเศษ 57ง (ลงวันที่ 12 มีนาคม 2561).

สำนักจัดการคุณภาพอากาศและเสียง กรมควบคุมมลพิษ. คู่มือวัดเสียงรบกวน (ฉบับปรับปรุง). กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์ไอดีปริ้นท จำกัด; 2550. หน้า. 14-17.

Lavson Davis. LxTManual for SoundTrack LxT & SoundExpert. [Internet]. 2020 [cite2022June 23]. Available from: https://www.larsondavis.com/contentstore/MktgContent/LinkedDocuments/ LarsonDavis/LxT-Manual.pdf.

กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน. ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานเรื่อง การคำนวณระดับเสียงที่สัมผัสในหูเมื่อสวมใส่อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคลราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 135 ตอนพิเศษ 33 ง (ลงวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2561).

วิชาญบุญค้าและวราภรณ์ทุมวงษ์. การตรวจวัดและการจัดทำแผนที่เสียงรบกวนในโรงงานผลิตตู้แช่เย็นจังหวัดกรุงเทพมหานคร. วารสารวิชาการเทคโนโลยีพลังงานและสิ่งแวดล้อมบัณฑิตวิทยาลัยวิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม 2562; 6(2):21-29.

ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานเรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการจัดทำมาตรการอนุรักษ์การได้ยินในสถานประกอบกิจการ. ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 135 ตอนพิเศษ 134 ง (ลงวันที่ 12 มิถานายน 2561).

ณัฐพล พิมพ์พรมมา. การตรวจวัดและการจัดทำแผนที่เสียงในกระบวนการผลิตกระสอบพลาสติกของโรงงานแห่งหนึ่งจังหวัดราชบุรี. วารสารวิชาการเทคโนโลยีพลังงานและสิ่งแวดล้อมบัณฑิตวิทยาลัยวิทยาลัยเทคโลยีสยาม2564; 8(2):36-44.

Downloads

Published

2023-02-24