ความชุกและปัจจัยเสี่ยงที่มีผลต่อการเกิดภาวะขาดออกซิเจนในทารกแรกเกิดที่โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยบูรพา

Prevalence and Risk Factors Affecting Birth Asphyxia among the Neonates delivered at Burapha University Hospital

Authors

  • จิรัสย์พล ไทยานันท์

Keywords:

ภาวะขาดออกซิเจนของทารกแรกเกิด, ความชุก, ปัจจัยเสี่ยง, Birth asphyxia, Prevalence, Risk factors

Abstract

ภาวะขาดออกซิเจนในทารกแรกเกิดเป็นสาเหตุสำคัญหนึ่งที่ทำให้ทารกแรกเกิด มีเจ็บป่วยหรือเสียชีวิตได้สูง และเป็นตัวชี้วัดสำคัญที่บอกถึงคุณภาพและประสิทธิภาพในการดูแลมารดาและทารกในโรงพยาบาล เพื่อกำหนดแนวทางปฏิบัติและการป้องกันที่เป็นมาตรฐานในดูแลมารดาและทารกในช่วงการฝากครรภ์และช่วงคลอดให้ได้ประสิทธิภาพสูงสุด การวิจัยจึงมีวัตถุประสงค์วิจัยเพื่อศึกษาความชุกและปัจจัยเสี่ยงของการเกิดภาวะขาดออกซิเจนในทารกแรกเกิดที่โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยบูรพา โดยศึกษาวิจัยแบบ Retrospective study เก็บข้อมูลตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ.2561 ถึง 31 ธันวาคม พ.ศ.2563 จำนวน 208 คน แบ่ง 2 กลุ่ม กลุ่มศึกษา คือ สตรีตั้งครรภ์ที่คลอดทารกแรกเกิด Apgar Score นาทีที่ 1 ≤ 7 จำนวน 52 คน กลุ่มควบคุม คือ สตรีตั้งครรภ์ที่คลอดทารกแรกเกิด Apgar Score นาทีที่ 1 > 7 จำนวน 156 คน สถิติ ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย SD Odds ratio (95% CI) หาความสัมพันธ์โดยใช้ Chi-Square ผลการวิจัย พบว่า ความชุกของการเกิดภาวะขาดออกซิเจนในทารกแรกเกิด ในปี พ.ศ.2561 มีความชุก 24.0 ต่อ 1,000 การเกิดมีชีพ (95% CI: 21.75-26.25) ปี 2562 ความชุก 68.1 ต่อ 1,000 การเกิดมีชีพ (95% CI: 44.65-91.75) และ ปี 2563 ความชุก 24.8 ต่อ 1,000 การเกิดมีชีพ (95% CI: 24.74-24.93) เมื่อเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างกลุ่มศึกษาและกลุ่มควบคุม (p < 0.5) พบว่าปัจจัยเสี่ยงด้านมารดา คือ อายุครรภ์น้อยกว่า 37 สัปดาห์ (OR 3.21, 95%CI  1.49-6.85) ปัจจัยเสี่ยงด้านทารก คือ น้ำหนักแรกเกิด < 2,500 กรัม (OR 7.29, 95%CI 2.98-17.81)  เมื่อทราบถึงปัจจัยเสี่ยงนี้ทำให้สามารถวางแผนเตรียมความพร้อมตลอดจนการพัฒนาระบบการเฝ้าระวังในสตรีตั้งครรภ์ เพื่อลดอัตราการเกิดภาวะขาดออกซิเจนในทารกแรกเกิด ลดภาวะทุพพลภาพของทารกและการตายปริกำเนิดได้อย่างมีประสิทธิภาพ  Birth Asphyxia is one of the leading causes of neonatal illness, high disability, or death. It is an important indicator of the quality and efficiency of mother and newborn care in the hospital. The purpose of this study was to study the prevalence and risk factors of neonatal birth asphyxia at Burapha University Hospital. In order to determine standardized guidelines and precautions for the most effective care of mothers and infants during antenatal care and delivery.  Retrospective study was used by collecting data from January 1, 2018-December 31, 2020, consisted of 208 people, divided into 2 groups.  The control group was 156 women who gave birth with Apgar score at minute 1 > 7. The study group consisted of pregnant women who gave birth with Apgar Score at min 1 ≤ 7 of 52 people.  Statistics were frequency, percentage, mean, standard deviation, Odds ratio (95% CI) and logistic regression method.  The findings of the research are as follows.  The prevalence of neonatal birth asphyxia in 2018 was 24.0 per 1,000 live births (95% CI: 21.75, 26.25).  In 2019, the prevalence was 68.1 per 1,000 live births (95% CI: 44.65, 91.75) and 2020, the prevalence was 24.8 per 1,000 live births (95% CI: 24.74, 24.93).  The differences between the study group and the control group (p < 0.5) were compared, respectively, as follows maternal risk factors was gestational age less than 37 weeks (OR 3.21, 95%CI 1.49-6.85) and the fetal risk factor was birth weight < 2500 g (OR 7.29, 95%CI 2.98-17.81). Summarizing the findings of these risk factors, it is possible to plan for mother and newborn care. The findings are also utilized to develop a surveillance system before and during pregnancy, as well as during and after delivery to reduce the incidence of neonatal hypoxia, infant morbidity and perinatal motality.

References

World Health Organization. International statistical classification of diseases and related health problems-10threvision. 2. Geneva: WHO; 2010.

อภิรักษ์ หงวนบุญมาก, สมบูรณ์ศรศุกลรัตน์.ความชุกและปัจจัยเสี่ยงสาหรับภาวะทารกแรกเกิดขาดออกซิเจนในหญิงตั้งครรภ์ที่อายุมากกว่าหรือเท่ากับ 35 ปี. Thai J Obstet Gynaecol, 2562; 27(1): 29-37.

บรรพจน์ สุวรรณชาติ. ปัจจัยเสี่ยงของการเกิดภาวะขาดออกซิเจนในทารกแรกเกิดในโรงพยาบาลกาฬสินธุ์. ศรีนครินทร์เวชสาร, 2547; 19(4): 233-240.

กรรณิการ์ บูรณวนิช และกฤษณ์ เชี่ยวชาญประพันธ์. ปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดภาวะขาดออกซิเจนปริกำเนิด ในคณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาล. วชิรเวชสารและวารสารเวชศาสตร์เขตเมือง, 2563; 64(1): 11-22.

กองบริหารการสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข. อัตราการเกิดภาวะขาดอากาศในทารกแรกเกิด (Birth Asphyxia Rate) ระดับจังหวัด. [อินเตอร์เน็ต]. รายงาน Service Plan สาขาแม่และเด็ก. [เข้าถึงเมื่อ 10 ก.ย.2564]. เข้าถึงได้จาก: http://dashboard.anamai.moph.go.th/dashboard/birthasphyxia/changwat? year=2020&kid=2055&rg=6

Bernard, R. Fundamentals of biostatistics (5th ed.). Duxbery: Thomson learning; 2000: 384-385.

สุนิดา พรรณะ. ปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดภาวะขาดออกซิเจนในทารกแรกเกิดในโรงพยาบาลหนองคาย. ศรีนครินทร์เวชสาร, 2563; 35(3): 278-286.

โรงพยาบาลเปาโล. คลอดก่อนกาหนด. [อินเตอร์เน็ต]. บทความแม่และเด็ก. [เข้าถึงเมื่อ 15 กันยายน 2565]. เข้าถึงได้จาก: https://www.paolohospital.com/th-TH/บทความ-แม่และเด็ก/คลอดก่อนกาหนด-กับปัญหาระบบทางเดินหายใจ

นงเยาว์ ศิลปะวัฒนานันท์ และสิริกร ถนอมธรรม. ปัจจัยเสี่ยงที่สัมพันธ์กับการเกิดภาวะออกซิเจนในทารกแรกเกิดโรงพยาบาลชัยภูมิ. ชัยภูมิเวชสาร, 2559; 36(1): 25-38.

มนตรี ภูริปัญญวานิช. ปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดภาวะขาดออกซิเจนของทารกแรกเกิดของโรงพยาบาลเสนา. Journal of health Research, 2551; 22(2): 83-89.

ชญาศักดิ์ พิศวง และปริศนา พานิชกุล. ปัจจัยเสี่ยงที่สัมพันธ์กับภาวะขาดออกซิเจนของทารกแรกเกิด ในโรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า. เวชสารแพทย์ทหารบก, 2554; 64(3): 109-19.

นริศรา แสงปัดสา. ปัจจัยเสี่ยงต่อภาวะขาดออกซิเจนของทารกแรกเกิดที่เกิดในโรงพยาบาลนครปฐม. วารสารการแพทย์เขต 4-5, 2557; 33(4): 237-248.

ปทุมมา กังวานตระกูล, เมธา ทรงธรรมรัตน์, ศรีสุดา ไทยเลิศ. ทารกขาดออกซิเจนแรกคลอดในโรงพยาบาลอุดรธานี. วารสารแพทย์เครือข่าย 6/2,2540; 7: 451-61.

ศราวุฒิ ตั้งศรีสกุล. ปัจจัยเสียงของการคลอดทารกคะแนนแอบการ์ที่ 1 นาที เท่ากับ 7 หรือน้อยกว่าในโรงพยาบาลเจ้าพระยายมราช จังหวัดสุพรรณบุรี. วารสารกรมการแพทย์ 2544 ; 26: 458-65.

MacDonald HM, Mulligan IC, Taylor PM. Neonatal asphyxia. I. Relationship of obstetric and neonatal complications of neonatal mortality in 38,405 consecutive deliveries. The Journal of Pediatrics, 1980; 96(5): 898-902.

สุรชัย พงศ์หล่อพิศิษฏ์. ปัจจัยเสี่ยงของมารดาต่อการคลอดทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อยในโรงพยาบาลเถิน จังหวัดลำปาง. ลำปางเวชสาร, 2552; 30(3): 146-153.

นพัสร ทรัพย์พิพัฒน์. ปัจจัยเสี่ยงของมารดาต่อการเกิดทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อยในโรงพยาบาลกาฬสินธุ์. [อินเตอร์เน็ต]. งานอนามัยแม่และเด็กจังหวัดมหาสารคาม. [เข้าถึงเมื่อ 26 ส.ค. 2561]. เข้าถึงได้จาก: http://mkho.moph.go.th/depart/mch/downloaddata/research/2007-08-18-13.pdf

สำเริง ไตรติลานันท์. ปัจจัยเสี่ยงการคลอดทารกน้ำหนักตัวน้อยในโรงพยาบาลพนมสารคามจังหวัดฉะเชิงเทรา.วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข 2551; 2:886-900

บรรจง ไวทยเมธา, รุชนีย์ ไวทยเมธา. อิทธิพลของปัจจัยที่เกี่ยวกับมารดาต่อน้ำหนักแรกเกิดของทารกในหญิงมีครรภ์ที่มารับบริการที่โรงพยาบาลปัตตานี. วารสารการส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม 2542; 22:307-12.

มณีภรณ์ โสมานุสรณ์. การพยาบาลหญิงตั้งครรภ์: ที่มีภาวะแทรกซ้อนจากการตั้งครรภ์. นนทบุรี: โครงการสวัสดิการวิชาการสถาบันพระบรมราชชนก; 2551: 215.

การฝากครรภ์คุณภาพและการปฏิบัติตัวขณะตั้งครรภ์. (2563). [อินเตอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 15 กันยายน 2565]. เข้าถึงได้จาก: http://164.115.22.73/r9health/wp-content/uploads/2020/07/4การฝากครรภ์คุณภาพและการปฏิบัติตัวขณะตั้งครรภ์.pdf

Downloads

Published

2023-02-24