ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID -19) ของพนักงานส่งอาหารเดลิเวอรี่ในเขตกรุงเทพมหานคร
Factors Influencing Preventive Behaviors for Coronavirus Disease 2019 (Covid -19) of Food Delivery Workers in Bangkok
Keywords:
พฤติกรรมการป้องกันโรค, ความรอบรู้ด้านสุขภาพ, โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019, พนักงานส่งอาหารเดลิเวอรี่, disease prevention behavior, health literacy, COVID –19, food delivery workersAbstract
การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจแบบภาคตัดขวาง มีวัตถุประสงค์เพื่ออธิบายและหาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการป้องกัน โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 กลุ่มตัวอย่างคือ พนักงานส่งอาหารเดลิเวอรี่ ในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 276 คน ใช้วิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบตามสะดวก เก็บข้อมูลระหว่างเดือนกรกฎาคม - สิงหาคม พ.ศ.2565 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถามที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและสถิติอนุมาน ได้แก่ สถิติสหสัมพันธ์ของเพียร์สันและการถดถอยพหุคูณเชิงเส้น ผลการศึกษาพบว่า พนักงานส่งอาหารเดลิเวอรี่ส่วนใหญ่เป็นเพศชาย ร้อยละ 90.58 อายุเฉลี่ย 30.45 ± 8.31 ปี ส่วนมากจบ อนุปริญญาหรือประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ร้อยละ 46.01 ระยะเวลาในการประกอบอาชีพพนักงานส่งอาหารเดลิเวอรี่เฉลี่ย 1.8±1.17 ปี ลักษณะงานที่ทำส่วนใหญ่ ทำเป็นงานประจำ ร้อยละ 75.00 ส่วนมากเหตุผลที่มาประกอบอาชีพพนักงานส่งอาหารเดลิเวอรี่ คือ เปลี่ยนอาชีพ ร้อยละ44.93 และพบว่าพนักงานส่งอาหารเดลิเวอรี่มีความรอบรู้ด้านสุขภาพในการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 และพฤติกรรมการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 อยู่ในระดับดีมาก ร้อยละ 76.81 และ 92.39 ตามลำดับ ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการป้องกัน โรคโควิด 19 ได้แก่ ปัจจัยส่วนบุคคลด้านเหตุผลที่มาประกอบอาชีพพนักงานส่งอาหารเดลิเวอรี่ คือเพื่อเปลี่ยนอาชีพ (ꞵ=-0.120, p<0.05) โดยมีเหตุผลด้านการหารายได้เสริม ตกงานและการทำเป็นอาชีพ เป็นค่าอ้างอิงของการเปรียบเทียบ และปัจจัยความรอบรู้ด้านสุขภาพ ด้านทักษะการใช้ข้อมูล (ꞵ=0.304, p <0.001) โดยทั้งสองปัจจัยนี้สามารถร่วมในการทำนายพฤติกรรมการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัส โคโรนา 2019 ของพนักงานส่งอาหารเดลิเวอรี่ ได้ร้อยละ 10.80 (R2 = 0.108) ดังนั้นการส่งเสริมให้พนักงานส่งอาหารเดลิเวอรี่มีพฤติกรรมการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 กระทรวงแรงงานและหน่วยงานด้านสาธารณสุขรวมถึงบริษัทแพลตฟอร์มจัดส่งอาหารเดลิเวอรี่ ควรสร้างเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพด้านทักษะการใช้ข้อมูล โดยมุ่งเน้นในกลุ่มพนักงานส่งอาหารเดลิเวอรี่รายใหม่ This cross-sectional survey research aimed to identify and explain the factors that influence the behaviors of COVID-19 prevention food delivery workers in Bangkok. The study selected 276 participants using convenience sampling, and data were collected from July to August 2022. A questionnaire created by the researchers was used as the research tool. The collected data were analyzed using descriptive and inferential statistics, Pearson's correlation, and linear multiple regression. The study found that the majority of the food delivery workers (90.58%) were male, with an average age of 30.45 ± 8.31 years, and 46.01% held a diploma or higher vocational certificate. The average time for delivery staff to deliver food was 1.8 ± 1.17 years, and 75.00% worked full-time. The most common reason for becoming a food delivery worker was a career change, accounting for 44.93% of the participants. Moreover, the study found that food delivery workers had very good health literacy to prevent COVID-19 and behaviors to prevent COVID-19, with 76.81% and 92.39%, respectively. The study revealed that two factors, namely personal reasons for becoming delivery workers (ꞵ= -0.120, p <0.05) (with reasons for earning extra income, unemployment and occupation as reference values for comparison) and health literacy in information skills (ꞵ= 0.304, p <0.001), significantly influenced COVID-19 prevention behaviors. These two factors predicted COVID-19 prevention behaviors among food delivery staff by 10.80% (R2 = 0.108). As a result, in order to encourage employees to adopt behaviors that prevent the spread of COVID-19, the Ministry of Labor and Public Health, as well as food delivery platform companies, should promote health literacy and information skills, particularly for new workers.References
World Health Organization. WHO Coronavirus (COVID-19) Dashboard 2021. [internet]. (cited: 2022 June 30). Available from: https://covid19.who.int/.
กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. สถานการณ์ผู้ป่วย COVID-19 ภายในประเทศ รายสัปดาห์. [อินเตอร์เน็ต]. (วันที่ค้นข้อมูล: 30 มิถุนายน 2565). เข้าถึงได้จาก: https://ddc.moph.go.th/covid19-dashboard/?dashboard=main.
กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. ประกาศชื่อโรคและอาการสำคัญ ตามพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. 2558. [อินเตอร์เน็ต]. (วันที่ ค้นข้อมูล: 30 มิถุนายน 2565). เข้าถึงได้จาก: จาก https://ddc.moph.go.th/law.php?law=1.
สถาบันส่งเสริมความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน. การศึกษาสถานการณ์ ปัจจัย และผลกระทบด้านความปลอดภัยฯ ของผู้ขับรถจักรยานยนต์ส่งอาหาร. [อินเตอร์เน็ต]. (วันที่ค้นข้อมูล: 5 ธันวาคม 2565). เข้าถึงได้จาก: https://www.tosh.or.th/ index.php/ media-relations/e-book/item/ 1224-2022-10-20-03-10-49
กรมอนามัยกระทรวงสาธารสุข. ผลโพล ชี้ต้องย้ำผู้ส่งอาหารเดลิเวอรี่ 4 จังหวัดแดงเข้มทำความสะอาดมือก่อน-หลัง ส่งอาหารทุกครั้ง. [อินเตอร์เน็ต]. (วันที่ค้นข้อมูล: 2 มีนาคม 2565). เข้าถึงได้จาก: https://multimedia.anamai. moph.go.th/news/140664/.
Nutbeam, D. Health literacy as a public health goal: a challenge for contemporary health education and communication strategies into the 21st century. Health Promotion International, 2000; 15(3): 259-267.
WHO. Health Promotion Glossary. Division of Health Promotion, Education and Communications, Health Education and Health Promotion Unit, World Health Organization. Geneva, 1998; 1-10.
Kasemsak Jandee, Chamnong Thanapop. Food Delivery Drivers’ Health Literacy Regarding COVID-19 Prevention and Protective Behaviors During the COVID-19Pandemic: Cross-sectional Survey in Southern Thailand. JMIR HUMAN FACTORS, 2022; 9(4): e37693.Available from: https://humanfactors.jmir.org/2022/4/e37693.
Kohn MA, Senyak J. Sample Size Calculators. [internet]. (cited:2021 December20). Available from: https://www.sample-size.net/.
Hsieh FY, Daniel A, Michael D, Larsen. A simple method of sample size calculation for linear and logistic regression. Statistics in Medicine, 1998; 17(143):1623-34.
ธวัชชัย บุญมี และจิรวรรณ บุญมี. พฤติกรรมการสั่งอาหารแบบเดลิเวอรี่ของผู้เช่าห้องพักในตำบลช้างเผือก อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่. วารสารปาริชาต มหาวิทยาลัยทักษิณ, 2565; 35(3): 150-67.
สำนักยุทธศาสตร์และประเมินผล กรุงเทพมหานคร. จำนวนประชากร และความหนาแน่น ในเขตกรุงเทพ มหานคร 2564. [อินเตอร์เน็ต]. (วันที่ค้นข้อมูล :17 พฤษภาคม 2565). เข้าถึงได้จาก : https://shorturl-ddc.moph.go.th/bNxjk.
กองสุขศึกษา กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข. การเสริมสร้างและประเมินความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพ. ฉบับปรับปรุง ปี 2561.
Wiersma, W, Jurs, S.G. Research methods in education. (9th Edition). Allyn-Bacon: Boston, MA.2009.
Kim HY. Statistical notes for clinical researchers: simple linear regression 3–residual analysis. The Restorative Dentistry and Endodontics 2019; 44(1): e11.eISSN 2234-7666.
เบญจมาพร อาดัมเจริญ, วาริณี เอี่ยมสวัสดิกุล. ความสัมพันธ์ระหว่างความรอบรู้ด้านสุขภาพกับพฤติกรรมป้องกันโรคโควิด 19 ในยุค ชีวิตวิถีใหม่ของกลุ่มวัยทำงานในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. วารสารพยาบาล, 2565; 71(3): 27-35.
กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ. รายงานผลการเฝ้าระวังสถานการณ์ความรอบรู้ด้านสุขภาพขั้นพื้นฐานและพฤติกรรมการดูแลสุขภาพในการป้องกันโรคโควิด-19 ของประชาชนครั้งที่ 1 ข้อมูลระหว่างวันที่ 7-15 เมษายน 2563. นนทบุรี: กระทรวงสาธารณสุข. 2563.
พนม คลี่ฉายา. การเข้าถึง เข้าใจ ประเมิน และใช้ข้อมูลข่าวสารสุขภาพเพื่อการดูแลตนเองให้ปลอดภัยจากโรคติดต่ออุบัติใหม่ที่แพร่มาจากต่างประเทศของประชาชนในเขตเมือง. นนทบุรี: สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข; 2561.
สมบัติ พรหมณี. ความรู้เจคติและพฤติกรรมตามแนวปฏิบัติด้านสาธารณสุขเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของพนักงานส่งอาหาร (Food Delibery) ในจังหวัดนครนายก. วารสารวิชาการสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครนายก, 2565; 2(1): 1-15.
กรมอนามัย. แนวปฏิบัติด้านสาธารณสุขเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) การจัดบริการอาหารในรูปแบบเดลิเวอรี่. [อินเตอร์เน็ต]. (วันที่ค้นข้อมูล: 10 ตุลาคม 2565). เข้าถึงได้จาก : https://shorturl-ddc.moph.go.th/jdlyU.
Vijaya, K. et al. Behaviour of Singaporeans during the SARS outbreak: The impact of anxiety and public satisfaction with media information. International Journal of Health Promotion and Education, 2005; 43(1): 17-22.
ชญานิศ ลือวานิช และคณะ. ความรอบรู้ด้านสุขภาพและการดำเนินชีวิตวิถีใหม่ในการป้องกันตนเองจากไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 ของประชาชนที่อาศัยในจังหวัดภูเก็ต. วารสารการพยาบาลและสุขภาพ, 2563; 14(3): 73-88.
นครินทร์ อาจหาญ. ความรอบรู้และแรงจูงใจที่ส่งผลต่อการคงอยู่ของพฤติกรรมในการป้องกันแพร่ระบาดของโรค COVID-19 และการส่งเสริมสุขภาพในยุควิถีชีวิตใหม่ภายใต้อยุธยาโมเดล. วารสารสังคมศาสตร์ปัญญาพัฒน์, 2566; 5(1) : 32-44.
กองสุขศึกษา กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข. กลยุทธ์การเสริมสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพ. พิมพ์ครั้งที่1. กรุงเทพฯ: บริษัทสามเจริญพานิชย์ (กรุงเทพ) จำกัด; 2561.