ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพของพนักงานเก็บขยะสังกัดเทศบาล ในอำเภอบางปะกง จังหวัดฉะเชิงเทรา

Factors Related with Health-Promoting Behaviors of Garbage Collectors in Municipalities, Bang Pakong District, Chachoengsao Province

Authors

  • วจีรักษ์ เจริญพงษ์
  • วสุธร ตันวัฒนกุล
  • เสาวนีย์ ทองนพคุณ
  • ดนัย บวรเกียรติกุล

Keywords:

ปัจจัย, พฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพ, พนักงานเก็บขยะ, เทศบาล, Factor, Health promoting-behavior, Garbage collector, Municipality

Abstract

การศึกษานี้มีรูปแบบการศึกษาเป็นการวิจัยเชิงสำรวจแบบภาคตัดขวาง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยนำ ปัจจัยเอื้อ ปัจจัยเสริมกับพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของพนักงานเก็บขยะสังกัดเทศบาลในอำเภอบางปะกง จังหวัดฉะเชิงเทรา มีกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 191 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามความรู้การส่งเสริมสุขภาพ ทัศนคติการส่งเสริมสุขภาพ นโยบายการส่งเสริมสุขภาพและความปลอดภัย ปัจจัยเสริมและพฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพ ค่าความเชื่อมั่น 0.84, 0.78, 0.83 , 0.92 และ 0.89 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาและสถิติไค-สแควร์ ผลการวิจัยพบว่ากลุ่มตัวอย่างมีพฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพโดยรวมอยู่ในระดับสูง ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ปัจจัยนำ ได้แก่ เพศ (p-value = 0.043) อาชีพเสริม (p-value = 0.004) การตรวจสุขภาพประจำปี (p-value = 0.022) สารเสพติดหรือสิ่งกระตุ้น (p-value = 0.00 1) ทัศนคติในการส่งเสริมสุขภาพ (p-value < 0.00 1) ปัจจัยเอื้อ ได้แก่ สื่อสุขภาพ (p-value < 0.00 1) หน่วยบริการสาธารณสุขของหน่วยงาน (p-value =0.00 1) การกำหนดหรือจัดตรวจสุขภาพประจำปี (p-value < 0.00 1) นโยบายส่งเสริมสุขภาพและความปลอดภัย (p-value < 0.00 1) ปัจจัยเสริม (p-value < 0.00 1) ผลการวิจัยพบว่ากลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ไม่เคยตรวจสุขภาพประจำปีจึงเสนอแนะให้เทศบาลจัดตรวจสุขภาพประจำปีทุกปี ผู้ที่ต้องการติดตามผลหรือศึกษาประเด็นที่เกี่ยวข้องกับปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของพนักงานเก็บขยะเพิ่มเติมจึงเสนอแนะให้ศึกษาแบบไปข้างหน้าและศึกษาเชิงคุณภาพเพิ่มเติม  This cross-sectional survey study was aimed to determine relationship between predisposing factors, enabling factors and reinforcing factors to health-promoting behaviors of garbage collectors in municipalities Bangpakong district, Chachoengsao province. The samples were 191 garbage collectors. The instruments were questionnaires that had the Cronbach’s alpha reliability coefficient values of health-promoting knowledge, health-promoting attitude, health promoting behavior's policies, reinforcing factors and health-promoting behaviors were 0.84 (KR-20), 0.78, 0.83,0.92 and 0.89, respectively. Descriptive statistics and Chi-square test were used for data analysis. Factors that related with health-promoting behaviors of garbage collectors at significant p-value < 0.05 were predisposing factors namely sex (p-value = 0.043), extra job (p-value = 0.004), annual health examination (p-value = 0.022), drug or stimulant (p-value = 0.001), health-promoting attitude (p-value < 0.001) enabling factors namely health promoting-media (p-value < 0.001), public health service unit (p-value = 0.001), annual health checkup policy (p-value < 0.001), promoting-health and security policy (p-value < 0.001) and reinforcing factors (p-value < 0.001). This study finding the most of samples had never annual health checkup, therefore suggest that municipalities specify or provide annually health checkup. If any researchers wanting to know the factors related to the health-promoting behaviors of garbage collectors in any additional issues or wanting to follow up the study results, therefore should suggest researchers studying a prospective study and qualitative study for knowing about more detailed, clear and complete.

References

กรมควบคุมมลพิษ. ข้อมูลสถานการณ์ขยะมูลฝอยของประเทศ. [อินเตอร์เน็ต]. 2556 เข้าถึงได้จาก https://thaimsw.pcd.go.th/report_country.php. (วันที่ค้นข้อมูล: 11 เมษายน 2566)

สำนักข่าว กรมประชาสัมพันธ์. EEC เร่งวางโครงสร้างพื้นฐานด้านสิ่งแวดล้อม ลดวิกฤตขยะและน้ำเสีย. [อินเตอร์เน็ต]. 2556 เข้าถึงได้จาก https://thainews.prd.go.th/th/news/detail/ TCATG190517155732919. (วันที่ค้นข้อมูล: 11 เมษายน 2566)

สำนักงานส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นจังหวัดฉะเชิงเทรา. ข้อมูล อปท. จังหวัดฉะเชิงเทรา. [อินเตอร์เน็ต]. 2556 เข้าถึงได้จาก http://www.chacheongsaolocal.go.th. (วันที่ค้นข้อมูล: 11 เมษายน 2566)

กรมอนามัย. คู่มือพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. 2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม. นนทบุรี : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย. 2561.

ชญาดา พูลศรี. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมสุขภาพของพนักงานเก็บขยะสังกัดเทศบาลนครพิษณุโลก (วิทยานิพนธ์สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต). สาขาการจัดการอนามัยสิ่งแวดล้อมและความปลอดภัย, คณะสาธารณสุขศาสตร์ : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์; 2561.

Green LW, Kreuter MW. Health Program Planning: An Educational and Ecological Approach. 4th ed. New York: McGraw-Hill, Inc; 2005.

Kaplan, B.H., T.C. Cassel and S. Gore. (1977). Social Support and Health. Medical Care, 15 (5).

Pender NJ, Murdaugh CL, Parsons MA. Health Promotion in Nursing Practice. 5th ed. New Jersey: Pearson Education, Inc; 2006.

Talcott, P. Family structure and the socialization of child in family, socialization and interaction process. 2th ed. New York: Free Press; 1959.

ศิริพรรณ ศิรสุกล. ภาวะสุขภาพของพนักงานเก็บขยะ : กรณีศึกษาเทศบาลในจังหวัดนครปฐม (วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต). สาขาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม, คณะวิทยาศาสตร์ : มหาวิทยาลัยศิลปากร ; 2544.

กัลยาณี โนอินทร์ และนิศากร เชื้อสาธุชน. (2555). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันโรคและการบาดเจ็บจากการเก็บขยะในช่วงน้ำท่วมของพนักงานเก็บขยะ : กรณีศึกษาในสำนักงานเขตแห่งหนึ่ง กรุงเทพ มหานคร. วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข, 6(4), 513-523.

ภูวณัฎฐ์ รอบคอบ. ภาวะสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพของพนักงานเก็บขยะในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดชลบุรี (วิทยานิพนธ์วิทยาศาตรมหาบัณฑิต). สาขาวิชาการสร้างเสริมสุขภาพ, คณะสาธารณสุขศาสตร์ : มหาวิทยาลัยบูรพา ; 2562.

สมจิรา อุสาหะวงค์. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันอุบัติเหตุของพนักงานจัดเก็บขยะในเขตอำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม (วิทยานิพนธ์สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต). สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์, คณะศิลปศาสตร์ : มหาวิทยาลัยเกริก; 2559.

Downloads

Published

2023-06-13