ปัจจัยส่วนบุคคลและการรับรู้ความเชื่อด้านสุขภาพที่มีผลต่อพฤติกรรมการป้องกันภาวะน้ำหนักเกินของนิสิตปริญญาตรี มหาวิทยาลัยบูรพา

Personal Factors and Health Beliefs Perception Factors Affecting Behaviors for Preventing Overweight among Bachelor's Degree Students, Burapha University

Authors

  • ศุภณัช วรินทราวาท
  • เอมอัชฌา วัฒนบุรานนท์
  • ยุวดี รอดจากภัย
  • ปาจรีย์ อับดุลลากาซิม

Keywords:

แบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพ, พฤติกรรมสุขภาพเชิงป้องกัน, ภาวะน้ำหนักเกิน, นิสิตปริญญาตรี, มหาวิทยาลัยบูรพา, health belief model, preventive health behaviors, overweight, undergraduate student, Burapha University

Abstract

พฤติกรรมป้องกันภาวะน้ำหนักเกินเป็นพฤติกรรมสุขภาพที่มีส่วนช่วยป้องกันโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคที่ เกิดจากพฤติกรรมการดำเนินชีวิต หรือ กลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs) การวิจัยนี้เป็นการศึกษาเชิงสำรวจเพื่อศึกษาปัจจัยการรับรู้ความเชื่อดา้นสุขภาพที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมป้องกันภาวะน้ำหนักเกินของนิสิตปริญญาตรีมหาวิทยาลัยบูรพา กลุ่มตัวอย่างคือ นิสิตปริญญาตรี 393 คน เก็บข้อมูลในเดือน กุมภาพันธ์ 2566 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา หาความแตกต่างของค่าเฉลี่ยด้วย t-test และ ANOVA หาความสัมพันธ์ด้วยสัมประสิทธิ์ สหสัมพันธ์แบบ Pearson การวิเคราะห์ถดถอยเชิงเส้นแบบเดี่ยว และพหุ ผลการศึกษาพบว่า พฤติกรรมป้องกันภาวะน้ำหนักเกินนิสิตปริญญาตรีมีระดับแตกต่างกันตาม เพศ ชั้นปี คณะที่ศึกษา และประวัติการเป็นกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs) ในครอบครัว อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 เมื่อวิเคราะห์สหสัมพันธ์ Pearson ระหว่างการรับรู้เกี่ยวกับภาวะน้ำหนักเกินตามแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพกับพฤติกรรมป้องกันภาวะน้ำหนักเกิน พบว่าการรับรู้อุปสรรคต่อการมีพฤติกรรมป้องกันภาวะน้ำหนักเกินมีความสัมพันธ์ทางลบกับพฤติกรรมป้องกันภาวะน้ำหนักเกินอย่างมีนัยสำคัญ (r = -0.399, p < 0.001) ส่วนการรับรู้โอกาสเสี่ยงต่อการเกิดภาวะน้ำหนักเกิน การรับรู้ความรุนแรงของภาวะน้ำหนักเกิน การรับรู้ประโยชน์ที่จะได้รับ เมื่อมีพฤติกรรมป้องกันภาวะน้ำหนักเกิน และการรับรู้แรงจูงใจให้ปฏิบัติพฤติกรรมป้องกันภาวะน้ำหนักเกิน ไม่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมป้องกัน ภาวะน้ำหนักเกิน จากนั้นวิเคราะห์ถดถอยเชิงเส้นพหุคูณหาปัจจัยทำนายพฤติกรรมป้องกัน ภาวะน้ำหนักเกิน พบปัจจัยที่ร่วมทำนายพฤติกรรมป้องกันภาวะน้ำหนักเกินของนิสิตปริญญาตรีมหาวิทยาลัยบูรพา ได้แก่ การรับรู้อุปสรรคต่อการปฏิบัติพฤติกรรมป้องกันภาวะน้ำหนักเกิน เพศ ชั้น ปี และกลุ่มคณะที่ศึกษา โดยทั้ง 4 ปัจจัย ร่วมกันมีอิทธิพลทำนายได้ร้อยละ 22.2  A prevention behavior for overweight, a major preventive health behavior, could prevent susceptibility to noncommunicable diseases (NCDs). The purpose of this survey-based descriptive research was to study overweight prevention behaviors and factors associated with preventive health behaviors among bachelor’s degree students at Burapha University. The questionnaires modified in accordance with the theory of the Health Belief Model were given to 393 bachelor’s degree students at Burapha University randomly in February, 2023. Data were analyzed descriptive statistics, by t-test, ANOVA, Pearson correlation, and multiple linear regression. The results were as follows: First, bachelor’s degree students with different sex, year class, faculty and family history of NCDs had significantly different preventive behaviors at the 0.05 level. Next, perceived barriers to preventive behaviors were statistically significantly correlated with preventive behavior (r = -0.399, p < 0.001), while perceived susceptibility to overweight, perceived severity of disease caused by overweight, perceived benefits of preventive behaviors and cues to action were not correlated with preventive behavior. Finally, perceived barriers to preventive behaviors, sex, year class, and faculty could co-predict the overweight prevention behaviors of bachelor’s degree students at 22.2%

References

WHO Expert Consultation. Appropriate body-mass index for Asian populations and its implications for policy and intervention strategies. Lancet (London, England). 2004; 363(9403): 157-63.

วิชัย เอกพลากร, หทัยชนก พรรคเจริญ, วราภรณ์ เสถียรนพเก้า. การสำรวจสุขภาพประชาชนไทยโดยการตรวจร่างกาย ครั้งที่ 6 พ.ศ. 2562-2563. คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล; 2021. Report No.: 6164436095.

ร้อยละของประชากรอายุ 18-59 ปี มีค่าดัชนีมวลกายปกติ ระดับเขตสุขภาพ [Internet]. 2022. Available from: https://dashboard.anamai.moph.go.th/dashboard/nutri1859?year=2022.

C. Vadeboncoeur, N. Townsend, C. Foster. A meta-analysis of weight gain in first year university students: is freshman 15 a myth? BMC Obes.2015; 2: 22.

Jindarat Somjaineuk, Jom Suwanno. ความสัมพนัธ์ระหว่างอายุกบั ภาวะน้า หนกัเกิน/อว้น ในกลุ่มวยัช่วง เปลี่ยนผ่านจาก วัยรุ่นตอนปลาย สู่วัยผู้ใหญ่ตอนต้น : การเปรียบเทียบความชุกในห้ากลุ่มอายุ และสามกลุ่มอายุ. Thai Journal of Cardio Thoracic Nursing. 2020; 31(1): 142-59.

เวธกา กลิ่นวิชิต, พิสิษฐ์ พิริยาพรรณ, พวงทอง อินใจ. การศึกษาภาวะเสี่ยงต่อการเป็ นโรคเบาหวานและกลุ่มอาการเมตะบอลิค การรับรู้พฤติกรรม การส่งเสริมสุขภาพ และการสนับสนุนทางสังคมของนิสิตมหาวิทยาลัยบูรพา. Journal of Nursing and Education. 2010; 3(2): 86-98.

Marshall H Becker. The health belief model and sick role behavior. Health education monographs. 1974 ;2(4): 409-19.

Nancy K Janz, Marshall H Becker. The health belief model: A decade later. Health education quarterly. 1984; 11(1): 1-47.

ยุทธนา เกตุคำ, พิษนุ อภิสมาจารโยธิน. ความสัมพันธ์ระหว่างแบบแผนความเชื่อ ด้านสุขภาพกับการจัดการเรือนร่างตนเอง ของคนอ้วนในจังหวัดพิษณุโลก. วารสาร สำนักหอสมุดมหาวิทยาลัยทักษิณ. 2018; 7: 180-97.

Richard J Rovinelli, Ronald K Hambleton. On the use of content specialists in the assessment of criterion-referenced test item validity. 1976.

นิตยา ไสยสมบัติ ปริญญา ผกานนท์ Food consumption behavior of nursing students in Ratchathani University. RTUNC 2018 The 3rd National conference; May 25, 2016; Ubonratchathani, Thailand2016. p. 462-70.

ดาวรุ่ง คำวงศ์. การรับรู้และการใช้ข้อมูลบนฉลากอาหารของนักศึกษาวิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดชลบุรี. วารสารไทยเภสัชศาสตร์และวิทยาการสุขภาพ. 2014; 9(4): 39-46.

Nisachon Butsathon, Varisara Luvira, Pat Nonjui, Phahurat Deenok, Wilawan Aunruean. Sleep Pattern among Students in Khon Kaen University. Srinagarind Medical Journal- ศรีนครินทรเวชสาร. 2020; 35(3): 332-9.

วิไลรัตน์ บุญราศรี, ลภัสรดา หนุ่มคำ. แบบแผนความเชื่อ และพฤติกรรมสุขภาพของพนักงานโรงไฟฟ้าแม่เมาะที่มีภาวะอ้วนลงพุง. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์; 2016.

สมนึก แก้ววิไล. ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการออกกำลังกายของนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยี ราชมงคลพระนคร. [Research]. In press 2009.

Panuwat Pakchumni, Thanongsak Thongsrisuk, Artcharaporn Chuachang, Parichat Sattayarak. ปัจจัยที่ส่งผลต่อการออกกำลังกายของนักศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ. Dhammathas Academic Journal. 2021;21(2):13-26.

เพ็ญประภา ถวิลลาภ. Health beliefs and exercise behavior among health science students Chiang Mai University: Chiang Mai University; 2004.

Downloads

Published

2023-06-13