ความสัมพันธ์ระหว่างความเพียงพอของอาหารเช้าที่รับประทานกับความเหนื่อยล้าในช่วงการเรียนภาคเช้าของนิสิตคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา

Relationship between Adequate Breakfast Consumption and Fatigue in the Morning Class among Medical Students, Burapha University

Authors

  • ลักษณาพร กรุงไกรเพชร
  • กิตติ กรุงไกรเพชร

Keywords:

อาหารเช้า, พฤติกรรมการรับประทานอาหารเช้า, ความเหนื่อยล้า, นิสิตแพทย์, Breakfast, Breakfast consumption, Fatigue, Medical students

Abstract

การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนาภาคตัดขวาง เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างผลความเพียงพอของอาหารเช้าที่รับประทานกับความรู้สึกเหนื่อยล้าในช่วงการเรียนภาคเช้าของนิสิตคณะแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยบูรพา ชั้นปีที่ 1-3 ปลายปีการศึกษา 2552 จำนวน 88 คน โดยแบ่งนิสิตแพทย์เป็นสองกลุ่ม ได้แก่ กลุ่มที่รับประทานอาหารเช้าอยู่ในเกณฑ์เพียงพอจำนวน 32 คน และกลุ่มที่รับประทานอาหารเช้าอยู่ในเกณฑ์ไม่เพียงพอ จำนวน 56 คน จากการคำนวณ โดนใช้เกณฑ์ของ Insitute of Medicine และความรู้สึกเหนื่อยล้าโดยใช้แบบประเมินความเหนื่อยล้าของ IOWA Fatigue Scale แลคำนวณโดยใช้สถิติทดสอบ Chi-Square ผลการศึกษาพบว่าผู้เข้าร่วมวิจัยที่รับประทานหารเช้าเพียงพอมีความเหนื่อยล้าร้อยละ 46.9 ผู้เข้าร่วมวิจัยที่รับประทานอาหารเช้าไม่เพพียงพอมีความเหนื่อยล้าร้อยละ 48.2 และพบว่า ความเพียงพอของการรับประทานอาหารเช้าไม่มีความสัมพันธ์กับความเหนื่อยล้าในช่วงเรียนภาคเช้าของนิสิตคณะแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยบูรพา (Chi-square = 0.02, p = .90) ความเหนื่อยล้าของนิสิต น่าจะมีสาเหตุมาจาก การพักผ่อนไม่เพียงพอ การออกกำลังการไม่เพียงพอ และ การมีงานสะสม This cross-sectional descriptive research was conducted to determine the relationship between adequate breakfast consumption and fatigue in the morning classroom among 1st – 3rd year medical students of Burapha University during the second semester of the academic year 2009. The 88 medical students were divided in 2 groups by the criteria of adequate breakfast consumption. There were 32 students in the adequate breakfast consumption group and 56 students in the inadequate breakfast consumption group. The caloric energy of food consumption was based on the protocol of the Institute of Medicine, and fatigues were assessed by using the IOWA Fatigue Scale. Data were analyzed using Chi-square. The results revealed that 36.4% of the subjects had adequate breakfast intake, whereas 63.6 percent did not. Among the adequate breakfast intake group 46.9% were fatigue during the morning classes. It was found that there was no significant relationship between the adequate breakfast consumption and fatigue in the morning classes among medical students of Burapha university Chi-square = 0.02, p = .90). Factors that might be influential to fatigue in this study could be inadequate sleep, irregular exercise and cumulative class-workload.

Downloads

Published

2023-12-08