ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับกิจวัตรสุขภาพครอบครัวของครอบครัวในชุมชนเขตเทศบาลนครสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์

Relationships between Selected Factors and Family Health Routines of Families in Communities, NakhonSawan Municipality City, NakhonSawan Province

Authors

  • สุวพิชญ์ ชัชวาลธีราพงศ์
  • วรรณี เดียวอิศเรศ
  • จินตนา วัชสินธุ์

Keywords:

กิจวัตรสุขภาพครอบครัว, Family Health Routines

Abstract

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากิจวัตรสุขภาพครอบครัวและศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับกิจวัตรสุขภาพครอบครัวในชุมชนเขตเทศบาลนครสวรรค์ กลุ่มตัวอย่าง คือตัวแทนจากครอบครัว จำนวน 392 คน ซึ่งได้จากการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยแบบบันทึกข้อมูลของครอบครัวและแบบกิจวัตรสุขภาพครอบครัวไทย วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา  สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของสเปียร์แมนและสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบพ้อยท์ไบซีเรียล ผลการวิจัยพบว่า กิจวัตรสุขภาพครอบครัวโดยรวมส่วนมากอยู่ในระดับดีคิดเป็นร้อยละ 89.00 (ค่าเฉลี่ย  = 3.46, SD = 0.32) การศึกษาสูงสุดของตัวแทนนครอบครัว รายได้ของครอบครัว จำนวนแหล่งสนับสนุนของครอบครัว และลักษณะโครงสร้างครอบครัวมีความสัมพันธ์กับกิจวัตรสุขภาพครอบครัวโดยรวมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (rs = .11, p < .001 ; rs = .11, p = .025 ; rpb = .11, p = .026 ตามลำดับ)  ผลกาวิจัยครั้งนี้เสนอแนะว่าควรเน้นให้การพยาบาลกับกลุ่มครอบครัวที่มีรายได้น้อย และขาดแหล่งสนับสนุนทางสังคมเนื่องจากปัจจัยเหล่านี้มีความสัมพันธ์กับกิจวัตรสุขภาพครอบครัวเพื่อส่งเสริมให้มีการปฏิบัติกิจวัตรสุขภาพครอบครัวที่ดี อันจะนำไปสู่สุขภาพครอบครัวที่ดีด้วย  The purpose of this study was to examine family health routines and to examine factors related to family health routines among families in communities of Nakhonsawan municipality city, Nakhonsawan province. A random sample of 392 representative of the family was recruited in the study. The research instruments included family information questionnaire and the Thai Family Health Routines scale. Descriptive statistics, Spearman correlation coefficients, and point  biserial correlation coefficients were used to analyze data. The research results were as follows : The overall percent of family health routines was at good level, 89.00 percent (average  = 3.46, SD = 0.32). There were statistically significant correlations between the education of representative of the family, family income, number of family support resources, family structure and the overall family health routines (rs = .11, p < .001 ; rs = .11, p = .025 ; rpb = .11, p = .026respectively).  The result of this study suggest that nurses should focus on providing families with low income and lack of social support because of these factors are relates to family health routines to encourage good health, family practice. This will lead to better family health.

Downloads

Published

2023-12-08