ปัจจัยที่มีผลต่อผลการดำเนินงานตามเกณฑ์ชี้วัดในคู่มือการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกสำหรับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นขององค์กรการบริหารส่วนตำบลในจังหวัดนครราชสีมา

Factors Affecting the Implementation Result of Subdistrict Administrative Organization in Nakhon Ratchasima Province on Dengue Hemorrhagic Fever Prevention and Control Criteria Manual for Local Government

Authors

  • ตวดี ไชยแสนท้าว
  • ศรีรัตน์ ล้อมพงศ์
  • จิตรพรรณ ภูษาภักดีภพ

Keywords:

ผลการดำเนินงาน, โรคไข้เลือดออก, องค์การบริหารส่วนตำบล, คู่มือการป้องกันและควบคุมโรคไขเลือดออกสำหรับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น, Implementation results, Dengue Hemorrhagic Fever, Subdistrict Administrative Organization, Dengue Hemorrhagic Fever Prevention and Control Manual for Local Govenment

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อผลการดำเนินงานตามเกณฑ์ชี้วัดในคู่มือการป้องกันและควบคมโรคไข้เลือดออกสำหรับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นขององค์กรการบริหารส่วนตำบลในจังหวัดนครราชสีมา กลุ่มตัวอย่างได้ดำเนินการคัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจงโดยจัดเรียงอันดับขององค์การบริหารส่วนตำบลที่มีค่าเฉลี่ยอัตราการป่วย 5 ปี ย้อนหลัง (พ.ศ. 2548-2552) จากมากที่สุด – น้อยที่สุด แล้วเลือกองค์กรการบริหารส่วนตำบลที่มีอัตราการเกิดโรคสูง 50 อันดับแรก และองค์การบริหารสวนตำบลที่มีอัตราการเกิดโรคต่ำ 50 อับดับสุดท้าย รวมทั้งสิ้น 100 แห่ง องค์การบริหารส่วนตำบล มีการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ Stepwise multiple regression analysis ผลการวิจัยพบว่า ร้อยละ 74.0 ขององค์การบริหารส่วนตำบลที่มีอัตราการเกิดโรคต่ำ มีผลการดำเนินงานอยู่ในระดับพอใช้ โดยที่วิสัยทัศน์ นโยบาย เป้าหมายในการดำเนินงานมีผลมากที่สุด รองลงมาคือการจัดการด้านวัสดุ อุปกรณ์ และการวางแผน ตามลำดับ ซึ่งปัจจัยทุกตัวมีผลในทางบวกต่อการดำเนินงาน และร่วมกันทำนายได้ร้อยละ 49.0 ซึ่งจากผลการวิจัยทำให้ทราบว่า ควรมีการส่งเสริมและสนับสนุนให้องค์การบริหารส่วนตำบลมีวิสัยทัศน์นโยบายป้าหมายและการวางแผนในการดำเนินงานครอบคลุมมากยิ่งขึ้นรวมถึงให้มีการจัดการด้านวัสดุ อุปกรณ์ที่ดีเหาะสมและเพียงพอ เพื่อจะได้มีผลการดำเนินงานผ่านเกณฑ์ชี้วัดในคู่มือการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกสำหรับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต่อไป  The purpose of this research was to study factors affecting the implementation results of Sub-district Administrative Organization on the dengue hemorrhagic fever and control criteria manual for local governments in Nakhon Ratchasima province. The sampling group was selected though purposive sampling technique, by ranking the Subdistrict Administrative Organization that had the mean morbidity rate in the past 5 years (2005-2009) from highest to lowest. Then, the first 50 Subdistrict Administrative Organization with high incidence rate, and last 50 Subdistrict Administrative Organization with low incidence rate, which was equivalent to 100 Subdistrict Administrative Organization in total. Data analysis was done by using percentage, mean, standard deviation and stepwise multiple regression analysis. Research results showed that 74.0 percent of the Subdistrict Administrative Organization with high incidence rate had the implementation results at a level where improvement is needed while 56.0 percent of the Subdistrict Administrative Organization with low incident rate had the implementation results at an acceptable level. Vision, policy and goal had strongest effect toward the results, followed by materials and equipments management, and planning, respectively. All factors had athe positive effects and jointly forecasted the implementation results by 49.0 percent. Research findings suggested that there should be the promotion and support for the Subdistrict Administrative Organization to emphasize on vision, policy and goal, and adequate material and equipments management in order to have the implementation results that passed the dengue hemorrhagic fever prevention and control criteria in the manual.

Downloads

Published

2023-12-08