การพัฒนาคุณภาพชีวิต โดยหลักการเศรษฐกิจพอเพียง และกฎบัตรออตตาวา กรณีศึกษา: หมู่ที่ 5 ตำบลคูคต อำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี

Development of Quality of Life by Application of the Sufficiency Economy and Ottawa Charter: A Case Study at Moo 5, Kukot Sub-district, Lamlukka District, Pratumtani Province

Authors

  • ศรีเมือง พลังฤทธิ์

Abstract

การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินคุณภาพชีวิต หาปัจจัยที่มีผลต่อคุณภาพชีวิต และหาแนวทางการพัฒนาคุณภาพชีวิตโดยหลักการเศรษฐกิจพอเพียง และกฎบัตรออตตาวา การดำเนินงานวิจัย ขั้นตอนที่ 1 ระดมความคิด โดยการสนทนากลุ่มแกนนำชุมชนและผู้สนใจ 3 ครั้ง และจัดเวที เพื่อร่วมกันวิเคราะห์ข้อมูล จัดลำดับความสำคัญของปัญหา/ ความต้องการ ขั้นตอนที่ 2 ร่วมกันคิดวางแผนและเขียนโครงการเพื่อเป็นแนวทางการพัฒนาคุณภาพชีวิต ขั้นตอนที่ 3 ร่วมกันดำเนินโครงการ และขั้นตอนที่ 4 ร่วมกันประเมินผลโครงการ ผลการวิจัย พบว่า คนในชุมชนส่วนมากมีคุณภาพชีวิตดี เพราะมีผู้นำและกลุ่มแกนนำที่เข้มแข็ง จากหลักฐานที่ได้รับรางวัลมาก มีสำนักงานคณะกรรมการชุมชนเป็นจุดศูนย์รวม คนในชุมชนให้ความร่วมมือดี สำหรับการพัฒนาคุณภาพชีวิตโดยหลักเศรษฐกิจพอเพียง และกฎบัตรออตตาวา ชุมชนทำโครงการพัฒนาความรู้ด้านสุขภาพ เพราะความรู้เป็นเรื่องสำคัญทำให้มีเหตุผล สามารถนำไปพัฒนาทักษะบุคคล เป็นการป้องกันสาเหตุของการเจ็บป่วย และเป็นการสร้างเสริมสุขภาพ ผลการดำเนินโครงการ มีผู้เข้าร่วมโครงการจำนวน 78 คน บรรยากาศได้รับความสนใจเป็นอย่างดี แกนนำชุมชนได้ประสบการณ์วิเคราะห์ ชุมชนและการจัดทำโครงการ ข้อเสนอแนะ แกนนำชุมชนควรพัฒนาทำโครงการอื่น ๆ อย่างต่อเนื่อง เพื่อให้เกิดการพัฒนาคุณภาพชีวิตของชุมชนได้อย่างยั่งยืน ภาครัฐและเอกชนควรเพิ่มการเผยแพร่หลักการเศรษฐกิจพอเพียงและการสร้างเสริมสุขภาพ This participatory action research was aimed to assess quality of life, identify factors affecting the quality of life, and determine the means for improving quality of life in the community by applying Sufficiency Economy principles and Ottawa Charter. Methods: step 1, brainstorming sessions with three focus group discussions among community leaders and interested people, mind mapping technique for information analysis and problem-solution prioritization; step 2, collaboration among the community leaders and interested people for the development of plans and project write-ups; step 3, implementation and; step 4: post-project evaluation. Results: We found that the majority of the community had good quality of life due to the fact that the leader and the core members were strong, that the community had received many awards, that the community oriented around the community committee, and that the community was cooperative. Results in regards to application of Sufficient Economy and Ottawa Charter showed that the community developed a health care knowledge sharing project. They believed that knowledge created logical reason, improved personal skills, prevented illnesses, and promoted healthy community. The project attracted 78 participants and received good attention. Through this, the community leaders had experienced to perform community analysis and project development and management. Suggestion: The community leaders should continue to develop other projects to sust the quality of life of the community. The government and private sector should increase dissemination of information about Sufficiency Economy and health promotion.

Downloads

Published

2023-12-18