การวิเคราะห์ต้นทุน-ผลได้ในการดูแลผู้ป่วยวัณโรคแบบมีพี่เลี้ยงเป็นญาติ และเจ้าหน้าที่สาธารณสุข ในจังหวัดนราธิวาส

Cost-Benefit Analysis of Directly Observed Treatment by Relatives and Health Personnel in Narathiwat Province

Authors

  • การิมาน มะยิ
  • เพชรน้อย สิงห์ช่างชัย
  • สาวิตรี ลิ้มชัยอรุณเรือง

Keywords:

การวิเคราะห์ต้นทุน-ผลได้ , วัณโรค , การบริการสุขภาพชุมชน, Cost-benefit analysis, Tuberculosis, Community health service

Abstract

การวิจัยเชิงพรรณนานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบความแตกต่างของต้นทุน-ผลได้ และอัตราส่วนของผลได้ต่อต้นทุนระหว่างญาติกับเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในจังหวัดนราธิวาส ประชากรเป้าหมาย คือ ญาติ 35 คน และเจ้าหน้าที่สาธารณสุข 32 คน เก็บข้อมูลด้วยแบบบันทึกต้นทุน และแบบสัมภาษณ์ตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาได้ค่าดัชนีความตรงตามเนื้อหาเท่ากับ 1.00 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า ต้นทุนการดูแลผู้ป่วยวัณโรคแบบมีญาติเป็นพี่เลี้ยงมีต้นทุนรวมทั้งหมด เท่ากับ 713,329.70 บาท ต้นทุนทางการแพทย์ เท่ากับ 371,864 บาท (10,624.69 บาทต่อราย) และต้นทุนที่ไม่ใช่ทางการแพทย์ เท่ากับ 341,465.70 บาท (9,756.16 บาทต่อราย) หรือ 1.06 : 0.98 สำหรับผลได้ทางตรงของญาติ เท่ากับ 439,919.30 บาท (ผลได้ต่อต้นทุน = 1.29) ส่วนต้นทุนการดูแลผู้ป่วยวัณโรคแบบมีเจ้าหน้าที่สาธารณสุขเป็นพี่เลี้ยงมีต้นทุนรวมทั้งหมด เท่ากับ 544,655.17 บาท ต้นทุนทางการแพทย์ เท่ากับ 383,188 บาท (11,974.63 บาทต่อราย) และต้นทุนที่ไม่ใช่ทางการแพทย์ เท่ากับ 161,467.17 บาท (5,045.85 บาทต่อราย) หรือ 1.20 : 0.50 ส่วนผลได้ทางตรงของเจ้าหน้าที่สาธารณสุข เท่ากับ 175,184.60 บาท (ผลได้ต่อต้นทุน = 1.08) ผลการวิจัยครั้งนี้ พบว่าญาติควรเป็นทางเลือกแรกในการตัดสินใจเลือกเป็นพี่เลี้ยงโดยเฉพาะในผู้ป่วยวัณโรคทั่วไป ซึ่งจะมีความคุ้มค่ามากที่สุด ส่วนเจ้าหน้าที่สาธารณสุขจะมีความคุ้มค่าในผู้ป่วยวัณโรคร่วมกับโรคเอดส์ จึงควรขยายรูปแบบทั้งสองไปใช้ในทุกอำเภอของนราธิวาส  This descriptive research aimed to analyze the cost-benefit of Directly Observed Treatment (DOT) by relatives and health personnel in Narathiwat Province. The target population for this research was 35 case relatives and 32 health personnel. Data were collected using cost records and questionnaire, tested for content validity, yielding an index of 1.00. The data were analyzed using descriptive statistics (frequency, percentage, mean, standard deviation and ratio). The results showed that total cost of DOT by the relatives was 713,329.70 Baht, in which the medical costs was 371,864 Baht (10,624.69 Baht per case) and non-medical cost was 341,465.70 Baht (9,756.16 Baht per case). The ratio of medical cost to non-medical cost was 1.06 to 0.98. The total benefit of DOT by relatives was 439,919.30 Baht (benefit per cost = 1.29). The total cost of DOT by health personnel was 544,655.17 Baht, where the medical cost was 383,188 Baht (11,974.63 Baht per case) and non-medical cost was 161,467.17 Baht (5,045.85 Baht per case). The ratio of medical cost to non-medical cost was 1.20 to 0.50. The total benefit of DOT by health personnel was 175,184.60 Baht (benefit per cost = 1.08). The results of this research showed that DOT by relatives, especially for general TB patients yielded higher benefit while, DOT by health personnel in TB patients with HIV/AIDS produced higher benefit. Both forms of DOT should be promoted for community health service in Narathiwat province.

Downloads

Published

2023-12-18