การหายใจช้าช่วยลดความดันโลหิตในผู้มีความดันโลหิตสูง

Slow respiration could reduce blood pressure in hypertensive patients

Authors

  • มาณีย์ อุ้ยเจริญพงษ์
  • เบญจพร ทองเที่ยงดี

Keywords:

การหายใจช้า , ระดับความดันโลหิตสูง, Slow respiration, High blood pressure

Abstract

ความดันโลหิตสูงเป็นโรคเรื้อรัง หากผู้ป่วยไม่สามารถควบคุมระดับความดันโลหิตให้ดีจะส่งผลกระทบให้เกิดความเสื่อมของหลอดเลือดทั่วร่างกายเกิดภาวะแทรกซ้อนต่อหัวใจ ไต และสมอง การรักษาโรคความดันโลหิตสูงให้อยู่ในภาวะควบคุมได้ จำเป็นต้องมีองค์ประกอบการดูแลรักษาหลายด้าน เช่น การรับประทานยา การควบคุมน้ำหนัก การลดอาหารรสเค็ม และการออกกำลังกาย นอกเหนือจากการรักษาแผนปัจจุบันแล้ว การออกกำลังกายแบบภูมิปัญญาตะวันออกจะเน้นเรื่องการหายใจ เช่น โยคะ ไทเก๊ก ชี่กง ล้วนแต่ใช้วิธีการหายใจพร้อมกับท่าทาง และการสร้างจินตภาพ หรือการฝึกจิตวิธีการเหล่านี้ ทำให้ผู้ฝึกมีจิตสงบนิ่งร่างกายและจิตใจได้รับการผ่อนคลายลดความรุนแรงของโรคได้ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการหายใจช้าต่อการเปลี่ยนแปลงของระดับความดันโลหิตสูง และปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงระดับความดันโลหิตสูง โดยได้ทำการศึกษากับกลุ่มผู้เข้ารับการอบรมการฝึกหายใจช้าเพื่อลดความดันโลหิตสูง จำนวน 44 คน โดยให้ผู้เข้ารับการอบรมได้ฝึกหายใจ เข้า - ออกให้ถูกต้องและฝึกการหายใจช้าให้ได้น้อยกว่า 10 ครั้งต่อ 1 นาที โดยบันทึกผลระดับความดันโลหิตของผู้เข้ารับการอบรมก่อนการปฏิบัติ และติดตามผลการปฏิบัติทุก 4 สัปดาห์ อย่างต่อเนื่องเป็นระยะเวลา 2 เดือน จากผลการศึกษาพบว่า เมื่อเปรียบเทียบระดับความดันโลหิตตัวบนและตัวล่างก่อนและหลังการฝึก 8 สัปดาห์ พบว่าระดับความดันโลหิตตัวบนลดลง 23.59 มม.ปรอท (95% CI = 16.90, 30.29) และระดับความดันโลหิตตัวล่างลดลง 8.57 มม.ปรอท (95% CI = 4.57, 12.57)  Hypertension is a chronic disease. If the patients cannot control their blood pressure well, they will end up having deterioration of blood vessels all over the body resulting in complications in their heart, kidney and brain. Managing hypertension needs several components such as medication, weight control, salt reduction, and exercise. Besides western treatment modalities, eastern style of exercise emphasized in controlled respiration such as Yoga, Tai chi, Chigong. All of them control the respiration along with the posture and imagination. All mental exercise methods make them calm both physically and mentally. This study aimed at exploring effect of slow respiration on blood pressure change and factors related to blood pressure change. The study was conducted among 44 subjects undergoing slow respiration practice in order to reduce their blood pressure. We trained them to practice slow respiration both inhale and exhale properly and try to breathe at less than 10 times per minute. We recorded their blood pressure before the training and every 4 weeks to 8 weeks. The results showed that after 8 weeks of training, systolic blood pressure was reduced for 23.59 (95% CI = 16.90, 30.29) mmHg and diastolic blood pressure was reduced for 8.57 (95% CI = 4.57, 12.57) mmHg.

Downloads

Published

2023-12-18