ความเชื่อเกี่ยวกับการสื่อสารเรื่องเพศระหว่างผู้ปกครองและวัยรุ่นในครอบครัวไทย

Beliefs about Sexual Communications between Parents and Their Adolescents in Thai Families

Authors

  • วรรณี เดียวอิศเรศ
  • กิ่งกาญจน์ คงสาคร
  • ศิริพร ภาณุวาทกุล

Keywords:

ความเชื่อ , การสื่อสารเรื่องเพศระหว่างผู้ปกครองและวัยรุ่น , วัยรุ่น, ผู้ปกครอง, Beliefs, Parent-adolescent communication about sex, Adolescent, Parents

Abstract

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเชื่อเกี่ยวกับการสื่อสารเรื่องเพศระหว่างผู้ปกครองและวัยรุ่น และเพื่อเปรียบเทียบความแตกต่างความเชื่อเกี่ยวกับการสื่อสารเรื่องเพศระหว่างผู้ปกครองและวัยรุ่น กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ปกครองหลักและบุตรวัยรุ่นอายุระหว่าง 10-15 ปี ที่กำลังศึกษาในระดับมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนแห่งหนึ่งในอำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี จำนวน 52 คู่ เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามความเชื่อเกี่ยวกับการสื่อสารเรื่องเพศที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา t-test และ ANOVA ผลการศึกษาพบว่าบุตรวัยรุ่นและผู้ปกครองมีค่าเฉลี่ยคะแนนความเชื่อทางบวกเกี่ยวกับการสื่อสารเรื่องเพศโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง (ค่าเฉลี่ย =3.25 ± 0.53 และ ค่าเฉลี่ย = 3.41 ± 0.71 ตามลำดับ) บุตรวัยรุ่นและผู้ปกครองมีความเชื่อเกี่ยวกับการสื่อสารเรื่องเพศโดยรวม (p = .188) และรายข้อส่วนใหญ่ (p = .213-.932 ) ไม่แตกต่างกัน ยกเว้นในเรื่องความรู้สึกลำบากใจที่จะคุยเรื่องเพศ พบว่าบุตรวัยรุ่น เชื่อว่ารู้สึกลำบากใจที่จะคุยมากกว่าผู้ปกครองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ( t (102) = 1.98 , p = .050) และบุตรวัยรุ่นและผู้ปกครองที่มีลักษณะส่วนบุคคลต่างกันมีค่าเฉลี่ยคะแนนความเชื่อทางบวกเกี่ยวกับ การสื่อสารเรื่องเพศไม่แตกต่างกัน ข้อค้นพบจากการวิจัยนี้ สามารถนำไปใช้ในการออกแบบโปรแกรม เพื่อปรับเปลี่ยนความเชื่อและสนับสนุนให้ครอบครัวมีความพร้อมในการสื่อสารเรื่องเพศกับบุตรวัยรุ่น  The objectives of this research were to examine the beliefs about parent-adolescent communication about sexuality between adolescent and their parents in Thai families. Fifty-two adolescents studying at a lower secondary school in Chon Buri province and a parent of each (n = 52) were recruited in the study. Similar scales were used for parents and adolescents to measure beliefs about parent-adolescent communication about sexuality. Descriptive statistics, independent t-test and ANOVA were used to analyze data. It was found that the mean scores of the adolescent's and their parent's beliefs about sexual communication were at a moderate level (average = 3.25 ± 0.53 and average = 3.41 ± 0.71 respectively). No significant differences were found between adolescents and parents in overall scores (p = .188) and many aspects of beliefs about sexual communication (p= .213 - .932). However, there was a significant difference between adolescent's and parent's belief in one item indicating that adolescents perceived more embarrassed in talking about sexuality than their parents (t (102) = 1.98, p = .050). There were no significant differences in beliefs about sexual communication by adolescent's and parent's backgrounds. Findings of this study can be used to design interventions targeted to change adolescent's and parent's underlying beliefs about sexual communication in order to increase the amount and quality of parent-adolescent sexual communication.

Downloads

Published

2023-12-18