ความสัมพันธ์ระหว่างประเพณีครอบครัว ความผูกพันในครอบครัวกับความเข้มแข็งทางใจของวัยรุ่น จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

Relationships between Family Rituals, Family Connectedness and Adolescents' Resilience in Ayutthaya Province

Authors

  • วัชรินทร์ กระแสสัตย์
  • วรรณี เดียวอิศเรศ
  • จินตนา วัชรสินธุ์

Keywords:

ประเพณีครอบครัว , ความผูกพันในครอบครัว , ความเข้มแข็งทางใจของวัยรุ่น, family ritual, family connectedness, adolescents' resilience

Abstract

การวิจัยเชิงพรรณนาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) ศึกษาประเพณีครอบครัว ความผูกพันในครอบครัวและความเข้มแข็งทางใจของวัยรุ่นในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา 2) ศึกษาความสัมพันธ์และอำนาจในการทำนายของประเพณีครอบครัวและความผูกพันในครอบครัวกับความเข้มแข็งทางใจของวัยรุ่น ในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชายและหญิงที่มีอายุระหว่าง 15-19 ปี ที่กำลังศึกษาชั้นมัธยมปลายปีที่ 4-6 ในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่จังหวัด ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย (กศน.) และวัยรุ่นที่ศึกษาชั้น ปวช.1-3 ในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานกรมอาชีวศึกษา ในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา จำนวน 389 คน ได้มาโดยการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน เก็บข้อมูลโดยให้วัยรุ่นตอบแบบสอบถามด้วยตนเอง ประกอบด้วย แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคลและครอบครัว แบบสอบถามประเพณีครอบครัว แบบสอบถามความผูกพันในครอบครัว และแบบสอบถามความเข้มแข็งทางใจของวัยรุ่น วิเคราะห์ข้อมูลด้วย สถิติพรรณนา สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน ผลการวิจัยพบว่า ประเพณีครอบครัวและความผูกพันในครอบครัวมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง ส่วนความเข้มแข็งทางใจของวัยรุ่นมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับสูง ประเพณีครอบครัว และความผูกพันในครอบครัวมีความสัมพันธ์ทางบวกกับความเข้มแข็งทางใจของวัยรุ่น อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (r = .615 และ .315 ตามลำดับ) และร่วมกันทำนายความเข้มแข็ง ทางใจของวัยรุ่นในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ ระดับ .05 ได้ร้อยละ 41.3 ข้อเสนอแนะจากการวิจัยครั้งนี้ คือหน่วยงานสาธารณสุขและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ควรจัดโครงการ ส่งเสริมกิจกรรมประเพณีครอบครัว และความผูกพันในครอบครัว เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งทางใจของวัยรุ่น ทั้งนี้เพื่อป้องกันปัญหาพฤติกรรมเสี่ยงที่ไม่ปลอดภัย และปัญหาสุขภาพจิตในวัยรุ่น  The objectives of this descriptive study were two folds 1) to examine family rituals, family connectedness, and the resilience of adolescents studying in high school and vocational school in Ayutthaya Province and 2) to examine the relationships between these family factors with the adolescents' resilience. A multi-stage random sample of male and female adolescents aged 15-19 years studying at high schools, vocational schools, and non-formal schools in Ayutthaya Province participated in this study. Four self-report questionnaires which composed of the Personal and Family Background Questionnaire, the Family Ritual Questionnaire, the Family Connectedness Questionnaire, and the Adolescent Resilience Questionnaire were used to collect data. Descriptive statistics, Pearson Product Moment Correlation, and Stepwise Multiple Regression Analysis were used for data analysis. The Results showed that adolescents reported that their family rituals and family connectedness were at a moderate level while their resilience was rated at a high level. Family rituals and family connectedness were significantly and positively related to the adolescent resilience (r = .615, p<.05, r = .315, p <.05 respectively). Both family rituals and family connectedness contributed to explain 41.3 % of variance of the adolescent resilience. These results suggest that health care and other related organization should implement programs to promote family rituals and family connectedness in families with adolescents in order to strengthen the adolescent's resilience and preventing health risk behaviors among adolescents such as drug abuse, unsafe sex, and mental health problems.

Downloads

Published

2023-12-18