เจตคติต่อการแสดงออกพฤติกรรมทางเพศของนิสิตมหาวิทยาลัยมหาสารคาม
Attitude toward sexual behavior among Mahasarakham University students
Keywords:
เจตคติ , พฤติกรรมทางเพศ , การแสดงออกทางเพศ, Attitude, Sexual behavior, Sexual practicesAbstract
การวิจัยเชิงวิเคราะห์แบบภาคตัดขวาง ณ ช่วงเวลาหนึ่ง (Cross – Sectional analytic study) เพื่อศึกษาเจตคติต่อการแสดงออกพฤติกรรมทางเพศของนิสิตมหาวิทยาลัยมหาสารคาม กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 200 คน ถูกสุ่มด้วยวิธีการสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling) และแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่เคยเรียนวิชาเพศศึกษา และกลุ่มที่ไม่ได้เรียนวิชาเพศศึกษา กลุ่มละ 100 คน เก็บรวบรวมข้อมูล โดยใช้แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ Independent samples t-test ผลการศึกษา พบว่า นิสิตกลุ่มที่เคยเรียนและไม่ได้เรียนวิชาเพศศึกษา มีอายุเฉลี่ยเท่ากับ 19 ปี เท่ากันส่วนใหญ่พักอาศัยอยู่ในหอพัก/บ้านเช่า ร้อยละ 79.0 นิสิตเห็นด้วยมากที่สุดในประเด็นที่ว่าพ่อแม่มีบทบาทสำคัญต่อการแสดงออกทางเพศของวัยรุ่น (กลุ่มเคยเรียน ร้อยละ 50.0 กลุ่มไม่ได้เรียน ร้อยละ 42.0) บุคคลที่มีพฤติกรรมถ้ำมองหรือโชว์อวดอวัยวะเพศ ถือว่ามีความผิดปกติทางจิตใจ (กลุ่มเคยเรียน ร้อยละ 66.0 กลุ่มไม่ได้เรียน ร้อยละ 48.0) วัยรุ่นหญิงที่ตั้งครรภ์ขณะไม่พร้อมทำให้ต้องทำแท้ง (กลุ่มเคยเรียน ร้อยละ 48.0 กลุ่มไม่ได้เรียน ร้อยละ 38.0) การดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ทำให้ขาดสติอาจลืมหรือไม่ได้ใช้ถุงยางอนามัยเมื่อมีเพศสัมพันธ์ทำให้มีโอกาสติดเชื้อเอดส์ (กลุ่มเคยเรียน ร้อยละ 61.0 กลุ่มไม่ได้เรียน ร้อยละ 51.0) เมื่อเปรียบเทียบความแตกต่างของคะแนนเฉลี่ยเจตคติต่อการแสดงออกพฤติกรรมทางเพศ พบว่า ทั้งสองกลุ่มมีค่าคะแนนเฉลี่ยเจตคติด้านเอกลักษณ์และบทบาททางเพศด้านพัฒนาการทางเพศ ด้านความหลากหลายของพฤติกรรมทางเพศ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p=0.009, p=0.043 และ p=0.023 ตามลำดับ) โดยกลุ่มที่เคยเรียนวิชาเพศศึกษา มีเจตคติสูงกว่ากลุ่มที่ ไม่ได้เรียนวิชาเพศศึกษา ผลการศึกษาครั้งนี้ชี้ให้เห็นความสำคัญของการจัดการเรียนการสอนวิชาเพศศึกษาซึ่งช่วยเสริมสร้างเจตคติที่ดีเรื่องเพศให้แก่นิสิต เพื่อให้สามารถแสดงออกพฤติกรรมทางเพศที่เหมาะสมกับเอกลักษณ์และบทบาททางเพศของตนเองและเป็นที่ยอมรับของสังคมต่อไป This cross-sectional analytic study examined attitude toward sexual behavior among Mahasarakham University students. A total of 200 study subjects were recruited by using the Simple Random Sampling Technique and divided into two groups which included those who ever enrolled in the sex education class (100 students; Group I) and those who never took such class (100 students, Group II). Data was collected by using questionnaire and was analyzed by means of descriptive statistics, including frequency, percentage, mean, and standard deviation, as well as comparative statistic, such as independent samples t-test. Findings indicated that the participants had an average age of 19 years and the majority of them stayed at a dormitory or a rental house (79.0 %). For the attitude towards sexual behavior, it was found that a large number of the participants had strongly agreed on the issues such as their parents play the most important role for adolescent sexual behavior (Group I 50.0% Group II 42.0%); persons with scopophilia or exhibitionists were considered as having mental disorder (66.0 % in Group I and 48.0 % in Group II); abortion in unplanned teen pregnancy (48.0 % in Group I and 38.0 % in Group II); alcoholic drinking leads a person to engage in sexual risk behavior and HIV infection (61.0 % in Group I and 51.0 % in Group II). There was a significant difference between participants in Group I and Group II regarding attitude towards sexual behavior, particularly in terms of sexual identity and gender role, sexual development and diversity of human sexuality (at p < 0.05) in that the participants in Group I had better attitude than those in Group II. Findings from this research pointed out the importance of providing sex education in class to undergraduate students in the university to enhance their attitude on human sexuality, so that they will be able to express their sexual behavior according to their sexual identity and gender role accepted by the society.Downloads
Published
2023-12-18
Issue
Section
Articles